ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนเมษายน 2554 และในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554

13 May 2011

กรุงเทพฯ--13 พ.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เผยรัฐบาลจัดเก็บรายได้เดือนเมษายน 2554 สูงกว่าเป้าหมาย 1.6 หมื่นล้านบาท แม้จะมีการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงชั่วคราว 5.305 บาท/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ในช่วง 7 เดือน รกของปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิทะลุเป้าหมายเกิน 1.1 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 14.7

เดือนเมษายน 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,532 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 16,060 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.4 เป็นผลจากการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประ าณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยสูงกว่าประมาณการ 3,989 3,646 และ 3,569 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้สูง เป็นประวัติการณ์ถึง 9,114 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ การจ ัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์จะเริ่มได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อห่วงโซ่อุปทานของการผลิตรถยนต์ (Automotive supply chain)

อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้เดือนเมษายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงถึงร้อยละ 25.0 เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษจากการยึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรีจำนวน 49,016 ล านบาท ซึ่งหากหักรายการดังกล่าวออกรายได้ในเดือนเมษายนจะสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 5.3

ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 – เมษายน 2554) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 917,538 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 117,511 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.2) เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าเป้าหมาย 62,509 37,199 7,178 และ 10,156 ล้านบาท ตามลำดับ

นายนริศฯ สรุปว่า “แม้จะมีปัจจัยในทางลบต่างๆ ได้แก่ ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ และก ารลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล แต่จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่สูงกว่าเป้าหมายมาโดยตลอด ประกอบกับทิศทางภาวะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง กระทรวงการคลังมั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2554 จะจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมาย (1.65 ล้านล้านบาท) เกินกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอต่องบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม อย่างแน่นอน”

ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเบื้องต้นประจำเดือนเมษายน 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,532 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,60 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.4 ส่งผลให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 รายได้รัฐบาลสุทธิเท่ากับ 917,538 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 117,511 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.2) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

1. เดือนเมษายน 2554 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,32 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 16,060 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.4 โดยภาวะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวต่อเนื่องส่งผลให้สามารถจัดเก็บภาษีที่สำคัญได้สูงกว่าเป้าหมายเป็นจำนวนมาก แม้จะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ อาทิ ภัยพิบัติใ ประเทศญี่ปุ่น อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ และการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 5.305 บาทต่อลิตร เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,989 3,646 และ 3,569 ล้านบาท ตามลำดับ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในเดือนนี้ สามารถจัดเก็บได้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 9,114 ล้านบาท เป็นผลจากการจัดงาน Motor Show ในเดือนมีนาคม 2554 อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ การจัดเก็บจะเริ่มได้ผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่ น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อห่วงโซ่อุปทานของการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย (automotive supply chain)

อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้เดือนเมษายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้เดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงถึงร้อยละ 25.0 เนื่องจากปีที่แล้วมีรายได้พิเศษจากการยึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) จำนวน 49,016 ล้านบาท ซึ่งหากหักรายการดังกล่าวออกรายได้ในเดือนเมษายนจะ สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 5.3

2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 553 – เมษายน 2554) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธ 917,538 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 117,511 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.2 และถ้าหักรายได้พิเศษจากการยึดทรัพย์ฯ ในปีที่แล้วออกจะสูงกว่าร้อยละ 13.7) การจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าประมาณการและในช่วงเดียวกันปีที่แล้วมาอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวมาโดยตลอด ซึ่งส่งผลให้การ ัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษี การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่สูงกว่าประมาณการ 106,886 10,156 และ 7,623 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.5 19.0 และ 15.2 ตามลำดับ

ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้

2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 639,043 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 62,509 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.0) ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่ าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงกว่าประมาณการ 26,688 18,๒78 และ 10,830 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.6 6.0 และ 8.2 ตามลำดับ โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการนำเข้าและการบริโภคในประเทศจัดเก็บได้สูงกว่าประม าณการร้อยละ 9.7 และ 3.2 ตามลำดับ

2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 267,706 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 37,199 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.5) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์และภาษีน้ำมันได้สูงก ว่าประมาณการถึง 17,863 และ 4,122 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสุราและภาษียาสูบ จึงเร่งผลิตสินค้าและชำระภาษีไว้ก่อน ส่งผลให้จัดเก็บภาษีดังกล่าวได้สูงกว่าประมาณการ 6,126 และ 4,341 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.9 และ 13.9 ตามลำดับ

2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 58,658 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7,178 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.4) สาเหตุสำคัญเกิดจากการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้า ทำให้สามารถจัด ก็บอากรขาเข้าได้สูงกว่าประมาณการ 7,072 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.1 โดยอัตราการขยายตัวสะสมของมูลค่าการนำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินบาทในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2554 (ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554) เท่ากับร้อยละ 24.0 และ 13.1 ตามลำดับ

2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 63,690 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 10,156 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำส่งรายได้จากกำไรสุทธิปี 2553 และเงินปันผลของธนาคารออมสิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเท ไทย การประปาส่วนภูมิภาค กองทุนรวมวายุภักษ์ และการท่าเรือแห่งประเทศไทย สูงกว่าประมาณการ 4,525 3,715 1,267 1,100 1,041 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในส่วนของธนาคารออมสินเป็นการนำส่งรายได้ฯ เร็วกว่าที่ประมาณการไว้ในเดือนพฤษภาคม 2554 อย่างไรก ดี บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินปันผลต่ำกว่าประมาณการ 803 ล้านบาท และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขอเลื่อนการนำส่งเงินปันผลไปในเดือนถัดไป

2.5 หน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 57,769 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7,623 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 44.0) เนื่องจากมีรายได้ค่าใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมจากสำนักงานคณะก รมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจำนวน 2,378 ล้านบาท ส่งเร็วกว่าที่ประมาณการไว้ในเดือนพฤษภาคม 2554 นอกจากนี้ มีการนำส่งคืนเงินจากโครงการมิยาซาว่า และโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรจำนวน 1,952 และ 445 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับสาเหตุที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 44.0 เนื่องจากปี ี่แล้วมีรายได้พิเศษจากการยึดทรัพย์ฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 49,016 ล้านบาท

2.6 การคืนภาษีของกรมสรรพากร จำนวน 131,613 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,545 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 โดยเป็นการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 103,167 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,333 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 และการคืนภาษีอื่นๆ 28,446 ล้ นบาท สูงกว่าประมาณการ 5,878 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.0

2.7 การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ในปีงบประมาณ 2554 นี้ การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. จะแบ่งการจัดสรรออกเป็น 12 งวด (จากเดิมจัดสรร 6 งวด) ดยมีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว 4 งวด (ตุลาคม 2553 – มกราคม 2554) รวม 24,264 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 2,354 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 10.7

3. คาดการณ์รายได้ปีงบประมาณ 2554

งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2554 จำนวน 99,968 ล้านบาท เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2554 ซึ่งได้คาดการณ์ว่าตลอดปีงบประมาณ 2554 จะจัดเก็บร ยได้รัฐสุทธิเท่ากับ 1,770,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการ (1.65 ล้านล้านบาท) จำนวน 120,000 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงชั่วคราว ลิตรละ 5.305 บาท/ลิตร เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2554 จนถึงสิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๔ ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประมาณ 45,500 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณที่สูงกว่าประมาณการ 117,266 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.7 และแม้ว่าในช่วง 5 เดือนที่เหลือการจัดเก็บรายได้ จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ความไม่สงบทางการเมืองในภูม ิภาคตะวันออกกลาง และอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ แต่กระทรวงการคลังยังมั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2554 จะจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมาย (1.65 ล้านล้านบาท) เกินกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอสำหรับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม