ปภ.แนะวิธีขับรถขึ้น ลงเขาอย่างปลอดภัยในช่วงฤดูหนาว

กรุงเทพฯ--26 พ.ย.--ปภ.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนขับรถเที่ยวเขาช่วงฤดูหนาวเสี่ยงอุบัติเหตุสูง พร้อมแนะเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความชัน ความโค้งของเขา ไม่ขับรถด้วยความเร็วสูง ไม่เหยียบเบรคหรือหยุดรถกะทันหัน ชะลอความเร็วรถก่อนเข้าโค้ง เพิ่มความระมัดระวังหากต้องขับผ่านเส้นทางที่มีหมอกจัด ห้ามปล่อยเกียร์ว่างขณะขับรถลงเขา หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะไม่สามารถหยุดรถได้ทัน พร้อมจอดพักรถเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันผ้าเบรคไหม้ทำให้เบรคแตก ก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ฤดูหนาวเป็นฤดูกาลที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักนิยมขับรถไปท่องเที่ยวตามภูเขา เพื่อชมทัศนียภาพอันงดงามของธรรมชาติในฤดูหนาว โดยเส้นทางบนภูเขามักคดเคี้ยว จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง เพื่อความปลอดภัย ขอแนะนำวิธีขับรถขึ้นลงเขา อย่างปลอดภัย ดังนี้ กรณีเป็นรถเกียร์ธรรมดา ควรเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับระดับความเร็ว ความชัน และความโค้งของเขา ปฏิบัติตามป้ายเตือนริมข้างทางอย่างเคร่งครัด ใช้เกียร์ 1-2 เท่านั้น เพราะเครื่องยนต์มีกำลังมาก พร้อมปรับปรับเปลี่ยนเกียร์เมื่อรถเสียกำลัง แต่ห้ามลากเกียร์จนรถหมดกำลัง หากเป็นรถเกียร์อัตโนมัติ ให้ใช้เกียร์ 2 ในการขับรถขึ้นลงเขา และสลับใช้เกียร์ D เมื่อรถวิ่งบนทางราบ ห้ามขับรถด้วยความเร็วสูง ชะลอความเร็วก่อนขับรถเข้าโค้งซึ่งมองไม่เห็นรถที่วิ่งสวนทางมา เมื่อพ้นโค้งแล้ว ให้เหยียบคันเร่ง เพิ่มความเร็วรถ จะช่วยบังคับรถได้ง่ายขึ้น แต่ต้องระมัดระวังรถที่วิ่งสวนทางมาด้วย อย่าเหยียบเบรคหรือหยุดรถกะทันหัน เพราะจะทำให้ท้ายรถปัด จนรถเสียการทรงตัว เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษหากต้องขับผ่านเส้นทางที่มีหมอกลงจัด เพราะเส้นทางจะเปียกลื่นและทัศนวิสัยไม่ดี ให้เปิดไฟหน้ารถ ไฟตัดหมอก ขับรถให้ช้ากว่าปกติ ไม่แซง เปลี่ยนช่องทางหรือหยุดรถกะทันหัน กรณีมีละอองฝ้า เกาะกระจกรถ ให้เปิดที่ปัดน้ำฝน ใช้ผ้าแห้งเช็ดกระจกบริเวณที่เป็นละอองฝ้า ปรับลดอุณหภูมิภายในรถให้ต่ำกว่านอกรถจะช่วยไล่ละอองน้ำหรือไอน้ำที่เกาะตามกระจกรถให้จางหายไปเร็วขึ้น ห้ามปล่อยเกียร์ว่างขณะขับรถลงจากเขา เพราะไม่มีเครื่องยนต์ช่วยควบคุมความเร็วและฉุดกำลังรถ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะไม่สามารถหยุดรถได้ทันท่วงที จอดพักรถริมข้างทางเป็นระยะๆ หากต้องขับรถลงเขาเป็นระยะทางไกลและเหยียบเบรคตลอดเวลา เพื่อป้องกันความร้อนสะสมในระบบเบรค ทำให้เบรคไหม้หรือเบรคแตก จนไม่สามารถหยุดรถได้ทัน ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ห้ามใช้น้ำราดในขณะที่จานเบรคยังร้อน จะทำให้จานเบรคคด และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการหยุดรถ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2243-2200 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปภ.

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+ภัยในช่วงฤดูหนาววันนี้

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ชวนคนไทยตรวจสอบระบบไฟฟ้า 7 จุดควรระวัง ทั้งในบ้านและอาคารด้วยตัวเองเบื้องต้น รับมือฉลองเทศกาลสงกรานต์ พร้อมแนะบริการตรวจสอบการจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงในอาคาร Busduct / Busway หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อเพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยให้กับลูกค้ามากขึ้น จากสถิติกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ปัจจุบันสาธารณภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดคืออัคคีภัย 73% ทั้งในพื้นที่บ้านและอาคารขนาดใหญ่ ทั้งนี้สา

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...