หนูน้อย 4 ขวบ.. คว้าแชมป์นักเล่านิทานระดับประเทศ

กรุงเทพฯ--2สรรหาหนูน้อยนักเล่านิทาน ต.ค.--โครงการ “ลับสมอง ประลองปัญญา สรรหาหนูน้อยนักเล่านิทานครั้งที่ 5

ความสามารถ..จิตนาการ..ความน่ารักสดใส..เป็นสิ่งที่พบเห็นบนเวทีลับสมองประลองปัญญาสรรหาหนูน้อยนักเล่านิทาน..ทำให้ตลอดระยะเวลา 3 เดือนกว่า คณะกรรมการทำงานกันอย่างหนัก และมีความหนักอกหนักใจกันไม่น้อย ในการคัดสรรสุดยอดหนูน้อยนักเล่านิทานระดับประเทศ เมื่อวันที่ 16 – 17 ตุลาคม 2553 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานอุทยาการเรียนรู้ ร่วมกับ มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, นิตยสาร Mother&Care และสถานีวิทยุไทยเพื่อเด็กและครอบครัว FM.105 จัดการแข่งขันประกวดหนูน้อยนักเล่านิทานรอบชิงชนะเลิศ ในโครงการ “ลับสมอง ประลองปัญญา สรรหาหนูน้อยนักเล่านิทานครั้งที่ 5 (สัญจร)” ขึ้น โดยได้ผู้ชนะเลิศการประกวดดังมีรายชื่อต่อไปนี้ ประเภทเดี่ยว อายุ 4-6 ปี รางวัลชนะเลิศ ด.ญ.ปริณดา อินสตูล (น้องโอปอ) อายุ 4 ปี 6 เดือน โรงเรียนอนุบาลจารุเวช กทม. (ตัวแทนกรุงเทพ) นิทานที่เล่าเรื่อง กระต่ายน้อยกับหินวิเศษ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ด.ญ.พรรณรมณ บุญล้อม (น้องน้ำทิพย์) อายุ 4 ปี 7 เดือน โรงเรียนอนุบาลเชียงราย จ.เชียงราย (ตัวแทนภาคเหนือ) นิทานที่เล่าเรื่อง แมวนางฟ้าชูการ์กับไข่ฟองสำคัญ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ด.ช.อธิษฐ์ ธารทิพย์จิตเกษม (น้องปลาวาฬ) อายุ 5 ปี 9 เดือน โรงเรียนเซนต์ฟรังซัสเซเวียร์ กทม. (ตัวแทนกรุงเทพ) นิทานที่เล่าเรื่อง ดาวอะไรเอ่ย ประเภทเดี่ยว อายุ 6-9 ปี รางวัลชนะเลิศ ด.ญ.ฐิตาภา ฤทธิจันทร์ (น้องปิ่น) อายุ 7 ปี 3 เดือน โรงเรียนดรุณาราชบุรี จ.ราชบุรี (ตัวแทนภาคกลาง) นิทานที่เล่าเรื่อง คุณฟองนักแปรงฟัน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ด.ญ.ชนกนันท์ ทองสุข (น้องไอที) อายุ 6 ปี 4 เดือน โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ (ตัวแทนภาคเหนือ) นิทานที่เล่าเรื่อง หมีน้อยอยากเป็นนก รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ด.ญ.ปลายฟ้า นรพิเชียรฉาย (น้องปลายฟ้า) อายุ 6 ปี 2 เดือน โรงเรียน AIT กทม. (ตัวแทนกรุงเทพ) นิทานที่เล่าเรื่อง ค่ะหายไปไหน ประเภททีมครอบครัว รางวัลชนะเลิศ ชื่อทีม เพื่อนใหม่ นิทานที่เล่า มดกับจิ้งหรีด (ตัวแทนกรุงเทพ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ชื่อทีม แทนรัก นิทานที่เล่า แกะน้อยโอชากับหมาป่าผู้หิวโหย (ตัวแทนกรุงเทพ) รางวัลรองชนะเลศอันดับ 2 ชื่อทีม ปู่กับหลาน นิทานที่เล่า ธรรมชาติ (ตัวแทนกรุงเทพ) ของรางวัล ผู้ชนะเลิศการประกวด ประเภทเดี่ยวอายุ 4-6 ปี และ 6-9 ปี ได้รับถ้วยรางวัลจาก ศาสตราจารย์ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี พร้อมทั้งเงินรางวัล 20,000 บาท เกียรติบัตร และของที่ระลึก ผู้ชนะเลิศการประกวด ประเภททีมครอบครัว ได้รับถ้วยรางวัลจาก คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ประธานกรรมการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก พร้อมทั้งเงินรางวัล 20,000 บาท เกียรติบัตร และของที่ระลึก รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมทั้งเกียรติบัตร และของที่ระลึก รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมทั้งเกียรติบัตร และของที่ระลึก ชมเชยยอดเยี่ยม ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมทั้งเกียรติบัตร และของที่ระลึก ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยาการเรียนรู้ กล่าวว่า สำนักงานอุทยาการเรียนรู้ มีบทบาทในการร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาคีที่เห็นความสำคัญของหนังสือกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อส่งเสริมให้เกิดนิสัยรักการอ่านและกระตุ้นให้ครอบครัวเห็นความสำคัญของการเล่านิทานให้ลูกฟัง รวมถึงเปิดเวทีให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจากการดำเนินงานตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เวทีแห่งนี้เป็นพื้นที่ในการบ่มเพาะเยาวชนที่มีพื้นฐานจากการอ่านสู่เยาวชนนักเล่าที่เปี่ยมคุณภาพและพร้อมจะเติบโตอย่างสมบูรณ์ต่อไป คุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก กล่าวว่า การอ่านเป็น “สะพานแห่งความรู้” ที่ผู้ใหญ่ใช้ทอดถึงเด็กด้วยความรัก และความเมตตา เพื่อสร้างความรู้สึกนึกคิดที่ดีงาม การอ่านถือเป็นการสร้างอริยทรัพย์ เพื่อสะสมเป็นทุนทางชีวิต ยิ่งอ่านเยอะ ทุนก็แยะ ทุกสิ่งที่อ่านจะส่งผ่านไปยังคลังความรู้ในสมอง ยิ่งอ่านมาก ก็ฉลาดมาก อยากให้เด็กเป็นอย่างไรให้อ่านหนังสืออย่างนั้นให้เด็กฟัง หรือหาหนังสืออย่างนั้นให้เด็กอ่าน อาจารย์ชีวัน วิสาสะ นักแต่งนิทาน นักเล่านิทาน กล่าวว่า อยากจะรู้จักโลกทั้งใบก่อนที่จะเดินทางท่องโลก ก็ควรอ่านโลกจากหนังสือ อยากจะตื่นเต้นระทึกขวัญแต่ไม่ต้องเอาชีวิตไปเสี่ยง ก็ให้อ่านหนังสือ อยากจะรู้ความคิดของนักปราชญ์ ความคิดของทรราช ก็ให้อ่านหนังสือ ถ้าเราปลูกต้นไม้โดยไม่ใส่ปุ๋ยบำรุงดิน ต้นไม้อาจจะไม่ตายแต่คงไม่สมบูรณ์ คนไม่อ่านหนังสือก็ไม่ตาย (สุดท้ายก็ต้องตาย) แต่ก็คงเป็นคนไม่สมบูรณ์ คนที่สมบูรณ์ก็ต้องตายเช่นกันแต่ตายอย่างคนที่สมบูรณ์ ส่วน คุณทิพย์สุดา สุเมธเสนีย์ นักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การอ่านเป็นช่องทางที่ดีในการเรียนรู้ในทุกๆเรื่อง เพราะการอ่านเป็นการเปิดประตูไปสู่เนื้อหาที่นักเขียนได้เขียนเรื่องราวไว้แล้วในหนังสือ อีกทั้งยังกระตุ้นจินตนาการของเด็กได้อย่างไร้พรมแดน สอบถามเพิ่มเติมติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2628-8818-9 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร+สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาวันนี้

Art Tank Group กลุ่มบริหารธุรกิจศิลปะครบวงจร ชี้ตลาดศิลปะโตต่อเนื่อง พร้อมแนะ 3 ข้อ เติมระบบนิเวศศิลปะไทย "เพิ่มพื้นที่อาร์ตสเปซ - สนับสนุน Art Gallery - สร้าง Passion ด้านศิลปะ"

"อาร์ต แท็งก์ กรุ๊ป" ชวน หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และนักสะสมศิลปะไทย ร่วมพูดคุย "การเติบโตและระบบนิเวศของศิลปะ" หลังมูลค่าตลาดศิลปะโตต่อเนื่อง มีสินทรัพย์ศิลปะทั้งหมด 24,000 ล้านบาท โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มหันมาสะสมศิลปะมากขึ้น พร้อมชี้ 3 แนวทาง ช่วยเติมเต็มระบบนิเวศศิลปะไทย "ขยายพื้นที่อาร์ตสเปซ สนับสนุน Art Gallery สร้าง Passion รักศิลปะ" ล่าสุด ผู้บริหาร อาร์ต แท็งก์ กรุ๊ป ต่อยอดศิลปะครบวงจร จับมือ อินทรประกันภัย เปิดตัวผลิตภัณฑ์ "ART IN-SURE" ผลิตภัณฑ์ประกันภัยคุ้มครองและดูแลงานศิลปะ

บริษัท ที เอส ฟลาวมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรื... TMILL รับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน Sustainability Disclosure Award ประจำปี 67 — บริษัท ที เอส ฟลาวมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ "TMILL" โรงงานโม่แป้งสา...

สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสหภาพยุโรป (... นิทรรศการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อการพัฒนาชนบทและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน — สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสหภาพยุโรป (European Union Intellectual Proper...

มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับสมาคมก... ภาคประชาชนผนึกกำลังสาธารณสุข เร่งยกระดับความสำคัญโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในประเทศไทย — มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับสมาคมกุมารประสาทวิทยา (ประเทศไทย) สม...

บริษัท เซ็น เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENX... SENX รับรางวัลกิตติกรรมประกาศ Sustainability Disclosure ประจำปี 2566 จากสถาบันไทยพัฒน์ — บริษัท เซ็น เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENX รับรางวัลการเปิดเผยข้อม...