นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติกับโอกาสพัฒนาของมหาวิทยาลัย

กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--วช.

ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการวิจัยมากขึ้นโดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังปรากฎในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 10 ถึงฉบับที่ 11 โดยระบุไว้ชัดเจนว่าการวิจัยเป็นพลังขับเคลื่อนในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ เวชชาชีวะ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสภาวิจัยแห่งชาติด้วยตนเองและได้แสดงความคิดเห็นในหลายเวทีที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการส่งเสริมพัฒนาการวิจัยให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้กับประเทศแห่งการสร้างสรรค์ ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ร่วมมือกับองค์กรที่ทำหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมการวิจัยต่างๆ คือ สกว. สวทช. สวก. สวรส. และ สวทน. กับหน่วยปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานของภาครัฐ ผนึกกำลังทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับที่ 8 สำหรับปี พ.ศ. 2555 – 2558 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันได้ใช้กลยุทธ์ในการกระจายการมีส่วนร่วมไปในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์มีเป้าหมายที่จะตอบสนองความต้องการของแต่ละภูมิภาคในเชิงพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม วช. เห็นว่าการผนึกกำลังในทุกระดับทั้งระดับนโยบาย ระดับกำกับสนับสนุนและระดับปฏิบัติการวิจัยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรงบประมาณและบุคลากร ในส่วนของโอกาสพัฒนาการวิจัยของประเทศจากการที่รัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณปีนี้เป็นพิเศษ ให้แก่ “โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ” ซึ่งเป็นปีแรกในระยะ 3 ปี มูลค่ารวม 5,050 ล้านบาท โดยปี 2554 จัดสรรให้ 2,000 ล้านบาท มีสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นผู้บริหารโครงการและมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รับผิดชอบในการกำกับทิศทางและกลั่นกรองโครงการ ในการนี้ได้คัดเลือกมหาวิทยาลัยที่มีพื้นฐานและผลงานวิจัยโดดเด่น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทั้งนี้ สกอ. ได้ตั้งเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยดังกล่าวพัฒนาการวิจัยให้เกิดความโดดเด่นและมีศักยภาพสูงสุด ในสาขาหรือประเด็นที่มุ่งหวัง ในขณะเดียวกันงานวิจัยต้องสร้างความก้าวหน้าเชิงวิชาการ และสร้างบัณฑิตในระดับปริญญาโทและเอกพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การลงทุนในโครงการนี้ได้ประโยชน์สูงสุดและเป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศ ดังนั้น วช. ซึ่งรับผิดชอบกำกับดูแลจึงได้ร่วมกับ สกอ. พิจารณากลั่นกรองโครงการ โดยมุ่งหวังสนับสนุนให้แต่ละมหาวิทยาลัยได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่สร้างผลงานที่ทั้งรัฐบาลและสภานิติบัญญัติโดยคณะอนุกรรมาธิการงบประมาณเพื่อการวิจัยฯ ได้ตั้งเป้าให้สามารถนำผลงานวิจัยที่ผลิตขึ้นไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนและพัฒนาเชิงพาณิชย์ ดังนั้น วช. จึงตระหนักถึงความรับผิดชอบที่สำคัญนี้และได้อาสาร่วมมือกับ 4 ส. (สกว. สวทช. สวก. สวรส.) กับ สกว. ในการกลั่นกรองและผลักดันโครงการโดยหวังให้มหาวิทยาลัยเป็นกำลังหลักในการดำเนินการวิจัยของประเทศ สนับสนุนบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญ ให้สามารถใช้โอกาสนี้ดำเนินงานให้เกิดผลงานที่ให้ประโยชน์ตามแนวโนบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการวิจัยของประเทศ เพื่อก้าวสำคัญในการพัฒนางานวิจัย ให้ทุกฝ่ายได้รับรู้และเห็นความสำคัญของการวิจัยอันจะนำไปสู่การยอมรับของสังคม และรัฐบาลทำให้ได้งบประมาณเพื่องานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและผลการวิจัยก็สามารถใช้เพื่อพัฒนาประเทศให้ขับเคลื่อนก้าวสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานความรู้ พร้อมสร้างสรรค์พัฒนาก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน

ข่าวสุทธิพร จิตต์มิตรภาพ+สภาวิจัยแห่งชาติวันนี้

ภาพข่าว: วพน.7 แสดงความยินดีฯ

ชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานนักศึกษาหลักสูตรด้านวิทยาการพลังงานสำหรับนักบริหารรุ่นใหม่ รุ่น 7 นัดเพื่อนๆ ร่วมรุ่น มาเลี้ยงแสดงความยินดีให้กับ พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ดร.สมชาย หาญหิรัญ ในโอกาสดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ได้รับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ โดยมี ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ดร. ฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล และ นิพนธ์

ภาพข่าว: “เครื่องม้วนและจ่ายสายเคเบิ้ลด้วยแขนแบบโต๊ะหมุน” WCE คว้ารางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเยี่ยม ประจำปี 2557

ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มอบ “รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเยี่ยม ประจำปี 2557” จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)แก่ นายสมบัติ จูงจิตรดำรงค์ ผู้...

ภาพข่าว: MOU สิ่งแวดล้อม

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการฯ สภาวิจัยแห่งชาติ และคณะผู้บริหาร วช. ถ่ายภาพร่วมกับ นายมีชัย วีระไวทยะ ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และคณะกรรมการในงานแถลงข่าว วช. ร่วมกับ สสท. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ...

วช. ร่วม สสท. วางยุทธศาสตร์สร้างคลังข้อมูลการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (สสท.) เปิดแถลงข่าวการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อวางยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นนโยบายด้านบริหารและแก้ปัญหาของประเทศ ในวันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ณ...

วช. ขอเชิญร่วมงานแถลงข่าวรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ

ขอเชิญร่วมงานแถลงข่าวรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี ๒๕๕๔ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี ๒๕๕๕ และการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมบุญนาค ชั้น ๑ อาคาร วช. ๒...

ภาพข่าว: ทุนบัณฑิตศึกษา

ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สูตะบุตร ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ และศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร วช. เปิดพิธีการชี้แจงการเสนอขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทบัณฑิตศึกษา ประจำปี 2554 ...

ภาพข่าว: "งานวิจัย" โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะทำงานกำหนดกรอบงานวิจัย (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2555 (15กลุ่มเรื่อง) ครั้งที่ 1/2554 โดยมีศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, ศ.ดร.พรชัย...

ภาพข่าว: แถลงข่าวรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานในพิธีเปิดการแถลงข่าวรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย และรางวัลวิทยานิพนธ์ (ระดับปริญญาเอก) ประจำปี 2553 ณ ห้องจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์...

เลขาฯ วช. แจงบทบาทการทำงานขององค์กรวิจัย

ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึง สภาวิจัยแห่งชาติกับบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านการวิจัยของประเทศ และแนวทางความร่วมมือระหว่างองค์กรนโยบายและสนับสนุนส่งเสริมการวิจัย ว่ารัฐบาลได้มีการระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่...

นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติกับโอกาสพัฒนาของมหาวิทยาลัย

ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการวิจัยมากขึ้นโดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังปรากฎในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 10 ถึงฉบับที่ 11 โดยระบุไว้ชัดเจนว่าการวิจัยเป็นพลังขับเคลื่อนในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ...