ประกาศผลรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2553 แก่ 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน

กรุงเทพฯ--4 พ.ย.--ดีแทค

บรรยายภาพ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล (แถวนั่งที่ 6 จากซ้าย) รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบุญชัย เบญจรงคกุล (แถวนั่งที่ 5 จากซ้าย) ประธานกรรมการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และนายทอเร่ จอห์นเซ่น (แถวนั่งที่ 6 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ร่วมเป็นประธานมอบรางวัลเกษตรอินทรีย์ดีเด่นให้แก่เกษตรกรผู้ชนะรางวัลจากประเทศไทย และเกษตรกรจากชาติสมาชิกอาเซียน ในพิธีมอบรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดประจำปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมกับมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด สถานีวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อร่วมพัฒนางาน CR (Corporate Responsibility) สู่ภูมิภาคอาเซียน พิธีมอบรางวัลจัดขึ้น ณ โรงมหรสพศาลาเฉลิมกรุง โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมกับมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด สถานีวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมพัฒนางาน CR (Corporate Responsibility) สู่ภูมิภาคอาเซียน เปิดเวทีมอบรางวัลเกษตรอินทรีย์ดีเด่นแก่เกษตรกรภูมิปัญญาแห่งภูมิภาค เตรียมเชื่อมโยงโครงข่ายด้านการเกษตรผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมยุคใหม่ ทั้งเกษตรกรไทยและอาเซียน สู่ตลาดโลก “พิธีมอบรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดประจำปี 2553” จัดขึ้น ณ โรงมหรสพศาลาเฉลิมกรุง โดยมี นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และ นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ร่วมเป็นประธานในการมอบรางวัลแก่เกษตรกรผู้ชนะรางวัลจากประเทศไทย และ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานร่วมในการมอบรางวัลให้แก่เกษตรกรจากชาติสมาชิกอาเซียน สำหรับโครงการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นที่มีผลงานยอดเยี่ยมด้านเกษตรอินทรีย์ในปี 2553 นี้ มีเกษตรกรไทยทั่วประเทศส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 120 ผลงาน คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกผลงานที่โดดเด่นด้านเกษตรอินทรีย์มากที่สุดออกมา 9 ผลงาน ส่วนเกษตรกรดีเด่นระดับชาติอาเซียนนั้นได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานไปยังกระทรวงเกษตรประจำแต่ละชาติสมาชิกอาเซียน ซึ่งส่งรายชื่อเกษตรกรผลงานยอดเยี่ยมมาประเทศละ 1 ท่าน ซึ่งทั้งหมดได้เดินทางมารับรางวัลที่ประเทศไทยด้วย สำหรับเกษตรกรไทย 9 ท่าน ที่ผลงานได้รับการพิจารณารับรางวัลประจำปีนี้ ได้แก่ เกษตรกรจากจังหวัดชุมพร เชียงราย ชัยภูมิ นครราชสีมา นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เลย และอำนาจเจริญ ส่วนเกษตรกรอาเซียนที่ได้รับการคัดเลือกรับรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดในปีนี้มาจากทั้ง 9 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม การจัดพิธีมอบ “รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ครั้งนี้นับเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด รวบรวมภูมิปัญญาและความรู้ด้านการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเผยแพร่ให้เกษตรกรอื่นๆ ต่อไป “รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการ *1677 ทางด่วนข้อมูลการเกษตรที่เป็นนวัตกรรมด้าน CR โดยดีแทค ในการนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาประยุกต์ใช้เพื่อกระจายความรู้ไปยังเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันมีเกษตรกรเจ้าของรางวัลอยู่ในเครือข่ายแล้ว 123 คน และมีเกษตรกรผู้ใช้บริการ *1677 ทางด่วนข้อมูลการเกษตรอยู่กว่าสองแสนรายทั่วประเทศ. รายนามเกษตรกรจากประเทศไทยผู้ได้รับรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2553 ชุมพร นายสุคนธ์ ศรีสินธุ์ = เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนนอกฤดู เพื่อการส่งออก จากวัยรุ่นที่ไม่สนใจในเรื่องการทำเกษตรแม้แต่น้อย วันนี้นายสุคนธ์ได้เป็นเกษตรกรตัวอย่างในการผลิตทุเรียนนอกฤดูที่มีคุณภาพดี สามารถส่งจำหน่ายได้จำนวนมาก มีการจัดการสวนทุเรียนเพื่อให้ได้รับใบรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) เพื่อยืนยันคุณภาพของผลผลิต เป็นวิทยากรให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน และเป็นกำลังหลักในการต่อรองราคาสินค้าเกษตรกับพ่อค้าคนกลาง เชียงราย นายสมศักดิ์ บุญยวง = เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ดี เพื่อการส่งออก เกษตรกรวัย 51 ปีผู้นี้ ปลูกส้มโอมานานกว่า 13 ปี เป็นผู้จัดตั้ง “กลุ่มผลิตส้มโอพันธุ์ดีเพื่อการส่งออก” มีสมาชิกกว่า 70 คน ส้มโอของกลุ่มมีประเทศโซนยุโรปและประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นตลาดรองรับ อีกทั้งได้รับใบรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) โครงการความปลอดภัยด้านอาหาร ด้านพืชเรียบร้อยแล้ว ชัยภูมิ ผู้ใหญ่เอนก ขุนสูงเนิน = เกษตรกรผู้ปลูกมะขามหวาน เพื่อการส่งออก มีความโดดเด่นในด้านการปลูกมะขามหวาน สามารถส่งผลผลิตจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปยังอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย ด้วยประสบการณ์และสิ่งที่สั่งสมจากการปลูกมะขามหวานมาอย่างยาวนาน ทำให้ผู้ใหญ่เอนกได้รับเกียรติและรางวัลด้านการเกษตรมานับไม่ถ้วน นครราชสีมา นายวีรยุทธ ศรีเลอจันทร์ = เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวไร้เมล็ด เพื่อการส่งออก เกษตรกรที่มีความรักในธรรมชาติและมองเห็นธรรมชาติคือสิ่งสำคัญ จึงเป็นสิ่งดลใจให้ทำการเกษตรและหาประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติมานานกว่า 20 ปี โดดเด่นด้านการปลูกมะนาวไร้เมล็ดจนสามารถสร้างผลผลิตส่งออกไปประเทศไต้หวัน เป็นเกษตรกรที่มีความคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการเกษตรของตนด้วยเทคนิคต่างๆ ที่คิดค้นขึ้นจนเป็นที่รู้จักของปราชญ์และเกษตรกรจากหลายที่หลายถิ่น เป็นนักเขียนคอลัมน์โดยใช้นามปากกา “อาจารย์ทอง ธรรมดา” นนทบุรี นายพนม พึ่งสุขแดง = เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ตัดดอก เพื่อการส่งออก เกษตรกรหนุ่มไฟแรงจากจังหวัดนนทบุรี มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการปลูกกล้วยไม้ตัดดอกส่งออก และเป็นแหล่งเพาะปลูกกล้วยไม้สกุลหวาย สามารถรวบรวมเกษตรกรจัดตั้งเป็นกลุ่มเพื่อจัดส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ ทำให้กล้วยไม้ไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เป็นเกษตรกรที่มีจิตอาสาเพื่อสังคมพร้อมเผยแพร่ความรู้ให้เยาวชนและผู้ที่สนใจนำความรู้แล้วนำไปสร้างรายได้ให้กับชุมชนของตนเองต่อไป ประจวบคีรีขันธุ์ นายวิสูตร วิทยานันท์ = เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด เพื่อจำหน่ายทั้งใน และต่างประเทศ จากเด็กหนุ่มผู้เริ่มต้นทำเกษตรก่อนผันตัวเองเป็นช่างเครื่องช่างยนต์ ก่อนกลับมาอีกครั้งด้วยความมุ่งมั่นที่เต็มเปี่ยม กับต้นทุนที่แสนจะน้อยนิด จนสามารถสร้างพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ และสามารถผลิตและจำหน่ายสับปะรดซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญทั้งในและต่างประเทศรวมกว่า 1,500 ตันต่อปี รับรองคุณภาพด้วยใบรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) ที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้จนถึงปัจจุบัน พิษณุโลก นายบัญหยัด ชาญฟั่น = เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง เพื่อการส่งออก เกษตรกรผู้ก่อตั้งกลุ่มมะม่วงเพื่อการส่งออกที่สร้างให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง สามารถมีเงินทุนดำเนินการได้เป็นอย่างดีจนได้รับรางวัลดีเด่นระดับจังหวัด เป็นเกษตรกรที่พัฒนาพื้นที่บ้านเกิดของตนเองและชาวบ้านในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง มีความเป็นอยู่อย่างยั่งยืน และสามารถช่วยตนเองได้ เป็นวิทยากรประจำศูนย์การเรียนรู้ จัดประชุมอบรมถ่ายทอดความรู้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจนได้รับการคัดเลือกเป็นบุคคลดีเด่นที่ช่วยเหลือสังคมและหน่วยงานราชการ เลย นายนรรถพร สุโพธิ์ = เกษตรกรผู้ส่งเสริมสินค้าเกษตร เพื่อนำมาแปรรูป และเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกร เกษตรกรผู้นำความรู้จากการศึกษาในสาขาคหกรรมมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการแปรรูป ซึ่งได้รับการพัฒนาให้จัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเพื่อการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ในชุมชน เป็นผู้รวบรวมสินค้าการเกษตรอาทิ มะคาเดเมีย สตรอบอรี่ มาแปรรูปและเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรได้มากขึ้น ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในกลุ่มกว่าล้านบาท เกิดรายได้ให้แก่สมาชิก ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรในพื่นที่ อำนาจเจริญ นายอดุลย์ โคลนพันธ์ = เกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายทั้งใน และต่างประเทศ โดดเด่นด้านการปลูกข้าวอินทรีย์จนได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และสัญลักษณ์ตรา “ข้าวคุณธรรม” ที่ผู้เข้ากลุ่มมีหลักเกณฑ์ว่า 1. ปลูกข้าวไร้สารเคมี และต้องไม่มีสารเคมีไว้ในครอบครอง 2.ผู้ผลิตหรือสมาชิกต้องเลิกอบายมุขทุกชนิดอย่างเด็ดขาด 3. มีการรวมกลุ่มกันผลิต ร่วมกันขาย จะไม่มีการแยกกันขายเด็ดขาด ความภาคภูมิใจสูงสุด คือ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีทางออกในการทำการเกษตร ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก รายนามเกษตรกรจาก 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2553 1. Brunei = เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงไก่และเพาะพันธุ์ไก่ Mr. ONG CHEK TENG นักธุรกิจการเกษตรผู้ประสพความสำเร็จอย่างสูงจากการทำฟาร์มเลี้ยงไก่และเพาะพันธุ์ไก่เพื่อการพาณิชย์จากประเทศบรูไน จนสามารถขยายกิจการทำฟาร์มไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขาทั่วประเทศ ธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม จนได้รับรางวัลผู้ประกอบธุรกิจผู้ประสพความสำเร็จจากรัฐบาลแห่งประเทศบรูไนดารุสซาลาม 2. Cambodia = เกษตรกรผู้ปลูกข้าวระบบประณีต Mr.TUY PHAN ชาวนาจากประเทศกัมพูชา ผู้เชี่ยวชาญการปลูกข้าวด้วยระบบประณีต และได้คิดค้นพัฒนาระบบการทำฟาร์มมาประยุกต์ใช้ในการทำสวนครัว ปลูกข้าวโพด เพาะพันธุ์ปลา เลี้ยงไก่และเลี้ยงวัว ตามหลักเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมีอย่างได้ผลดีเลิศ 3. Indonesia = เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยหมักธรรมชาติ Mr. I NENGAH SUARSANA ชาวนาจากอินโดนีเซียผู้เชี่ยวชาญการทำนาตามหลักเกษตรอินทรีย์ ทั้งยังสามารถนำผลผลิตจากนาข้าวมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยหมักจากธรรมชาติทำให้ผลผลิตได้ผลดีและปลอดสารเคมีตกค้าง นอกจากการทำการเกษตรอย่างได้ผล ยังมีผลงานด้านสังคม โดยมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาชุมชนรอบด้าน โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง 4. Laos = เกษตรกรผู้ผลิตและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าว Mr. KHAMMOUN SAYMANY เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจากประเทศลาว ผู้เป็นแบบอย่างอันดีในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตในนาข้าว มีความสามารถในการใช้เทคนิคการคัดแยกสายพันธุ์ข้าวและสามารถนำเอาเทคโนโลยีภายหลังการเก็บเกี่ยวมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังได้เมล็ดข้าวคุณภาพดี เป็นแบบอย่างให้เพื่อนชาวนาได้เรียนรู้และนำไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตในนาข้าว เพิ่มพูนรายได้ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น 5. Malaysia = เกษตรกรผู้ปลูกไร่นาสวนผสมและการเกษตรแบบผสมผสาน Mr. MOHD SHAHRUL BIN DAUD เกษตรกรหนุ่มจากประเทศมาเลเซีย ผู้เคยได้รับรางวัล Young Malaysian Farmer Award 2009 มาแล้ว เริ่มต้นทำฟาร์มปศุสัตว์เมื่อ 5 ปีที่แล้ว และได้ขยายกิจการมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกิจการในฟาร์มประกอบด้วย การเลี้ยงโคเนื้อและโคนมกว่า 160 ตัว ปลูกต้นสัปปะรด 250,000 ต้น พริกแดง 5,000 ต้น ทำบ่อปลาดุก รวมทั้งผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ผลิตและจัดจำหน่ายโยเกิร์ต ซึ่งล้วนเป็นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมี ต้นทุนต่ำแต่ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของบริษัท MND Agroternak Farm และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ เช่นการทำถนนและสร้างฝายชุมชนอีกด้วย 6. Myanmar = เกษตรกรด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ Mr. THAN SOE เกษตรกรระดับผู้นำจากประเทศพม่า เป็นผู้ชำนาญการในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรและระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่มาช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และยังได้ถ่ายทอดเทคนิควิชาการให้กับเพื่อนเกษตรกรด้วยกันให้สามารถใช้พื้นที่ดินทำกินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เผยแพร่ความรู้ในการเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตรอันหลากหลายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้เพื่อนเกษตรกรชาวพม่า ได้รับการยกย่องเป็นเกษตรกรตัวอย่าง 7. Philippines = เกษตรกรผู้ทำนาแบบผสมผสาน (บูรณาการ) Mr. BONIFACIO M.CORPUZ ชาวนาจากประเทศฟิลิปปินส์ ผู้มีผลงานโดดเด่นในการทำนาข้าวอินทรีย์แบบบูรณาการ ประยุกต์ใช้ผลผลิตในนามาทำปุ๋ยเพื่อลดต้นทุน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ป้องกันดินเสื่อมสภาพ แต่ยังคงให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี นอกจากนี้ยังได้คิดค้นระบบบริหารจัดการนาข้าวให้ได้ประสิทธิผล สามารถปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปี เขายังได้เข้าร่วมกลุ่มฝึกอบรมพัฒนาของทางราชการอยู่อย่างสม่ำเสมอ และมีส่วนร่วมในการช่วยสร้างงานสร้างรายได้และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างแข็งขันอีกด้วย 8. Singapore = เกษตรกรผู้ปลูกพืชใบเขียวเพื่อจำหน่าย Mr. WONG KOK FAH เกษตรกรจากประเทศสิงคโปร์ ประสพความสำเร็จอย่างสูงในการปลูกพืชใบเขียว ด้วยแรงบันดาลใจที่ได้รับจากครอบครัวซึ่งทำการเกษตรมาโดยตลอด ทำให้เขาซึมซับความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิม และต่อยอดพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นโดยเรียนรู้และทดลองทำวิจัยต่างๆ ด้วยตนเอง จนสามารถขยายกิจการด้านเกษตรเป็นผู้จัดจำหน่ายพืชผักใบเขียวให้กับซูปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ 9. Vietnam = เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงสุกรเพื่อจำหน่าย Mr. NGUYEN VAN PHUC เกษตรกรจากเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม เจ้าของฟาร์มสุกรบนพื้นที่ 1,650 ตารางเมตร มีสุกรเพื่อขยายพันธุ์ไว้ 120 ตัว สามารถให้ผลผลิตเป็นลูกสุกรได้มากถึง 1,500 ตัวต่อปี นอกจากนี้ยังเลี้ยงสุกรเพื่อผลิตเป็นเนื้อสุกรอีก 600 ตัว ในแต่ละปีสามารถผลิตเนื้อสุกรป้อนตลาดกลางในฮานอยได้มากถึง 150 ตันต่อปี โดยนำหลักการทำเกษตรอินทรีย์พึ่งพาตนเองแบบครบวงจรมาประยุกต์ใช้ในการทำฟาร์ม ซึ่งสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน สุกรเติบโตดีให้ผลผลิตสูง ด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ค้นหาข่าวและภาพเพิ่มเติม :http://www.dtac.co.th/news/index.phpสอบถามเพิ่มเติม ลูกค้า: 1678 dtac Call Center สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ประกาศผลรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2553 แก่ 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน

บรรยายภาพ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล (แถวนั่งที่ 6 จากซ้าย) รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบุญชัย เบญจรงคกุล (แถวนั่งที่ 5 จากซ้าย) ประธานกรรมการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และนายทอเร่ จอห์นเซ่น (แถวนั่งที่ 6 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ร่วมเป็นประธานมอบรางวัลเกษตรอินทรีย์ดีเด่นให้แก่เกษตรกรผู้ชนะรางวัลจากประเทศไทย และเกษตรกรจากชาติสมาชิกอาเซียน ในพิธีมอบรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดประจำปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค

โครงการทำดีทุกวันจากดีแทคเปิดรับประกวดเครือข่ายเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดปีที่ 2 ค้นหายอดเกษตรกรเป็นองค์ความรู้เสริมบริการ*1677 ทางด่วนข้อมูลการเกษตร

เริ่มแล้วกับการค้นหาสุดยอดเกษตรกร เข้าร่วมประกวดรางวัล“เครือข่ายเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปีที่ 2” จัดโดยความร่วมมือระหว่างโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค...

ดีแทค พาผู้ใช้ *1677 ศึกษาแนวทางทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดเชียงราย

โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และร่วมด้วยช่วยกันแฮปปี้ สเตชั่น ร่วมมือจัดกิจกรรมพาผู้สมัครใช้บริการ *1677 ทางด่วนข้อมูลการเกษตร ศึกษาวิธีการทำการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง...

โครงการทำดีทุกวันจากดีแทคเดินหน้าสนับสนุนเยาวชนมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ส่งประกวดกิจกรรม “ทำดีเพื่อบ้านเกิด” ปีที่2 มอบทุน 4 โครงการพัฒนาท้องถิ่น

โครงการทำดีทุกวันจากดีแทคประกาศสานต่อโครงการ “ทำดีเพื่อบ้านเกิด” หนุนเครือข่ายเยาวชนในโครงการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด จับกลุ่มความร่วมมือเสนอแนวคิดพัฒนาบ้าน...

ปลอดหนี้สินและเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาโครงการทำดีทุกวันจากดีแทคมอบ 2 รางวัลโครงการ “ทำดีเพื่อบ้านเกิด” รางวัลละ 100,000 บาท ส่งเสริมเยาวชนสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน

จากการที่โครงการทำดีทุกวันจากดีแทคและมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เยาวชนทั่วประเทศที่...

ดีแทคเปิดตัว CSR ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการ “ทางด่วนข้อมูลการเกษตร” แลกเปลี่ยนสอบถามความรู้และข้อมูลวิเคราะห์ กด *1677 สมัครใช้บริการได้ฟรี ทั่วประเทศ

ดีแทค ร่วมมือกับพันธมิตรจากมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดและสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station ประกาศเปิดตัวโครงการ“ทางด่วนข้อมูลการเกษตร” ...

มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ดีแทค และสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station ร่วมมอบรางวัล “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ๗๖ จังหวัด

มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ดีแทค และสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station ร่วมมอบรางวัล “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ๗๖ จังหวัด ส่งเสริมองค์ความรู้และภูมิปัญญาเกษตรกรรมท้องถิ่น ...

ดีแทค จัดพิธีมอบรางวัล “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด”

ดีแทคขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงาน พิธีมอบรางวัล “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ในวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 09.30-12.30 น. ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ผู้บริหาร นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด...

ดีแทคสนับสนุนการประกวด Mr.&Ms. University 2008 เฟ้นหาทูตนักศึกษาเพื่อคุณธรรม ต่อยอดโครงการทำดีทุกวัน

ดีแทคร่วมสนับสนุนสมาคมเพื่อองค์การเวิลด์คาร์พ (ประเทศไทย) ในการจัดประกวด Mr. &Ms. University 2008 หวังส่งเสริมผ่านกิจกรรมใหม่ “กิจวัตรของคนดี” คัดเลือกตามแนวทาง YSR (Youth Social Responsibility) เพื่อ...

เรือกู้ภัยดีแทคและมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดปฏิบัติภารกิจช่วยชีวิตนักท่องเที่ยวและชาวบ้าน สนับสนุนการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน

เรือกู้ภัยดีแทคและมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดปฏิบัติภารกิจช่วยชีวิตนักท่องเที่ยวและชาวบ้าน เสริมมาตรฐานความปลอดภัยสนับสนุนการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน...