ป.ป.ช.เปิดเวทีถกคุณสมบัติผู้แทนในดวงใจ กระตุ้นประชาชนเฟ้นนักการเมืองคุณภาพบริหารประเทศ

กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--ป.ป.ช.

ป.ป.ช. เปิดแคมเปญค้นหาคุณสมบัติผู้แทนที่ดี ให้ประชาชนร่วมโหวต กระตุ้นคนไทยเลือกผู้แทนคุณภาพเข้าสภาฯ โดยจัดเวทีเสวนา เรื่องผู้แทนในดวงใจและเชิญตัวแทนภาควิชาการ เยาวชนเข้าร่วม เป็นวิทยากร อาทิ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเกษม จิตติวุฒินนท์ ประธานค่ายเยาวชนสัมพันธ์ ป.ป.ช. รุ่นที่ 2 และนายกษิดิศ ครุฑางคะ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ร.ร.ราชวินิตบางแก้ว จ.สมุทรปราการ ผู้ชนะเลิศการประกวดพูด ประจำปี 2553 ของสำนักงาน ป.ป.ช. และศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ร่วมให้มุมมองบนเวทีอย่างน่าคิด ณ ห้องประชุม สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนพิษณุโลก กรุงเทพฯ โดยในวันงาน ได้รับเกรียติ จาก ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กำกับดูแลเรื่องจริยธรรม ให้ความเห็นว่า นี่ถือเป็นอีกกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามบทบาทของ ป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้กำกับดูแลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งการกำกับดูแลค่อนข้างลำบาก เชื่อว่าการค้นหาคุณสมบัติผู้แทนที่ดีจะเป็นเครื่องช่วยในการกำกับดูแลจริยธรรม ของนักการเมืองได้ “เมื่อมองในเชิงบวก คุณสมบัติที่ดีควรเป็นอย่างไรนั้น ประชาชนควรตื่นตัวและมีส่วนร่วมในกระบวนการให้มากยิ่งขึ้น เพราะว่าเราละเลยเราไม่ได้ติดตาม เราไม่ได้มีส่วนในการดูแล ส.ส. ของเรา อย่าคิดว่าเมื่อหย่อนบัตรแล้วขายขาดไม่รับคืน คือแล้วก็แล้วกันไปอีกสี่ปีว่ากันใหม่ไม่ได้ เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ในกระบวนการทำงานประชาชนมีสิทธิ และต้องมีส่วนร่วมเข้าไปดูแลติดตาม ตรวจสอบการทำงานของ ส.ส. ซึ่งเป็นตัวแทนของเรา ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ดังนั้นกิจกรรมนี้เท่ากับว่าเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามดูแลทำให้ ส.ส. ทำหน้าที่เป็น ส.ส. ที่ดีอย่างแท้จริง” กรรมการ ป.ป.ช.กล่าว ด้าน ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดมุมมองในฐานะนักวิชาการว่า “ปัจจุบัน ส.ส. มีความรู้สูงขึ้นแต่กลับมีความสามารถในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยน้อยลง เพราะเล่นการเมืองแบบแบ่งข้างจนเกิดปัญหา เช่น สภาล่ม การประท้วง ใช้คำหยาบคายแบบไม่เคยปรากฏมาก่อน หาก ส.ส.มีความสามารถในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยคงไม่เกิดเหตุการณ์นองเลือด ส.ส.ต้องเลิกแบ่งข้างกัน หันมายึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ต้องสำนึกว่าหน้าที่ของ ส.ส.คือ การปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทยทุกคน ไม่ใช่แค่ตัวแทนของพรรคการเมืองที่สังกัด ที่สำคัญต้องเคารพกติกาจะเกิดความปรองดองอย่างแท้จริง” นายเกษม จิตติวุฒินนท์ ประธานค่ายเยาวชนสัมพันธ์ ป.ป.ช. รุ่นที่ 2 เผยว่า “ในฐานะเป็นเยาวชนวันนี้และเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้าสิ่งที่สำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นการใช้ผลประโยชน์บางอย่างเป็นสิ่งสำคัญที่ ทุกคนต้องตระหนักสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โลกกว้างมาก เยาวชนมีติดต่อสื่อสารค้นหาข้อมูล จากการค้นหาข้อมูลปัญหาคอร์รัปชันในปี 2553 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 84 จาก 180 ประเทศ แสดงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในสังคมเกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครอง หรือเป็นเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารงานความมีจิตสำนึกหรือการนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของผู้บริหารประเทศ ผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นสิ่งที่สำคัญที่พวกเราเยาวชนความจะให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหา ที่เกิดขึ้นว่าผลกระทบในวันนี้เป็นปัญหาใหญ่ตามมาในอนาคต” ส่วนนายกษิดิศ ครุฑางคุ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ร.ร.ราชวินิตบางแก้ว จ.สมุทรปราการ วิทยากรที่อายุน้อยที่สุดในเวทีเสวนาครั้งนี้ เป็นผู้ชนะเลิศการประกวดพูด ประจำปี 2553 ของสำนักงาน ป.ป.ช. นับเป็นเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง ระบุว่า ส.ส. ก็จะไม่มีความสำคัญถ้าเขาไม่ใช่คนที่กำหนดนโยบาย ไม่ใช่คนที่กำหนดทิศทางความเจริญให้กับประเทศ ชื่อก็บอกแล้วคือ ผู้แทนราษฏร แต่วันนี้เขายังทำหน้าที่นั้นอยู่ นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยยังคงดำเนินอยู่ในประเทศไทย โดยมี ส.ส. ส.ว. เป็นผลผลิตของประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง ทำให้ ส.ส. ส.ว. มีความสำคัญกับประเทศ เป็นจุดบ่งชี้หลายส่วน เป็นความเจริญที่เขาจะเป็นตัวบอกได้ “เราเป็นประชาชนหน้าที่คือการทำอย่างไรจะต้องตีกรอบการดำเนินงาน การทำงาน รวมถึงความประพฤติของ ส.ส. เหล่านี้ให้อยู่ในกรอบในเกณฑ์โดยใช้ระบอบประชาธิปไตย ภาพที่จะให้เยาวชนสนใจการเมือง คือ นักการเมืองเล่นการเมืองให้น้อยทีสุดแล้วทำหน้าที่ของผู้แทนราษฏรจริงๆ เยาวชนมองนักการเมืองตลอดถ้านักการเมืองทำอะไรผิดพลาดสิ่งที่เราเกรงกลัวคือเยาวชนจะซึมซับเรื่องนั้นหรือเปล่า” นายกษิดิศ กล่าวทิ้งท้าย อย่างไรก็ตาม“กิจกรรมค้นหาคุณสมบัติผู้แทนที่ดี” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และเยาวชนร่วมเลือกหรือเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้แทนที่ดี จำนวน 3 ลำดับโดยส่งไปรษณียบัตรไปที่ ตู้ ปณ.100 เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 หรือร่วมโหวตผ่าน http://www.nacc.go.th ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2553 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+ปริญญา เทวานฤมิตรกุลวันนี้

แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แว่นท็อปเจริญ บริษัท ร่วมเจริญพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต ผลักดันการศึกษาด้านธุรกิจ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง โดยยินดีให้การต้อนรับนักศึกษาฝึกงาน เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...

กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ นำโดย ดร.จารุรัตน์ ช... เบเยอร์ร่วมแสดงเจตนารมณ์สู่ Net Zero มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน — กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ นำโดย ดร.จารุรัตน์ ชัยยศบูรณะ ผู้บริหารกลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ เป็นตัวแทนอ...