ไซแมนเทครายงานสถานการณ์อีเมลขยะและฟิชชิ่งประจำเดือนกรกฎาคม 2553

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--เอพีพีอาร์ มีเดีย

เว็บไซต์ปลอมแย่งซีน โต 25% จากเดือนที่ผ่านมา นักเล่นเกมออนไลน์ และแฟนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ระวังตกเป็นเหยื่อเว็บปลอม รางวัลสแปมดาวร้ายประจำเดือน ได้แก่ สแปมรูปภาพโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ อีเมลขยะพ่วงมัลแวร์หัวข้อ “Outlook Setup Notification” แพร่กระจายสูงอันดับสอง นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เปิดเผยว่า “จากความเข้มงวดในการกวาดล้างเครือข่ายซอมบี้ (เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกควบคุมโดยอาชญากรออนไลน์) ในช่วงที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าวายร้ายเหล่านี้ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการโจมตีในเดือนมิถุนายน 2553 โดยอาศัยช่องทางการส่งอีเมลขยะพร้อมด้วยมัลแวร์เพิ่มมากขึ้น หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงต้นปี 2553 ไซแมนเทคยังไม่เคยพบกรณีที่มีการแพร่มัลแวร์ผ่านอีเมลขยะเกินระดับ 3 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอีเมลขยะทั้งหมด แม้จะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดก็ตาม อย่างไรก็ดีในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปริมาณอีเมลขยะที่มาพร้อมกับมัลแวร์นั้นได้เพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 12 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอีเมลขยะทั้งหมดในวันที่ 13 มิถุนายน และอยู่ในระดับ 5 เปอร์เซ็นต์ในวันที่ 3 และ 15 มิถุนายน ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเมลขยะลักษณะนี้สามารถย้อนกลับไปอ่านการวิเคราะห์หัวข้อเรื่องของอีเมลขยะในเดือนมิถุนายน 2553” สำหรับในภาพรวมนั้น ปริมาณอีเมลขยะคิดเป็น 88.32 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณอีเมลทั้งระบบในเดือนมิถุนายน เทียบกับเดือนพฤษภาคมที่อยู่ในระดับ 89.81 เปอร์เซ็นต์ “ด้านอีเมลขยะประเภทฟิชชิ่ง (phishing) ที่มุ่งหลอกลวงขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้นั้น มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นราว 25 เปอร์เซ็นต์ในแทบทุกหมวดหมู่ของฟิชชิ่ง ด้านเว็บไซต์ฟิชชิ่งที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบเว็บไซต์จริงเพื่อหลอกขอรายละเอียดส่วนตัวของผู้ใช้ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากถึง 123 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม อันเป็นผลมาจากชุดเครื่องมืออัตโนมัติที่ช่วยในการสร้างเว็บไซต์ฟิชชิ่งนั่นเอง โดยปริมาณ URL ที่มีลักษณะเป็นฟิชชิ่งและมีชื่อไม่ซ้ำกันนั้นได้เพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์จากเมื่อเดือนก่อน ส่วนเว็บไซต์ฟิชชิ่งที่ใช้หมายเลขไอพีเป็นโดเมน (อาทิ http://255.255.255.255) ถือเป็นฟิชชิ่งเพียงกลุ่มเดียวที่ลดลงจากเดือนพฤษภาคมราว 2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนบริการด้านเว็บโฮสติ้งนั้นตกเป็นช่องทางในการฝากเว็บฟิชชิ่งมากถึง 11 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเว็บฟิชชิ่งทั้งหมด ถือได้ว่าเพิ่มขึ้นจากเมื่อเดือนก่อนประมาณ 26 เปอร์เซ็นต์ ทางด้านจำนวนเว็บไซต์ฟิชชิ่งที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษนั้นเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ โดยเว็บหลอกลวงภาษาฝรั่งเศสและภาษาอิตาเลียนมีอัตราส่วนสูงสุดในเดือนมิถุนายน ซึ่งในส่วนของเว็บภาษาฝรั่งเศสนั้นมีจำนวนฟิชชิ่งเพิ่มขึ้นถึงกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ และส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอีคอมเมิร์ช” สำหรับแนวโน้มที่น่าสนใจในเดือนมิถุนายน 2553 มีดังนี้: สแปมเมอร์อาศัยข้อความเกี่ยวกับเวิร์ลด์คัพ 2010 เพิ่มขึ้นถึง 9 เท่า ขณะที่การแข่งขันฟุตบอลโลกฟีฟ่าเวิร์ลด์คัพ 2010 กำลังดำเนินไปในแอฟริกาใต้ ทางด้านสแปมเมอร์เองก็อาศัยโอกาสดังกล่าวในการล่อลวงผู้ใช้ให้ติดกับดัก โดยนักวิจัยของไซแมนเทคพบว่า ตัวเลขการอาศัยการแข่งขันฟุตบอลโลกเพื่อส่งอีเมลขยะระหว่างปี 2549 และ 2553 ต่างกันค่อนข้างมาก โดยปริมาณการส่งอีเมลขยะที่มีคีย์เวิร์ดสำคัญว่า "World Cup" ในบรรทัดหัวเรื่องอีเมล์นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 9 เท่า เช่นเดียวกับผลสำรวจ "Spam Street Journal" ของไซแมนเทค ที่ได้รวบรวมหัวข้อข่าวเด่นจากหลากหลายหมวดหมู่ และเปรียบเทียบกับการตั้งชื่อหัวเรื่องของอีเมลขยะที่ตรวจพบผ่าน Global Intelligence Network ของไซแมนเทค ซึ่งพบว่า 10 หัวเรื่องที่พบมากที่สุดนั้นเป็นเรื่องราวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นข่าวดังทั้งสิ้น ได้แก่: 1. FIFA World Cup South Africa… bad news 2. World Cup: Uruguay Beats South Korea 2-1 3. Germany beats England 4-1 in World Cup 4. ONGOING FIFA WORLD CUP LOTTERY SOUTH AFRICA 2010. 5. World Cup: Germany Defeats England 4-1 6. SOUTH AFRICAN WORLD CUP 2010. 7. Oil spill teams keep wary eye on storm in Gulf 8. World Cup: Argentina Beats Mexico 3-1 9. Ghana beat US, reach first World Cup quarter-final 10. World leaders slam North Korea, Iran หากไม่นับรายการในอันดับที่ 7 และ 10 จะเห็นได้ว่าหัวเรื่องของอีเมลขยะอันดับอื่นๆ นั้นล้วนเกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก อันสื่อให้เห็นถึงความพยายามของสแปมเมอร์ในการมองหาวิธีที่จะทำให้ผู้ใช้เปิดอ่านด้วยการตั้งชื่อหัวเรื่องให้น่าดึงดูดใจผ่านประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจในขณะนั้น เว็บเกมปลอมและข้อเสนอเกี่ยวกับฟีฟ่าที่หลอกลวง เว็บไซต์ฟิชชิ่งหลายแห่งถูกสร้างขึ้นเลียนแบบเว็บไซต์เกมออนไลน์ ซึ่งความนิยมของฟุตบอลโลกทำให้ผู้ใช้สนใจที่จะเล่นเกมฟุตบอลออนไลน์มากขึ้น และเว็บฟิชชิ่งเหล่านี้จึงได้ถือโอกาสสร้างเว็บปลอมขึ้นมาพร้อมข้อเสนอเกี่ยวกับฟีฟ่าเวิร์ลด์คัพ 2010 ที่ไม่เป็นความจริง โดยมีเว็บเกมออนไลน์ 2 แห่งหลักๆ ที่โดนปลอมแปลงเลียนแบบหน้าเว็บ มีการสร้างและเก็บเว็บฟิชชิ่งเอาไว้ที่บริการเว็บโฮสติ้งฟรีหลายแห่ง และใช้เป็นช่องทางในการขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า สำหรับเว็บออนไลน์เกมแห่งหนึ่งนั้นความจริงมีเกมออนไลน์ทั้งเวอร์ชันฟรีและเวอร์ชันที่ต้องเสียเงินให้เลือก แต่สำหรับเว็บฟิชชิ่งที่ทำเลียนแบบขึ้นมา กลับมีข้อเสนอแก่ลูกค้าในการแจกเวอร์ชันขายปลีกให้แก่ลูกค้าฟรีในโอกาสเทศกาลฟุตบอลโลก ซึ่งนอกจากจะนำเสนอเกมฟรีที่ไม่เป็นความจริงแล้ว ยังมีการสร้างหน้าเว็บเลียนแบบในส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น การจัดกลุ่มสมาชิก การพูดคุยในห้องสนทนา เป็นต้น โดยเว็บปลอมแปลงดังกล่าวจะมีข้อความระบุว่า หากผู้ใช้ต้องการเล่นเกมฟรี จำเป็นจะต้องล็อกอินเข้าระบบด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านจริงของอีเมลของตนเองเท่านั้น ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้วายร้ายสามารถนำข้อมูลอีเมลและรหัสผ่านดังกล่าวไปขโมยข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ต่อไปได้ สแปมดาวร้ายประจำเดือน ในรายงานฉบับก่อน การโจมตีแบบอาศัยคำศัพท์ในพจนานุกรมเพื่อคาดเดาอีเมลจริงของผู้ใช้ (DHA - dictionary harvest attack) และอีเมลขยะจากรัสเซีย ถูกยกให้เป็นสแปมดาวร้ายประจำเดือน และจากการวิเคราะห์ในเดือนที่ผ่านมา ไซแมนเทคพบว่า ตำแหน่งสแปมดาวร้ายประจำเดือนนี้ ได้แก่ อีเมลขยะประเภทรูปภาพที่มีเนื้อหาโฆษณาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ โดยมีเหตุผลหลักๆ ดังต่อไปนี้: 1. มีการเปลี่ยนชื่อหัวเรื่องอีเมลขยะอย่างต่อเนื่อง และตั้งชื่อได้สอดคล้องกับอีเมลจริง ทำให้การแยกแยะระหว่างอีเมลขยะและอีเมลจริงทำได้ยาก 2. มีการสุ่มเปลี่ยนชื่อหัวเรื่องอีเมลและเนื้อหาภายในให้มีความซับซ้อน 3. มีการใช้ภาพประกอบโฆษณาที่มีการทำงานซับซ้อน ในโอกาสที่อีเมลขยะประเภทนี้ถูกยกให้เป็นสแปมดาวร้ายแห่งเดือน เราจึงได้เตรียมรายละเอียดเกี่ยวกับอีเมลขยะรูปภาพ (ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มการขายยาเถื่อนออนไลน์) พร้อมความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยย่อเอาไว้ให้ ในยุคก่อนหน้านี้ สแปมเมอร์มักส่งอีเมลขยะด้วยเนื้อหาที่เป็นข้อความตัวหนังสือเท่านั้น เพราะการส่งอีเมลขยะที่มีรูปภาพแนบไปด้วยทำให้ต้องใช้แบนด์วิธสูงและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ดีด้วยการถือกำเนิดของเครือข่ายซอมบี้ (เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของแฮกเกอร์โดยไม่รู้ตัว) ทำให้การส่งอีเมลขยะประเภทรูปภาพผ่านช่องทางดังกล่าวกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจขึ้นมาทันที ช่วงแรกสแปมเมอร์ยังไม่ได้มีการพัฒนาเทคนิคที่ซับซ้อนมากนัก จึงเพียงแค่ใส่รูปภาพประกอบเข้าไปในอีเมลขยะ พร้อมด้วยเว็บลิงก์ไปยังหน้าเว็บไซต์ขายยาเถื่อนที่วางไว้ในส่วนเนื้อหาของอีเมล อย่างไรก็ดีตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นมา สแปมเมอร์เริ่มใส่ลายเส้นเข้าไปที่พื้นหลังของภาพที่ใช้ และหลีกเลี่ยงการใส่ลิงก์ในเนื้อหาอีเมล แต่แสดงลิงก์ดังกล่าวในรูปภาพที่แนบไปด้วย ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นำมาใช้เพื่อหลบหลีกการตรวจจับของระบบคัดกรองอีเมลขยะที่มักวิเคราะห์ได้แต่ข้อความตัวหนังสือเท่านั้น อันเป็นเหตุให้อีเมลขยะแบบรูปภาพดังกล่าวตรวจจับได้ยากยิ่งขึ้น ฟิชเชอร์อาศัยโอกาสพิเศษในการสร้างเว็บไซต์ฟิชชิ่ง ช่วงหลายเดือนก่อน ไซแมนเทคได้ตรวจพบเว็บไซต์ฟิชชิ่งที่ปลอมแปลงเป็นเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คของกูเกิล ซึ่งก็คือ Orkut นั่นเอง โดยนอกจากสร้างเว็บไซต์ปลอมขึ้นมาแล้ว ยังมีการเลียนแบบการฉลองโอกาสพิเศษมาใช้ด้วย เพื่อทำให้เว็บไซต์ฟิชชิ่งดังกล่าวดูน่าเชื่อถือและสามารถหลอกขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้สะดวกขึ้น และการเปลี่ยนโลโก้ของเว็บไซต์ตามเทศกาลโอกาสพิเศษต่างๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของกูเกิลนั้น ก็มีส่วนช่วยเว็บไซต์ปลอมเหล่านี้ได้มาก ตัวอย่างเช่น เมื่อกูเกิลฉลองเอิร์ธเดย์ด้วยการใส่ดูเดิลพิเศษสำหรับวันเอิร์ธเดย์ให้แก่เว็บ Orkut เพียงไม่นานหลังจากนั้นบรรดาเว็บไซต์ฟิชชิ่งหลายแห่งก็เอาโลโก้ใหม่ดังกล่าวไปใส่ไว้ในเว็บปลอมของตนเอง ซึ่งรวมไปถึงเทศกาลอื่นๆ ด้วย ทั้งวันแม่ หรือวันฉลองคานิวัลของบราซิล ทั้งนี้โลโก้ที่เปลี่ยนแปลงตามเทศกาลจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้เว็บฟิชชิ่งเหล่านั้น และง่ายต่อการหลอกล่อให้ผู้ใช้ส่งมอบข้อมูลส่วนตัวให้แก่ทางเว็บไซต์ปลอม แม้ผู้ใช้ดังกล่าวอาจจะเคยเอะใจเกี่ยวกับ URL ของเว็บที่ดูแปลกๆ ก็ตาม สำหรับชื่อหัวเรื่องอีเมลขยะในอันดับ 2 ซึ่งก็คือ "Outlook Setup Notification" นั้น ถือเป็นอีเมลขยะที่มาพร้อมกับมัลแวร์ที่แพร่กระจายมากที่สุด และมีอีเมลขยะอยู่ 3 อันดับด้วยกันที่ติดชาร์ตครั้งนี้แม้จะปรากฏตัวอยู่เพียงแค่ 3 หรือ 6 วันในหนึ่งเดือนเท่านั้น โดยอีเมลขยะที่โจมตีผู้ใช้ทั้ง 3 รูปแบบนั้น ได้แอบอ้างว่าส่งมาจากบริษัทชื่อดัง และมีมัลแวร์อันตรายติดมาด้วย เกี่ยวกับ ไซแมนเทค ไซแมนเทค เป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่องค์กร ทั้งในระดับเอ็นเตอร์ไพร์ซและองค์กรส่วนบุคคลในเรื่องการใช้งานข้อมูลร่วมกัน รวมถึงความพร้อมในการเรียกใช้และความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่คิวเปอร์ติโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีศูนย์ปฏิบัติการอยู่กว่า 40 ประเทศ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.symantec.com สำหรับสื่อมวลชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด คุณกณวรรธน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 02-655-6633, 089-990-1911 [email protected] คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ 02-655-6633, 081-911-0931 [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวนพชัย ตั้งไตรธรรม+ไซแมนเทค คอร์ปวันนี้

ภาพข่าว: ไซแมนเทคมอบเสื้อชูชีพ 500 ตัวพร้อม 500 ไลเซ่นส์โซลูชั่นกู้คืนข้อมูล เพื่อผู้ประสบอุทกภัยกับครอบครัวข่าว 3

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด นำโดย นายประมุท ศรีวิเชียร (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดการประจำประเทศไทย นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค (ขวาสุด) และนางสาว ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการฝ่ายขาย-ธุรกิจภาครัฐ (ซ้ายสุด) มอบเสื้อชูชีพจำนวน 500 ตัว เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมและโซลูชั่น Symantec Backup Systems Recovery Server Edition (SSR) จำนวน 500 ไลเซ่นส์ เพื่อดูแลระบบและกู้คืนข้อมูลสำคัญขององค์กรธุรกิจในการสำรองข้อมูลในระบบของตนเองสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://fileconnect

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน จัดงานแถลงข่าว รายงานสถานการณ์ภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตฉบับที่ 16

บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน จำกัดขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนเข้าร่วมงานแถลงข่าวรายงานสถานการณ์ภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตฉบับที่ 16โดย คุณประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย คุณนพชัย ตั้งไตรธรรม...

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เชิญร่วมพูดคุยกับ คุณนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส ที่จะมาเปิดเผยสถานการณ์การคาดการณ์ของไซแมนเทคในช่วงครึ่งปีแรก 2553

บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน ใคร่ขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนร่วมพูดคุยกับ คุณนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส ที่จะมาเปิด...

ไซแมนเทครายงานสถานการณ์อีเมลขยะและฟิชชิ่งประจำเดือนกรกฎาคม 2553

เว็บไซต์ปลอมแย่งซีน โต 25% จากเดือนที่ผ่านมา นักเล่นเกมออนไลน์ และแฟนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ระวังตกเป็นเหยื่อเว็บปลอม รางวัลสแปมดาวร้ายประจำเดือน ได้แก่ สแปมรูปภาพโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ อีเมลขยะพ่วงมัลแวร์หัวข้อ “Outlook Setup Notification” ...

ไซแมนเทครายงานสถานการณ์อีเมลขยะประจำเดือนมิถุนายน 2553 อีเมลขยะพุ่งกว่า 89 เปอร์เซ็นต์ เผยเทคนิคการหลอกลวงใหม่ๆจ้องขโมยข้อมูลเหยื่อ

นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน จำกัด เปิดเผยว่า “ปัญหาอีเมลขยะคิดเป็น 89.81 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณอีเมลทั้งหมดในเดือนพฤษภาคม ...

ไซแมนเทครายงานสถานการณ์อีเมลขยะ เดือนพฤษภาคม 2553

เว็บปลอม พุ่งสูง 33% สแปม“ดอท คว็อด” ไม่น้อยหน้าขยายตัวเกิน 3 เท่า ไซแมนเทคเตือน ระวังเว็บฟาสต์ฟู๊ดปลอมแพร่ระบาด สำรวจความพึงพอใจหวังฮุบเลขบัตรเครดิต นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เปิดเผยว่า “อีเมลขยะประเภท...

ไซแมนเทครายงานสถานการณ์อีเมลขยะประจำเดือนเมษายน 2553 อีเมลขยะเป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้สภาพเศรษฐกิจ เว็บไซต์หางานปลอมเตรียมซ้ำเติมผู้ใช้

นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เปิดเผยว่า “การหลอกลวงและข้อความหลอกลวงต่างๆในเดือนมีนาคมคิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอี...

ไซแมนเทครายงานสถานการณ์อีเมลขยะ เดือนเมษายน 2553 อีเมลขยะเป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้สภาพเศรษฐกิจ เว็บไซต์หางานปลอมเตรียมซ้ำเติมผู้ใช้

นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เปิดเผยว่า “การหลอกลวงและข้อความหลอกลวงต่างๆในเดือนมีนาคมคิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอี...

ไซแมนเทครายงานสถานการณ์อีเมลขยะประจำเดือนมีนาคม 2553 เว็บประมูลสินค้าออนไลน์ เครื่องมือการตลาดยุคใหม่ ตกเป็นเป้าหมายใหม่ของฟิชชิ่ง

นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เปิดเผยว่า “ข้อความหลอกลวงประเภทอีเมลและเว็บปลอมต่างๆ ในเดือนกุมภาพันธ์คิดเป็น 19 เปอร์...

ไซแมนเทครายงานสถานการณ์อีเมลขยะประจำเดือนมกราคม 2553

ต้อนรับปีใหม่ด้วยเทรนด์ดูแลสุขภาพมาแรง กระตุ้นอีเมลขยะประเภทสุขภาพและการขายยาเติบโตเป็นเท่าตัว นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เปิดเผยว่า “รายงานสถานการณ์อีเมลขยะของไซแมนเทคประจำเดือนมกราคมปี 2553 ซึ่ง...