อุตสาหกรรมอาหารไทย บูมรับฟุตบอลโลก 2010

กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--สถาบันอาหาร

“สถาบันอาหาร” ฟันธงฟุตบอลโลก 2010 ช่วยปลุกอุตสาหกรรมอาหารไทยตื่นตัวหลังผู้ประกอบการไทย และผู้บริโภค ต้องเผชิญความเครียดจากปัญหา การเมือง และเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ชี้เป็นโอกาสดีสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของไทย ทั้งการค้าที่เกิดขึ้นภายในประเทศ และตลาดในแอฟริกาใต้ ที่คาดว่า จะสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศไทยมากกว่า 5,000 ล้านบาท ในช่วงการแข่งขัน โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าว ธัญพืช และกลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง เป็นสินค้าดาวเด่น ในการส่งออก รวมไปถึงธุรกิจร้านอาหารไทย นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า “การแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน – 11 กรกฎาคม 2553 ณ ประเทศสาธารณ รัฐแอฟริกาใต้ คาดว่าจะเป็นโอกาสดีสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของไทยทั้งการค้าที่เกิดขึ้นกับตลาดในประเทศสาธารณรัฐ แอฟริกาใต้ และตลาดภายในประเทศของไทย คาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกของไทยและธุรกิจบริการอาหารไทยในแอฟริกาใต้สามารถสร้างรายได้ให้กับ ประเทศไทยมากกว่า 5,000 ล้านบาท ในช่วงงานดังกล่าว เพราะนอกจากเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของชาวแอฟริกาใต้ ซึ่งคาดว่าในปี 2553 มูลค่าการ บริโภคอาหารในแอฟริกาใต้จะสูงถึง 32.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าคาดว่าจะอยู่ที่ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 4.44 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีผู้บริโภคของผู้เข้าแข่งขันจาก 32 ชาติ และนักท่องเที่ยวแฟนบอลจากทั่วโลกที่หลั่งไหลเดินทางเข้ามาในประเทศ แอฟริกาใต้จำนวนมาก เพื่อติดตามเชียร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม ผู้มีฐานะ มีกำลังการใช้จ่ายสูง และเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ” ประมาณการณ์ว่านักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.17 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเฉลี่ยต่อคน ที่ประมาณ 48,277 - 215,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับ ดาวเด่นสินค้าอาหารของไทยที่คาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงงานดังกล่าว จะเป็นกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ข้าวและธัญพืช โดยเฉพาะ “ข้าวนึ่ง” “ข้าวเจ้า” และ “ข้าวหอมมะลิ” รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง โดยเฉพาะ “ปลาซาร์ดีนเนลล่า ปลาบริสลิง หรือปลาสแปรดกระป๋อง” “ปลาทูน่ากระป๋อง” และ “กุ้งขาวแช่เย็นจนแข็ง” เพราะเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารที่ทั้งชาวแอฟริกาใต้และผู้บริโภคจาก ชาติต่างๆ นิยมบริโภค สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารสำเร็จรูปจะเป็นอาหารปรุงแต่งที่ทำจากธัญพืชหรือผลิตภัณฑ์จากธัญพืช และขนมหวานที่ทำจากน้ำตาลเป็น สำคัญ ส่วน “ธุรกิจร้านอาหารไทย” ผู้บริโภคที่จะเข้ามาร่วมงานฟุตบอลโลก 2010 มีหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม ทำให้ พฤติกรรมการบริโภคมีความหลากหลายตามไปด้วย ซึ่งร้านอาหารนานาชาติรวมถึงร้านอาหารไทยสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ของผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเคปทาวน์ และโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งเป็นแหล่งพักอาศัยและแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่ดึงดูดนัก ท่องเที่ยวมากที่สุด ในส่วนของตลาดภายในประเทศ คาดว่าในฟุตบอลโลก 2010 จำนวนคนไทยจะหันมาดูฟุตบอลโลกเพิ่มมากขึ้นกว่าการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 โดยจะมากกว่า 45 ล้านคน และเป็นกลุ่มคนอายุระหว่าง 15-59 ปี โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และกลุ่มคนโสด เนื่องจากฟุตบอลโลกเป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งที่ ช่วยให้คนไทยสามารถผ่อนคลายจากความตึงเครียดต่างๆ ที่รุมเร้านับตั้งแต่ต้นปีได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ โดยในส่วนพฤติกรรมการบริโภค อาหารคาดว่าคนไทยที่ดูการแข่งขันฟุตบอลโลกที่บ้านจะบริโภคอาหารจานด่วน ขนมขบเคี้ยว (เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ถั่วทอด ข้าวเกรียบ ข้าวโพดคั่ว) น้ำ ผลไม้ นม น้ำอัดลม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เครื่องดื่มที่ช่วยไม่ให้ง่วงโดยเฉพาะกาแฟ/ชา และเครื่องดื่มบำรุงกำลังมากขึ้น ส่วน กลุ่มที่ดูการการแข่งขันฟุตบอลโลกนอกบ้านจะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม กาแฟกระป๋องและเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เป็นสำคัญ ส่งผล ให้เป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง และธุรกิจบริการร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 และธุรกิจร้านอาหารจาน ด่วนที่บริการส่งถึงบ้าน รวมถึงธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทยควรพิจารณาปรับกลยุทธ์เชิงรุกรับมือกับกระแสบอลโลก เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เกิดขึ้นโดยอิงกระแส ดังกล่าว และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างลงตัวตามพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลานั้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตอาหารแช่แข็ง ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับช่องทางการจัดจำหน่ายของตนเพื่อกระตุ้นยอดขายโดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ : สุขกมล งามสม 08 9484 9894 สถิติการส่งออกอาหารของไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ปี 2552 จำแนกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ อันดับ กลุ่มผลิตภัณฑ์ ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 1 ข้าวและธัญพืช 765,789.74 14,094.15 2 ผลิตภัณฑ์ประมง 47,143.55 4,020.52 3 ผลิตภัณฑ์จากแป้ง 4,616.25 187.05 4 แป้งและสตาร์ช 15,858.96 169.18 5 ชา กาแฟ โกโก้และผลิตภัณฑ์ 535.35 118.64 6 ผลไม้ 3,017.58 100.92 7 ลูกอม ขนมหวานจากน้ำตาล 1,728.36 70.70 8 เครื่องปรุงรส 959.73 46.39 9 น้ำตาล น้ำผึ้ง 3,108.76 43.12 10 ผัก 1,221.26 41.03 อื่นๆ 2,373.70 98.16 รวม 846,353.24 18,989.86 สถิติการส่งออกอาหารของไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ปี 2552 จำแนกตามสินค้า อันดับ สินค้า ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 1 ข้าวนึ่ง 527,911.40 10,017.63 2 ข้าวเจ้าที่สีมาบ้างหรือสีทั้งหมดที่มิได้ระบุไว้ที่อื่น 195,804.33 3,317.20 3 ปลาซาร์ดีนเนลล่า ปลาบริสลิงหรือปลาสแปรด- 32,517.28 2,513.19 ที่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 4 ปลาทูน่าบรรจุภาชนะฯ 9,826.46 1,015.88 5 ข้าวเจ้าขาวหอมมะลิไทย 100% ชั้น 2 7,726.14 236.83 6 กุ้งขาว แช่เย็นจนแข็ง 1,478.64 233.77 7 ข้าวเจ้าขาวอื่น 100% ชั้น 2 12,562.40 226.17 8 สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง 13,606.10 141.99 9 อาหารปรุงแต่งที่ทำจากธัญพืชหรือผลิตภัณฑ์ธัญพืชที่ทำให้พองฟูคั่วอบหรือปิ้ง 3,880.66 136.76 10 ปลาซาร์ดีน-ที่บรรจุภาชนะฯ 1,864.97 135.95 อื่นๆ 39,174.86 1,014.49 รวม 846,353.24 18,989.86 ที่มา : ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร (2553)

ข่าวอุตสาหกรรมอาหารของไทย+อุตสาหกรรมอาหารไทยวันนี้

เปิดแล้ววันนี้ THAIFEX-World of Food Asia 2016 สุดยอดงานแสดงอุตสาหกรรมอาหารของไทย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมด้วย หอการค้าไทย และโคโลญเมสเซ ประเทศเยอรมนี จัดพิธีเปิดงานTHAIFEX-World of Food Asia 2016 สุดยิ่งใหญ่ สุดยอดงานแสดงอุตสาหกรรมอาหารระดับนานาชาติของไทย พร้อมประกาศความยิ่งใหญ่อุตสาหกรรมอาหารไทย ตอกย้ำความเป็นครัวโลก วันเปิดเจรจาธุรกิจ 25-27 พ.ค. และวันจำหน่ายปลีกสำหรับประชาชนทั่วไป 28-29 พ.ค. 2559 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า "อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมศักยภาพของไทย

พระจอมเกล้าลาดกระบัง ดันวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ปลุกอุตสาหกรรมอาหารไทย ตอบโจทย์ นโยบาย ผู้นำด้านการผลิตอาหารปลอดภัยของโลก

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เร่งผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นครัวของโลก(The Kitchen of The World)และเป็นผู้นำด้านการผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety)ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำ...

ภาพข่าว: สถาบันอาหาร จัดสัมมนายกระดับนักพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยก้าวไกลสู่ระดับสากล

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนา เรื่อง ”การยกระดับนักพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยก้าวไกลสู่ระดับสากล หรือ Food Industries Develop : Training 2013” พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง “...

สถาบันอาหาร จัดสัมมนา “การยกระดับนักพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยก้าวไกลสู่ระดับสากล”

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม จัดสัมมนาเรื่อง “การยกระดับนักพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยก้าวไกลสู่ระดับสากล” หรือ Food Industries Develop Training Fair 2013 ให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่...

สถาบันอาหาร ปรับทัพเร่งผลักดันอุตสาหกรรมอาหารไทย...สู่เป้าหมายส่งออกทะลุ 1 ล้านล้านบาท

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม แจงผลงานในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา หลังปรับโครงสร้าง องค์กรด้วยการทำ Right Sizing จัดตั้งศูนย์พัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และศูนย์บริการห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อ...

ส.อ.ท. จัดพิธีลงนามความร่วมมือและสัมมนาเรื่อง “Thailand Food Valley ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่ตลาดโลก”

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ขอเชิญท่านร่วมทำข่าว ส.อ.ท. ร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีลงนามความร่วมมือและสัมมนาเรื่อง...

เปิดตัวยิ่งใหญ่ 30 ผลิตภัณฑ์ใหม่ พัฒนาอาหารไทย เพิ่มมูลค่าแบบสร้างสรรค์

ผ่านไปแล้วสำหรับงานใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมอาหารไทยกับงาน “อุตสาหกรรมอาหาร ก้าวไกล เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง” จัดโดยสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัว 30 ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการพัฒนาบนแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และมีศักยภาพ...

อุตสาหกรรมอาหารไทย บูมรับฟุตบอลโลก 2010

“สถาบันอาหาร” ฟันธงฟุตบอลโลก 2010 ช่วยปลุกอุตสาหกรรมอาหารไทยตื่นตัวหลังผู้ประกอบการไทย และผู้บริโภค ต้องเผชิญความเครียดจากปัญหา การเมือง และเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ชี้เป็นโอกาสดีสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของไทย ทั้งการค้าที่เกิดขึ้นภายในประเทศ และตลาดในแอฟริกาใต้...

ตอกย้ำไทยครัวของโลก “สถาบันอาหาร” แนะผู้ประกอบการ วิเคราะห์ความเสี่ยงในอาหาร ยกระดับอุตฯ อาหารไทย

สถาบันอาหารแนะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย ยกระดับความปลอดภัยในอาหาร สร้างความเชื่อมั่นในระดับสากล ต่อยอดจากระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้ง GAP, GMP, HACCP ก้าวสู่การวิเคราะห์ความเสี่ยง...