สซ. โชว์ผลงานระดับชาติ ‘ระบบลำเลียงแสงที่ 2.2’ ศึกษาโครงสร้างระดับนาโนเมตร พร้อมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

กรุงเทพฯ--1 มิ.ย.--Mind PR

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โชว์ผลงานระดับชาติ ‘ระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 หรือ BL 2.2 Small Angle X-ray Scattering’ (SAXS) เป็นเทคนิคการกระเจิงรังสีเอกซ์ที่ใช้สำหรับการศึกษาโครงสร้างในระดับนาโนเมตร เช่น โครงสร้างของโพลิเมอร์ เส้นใย หรือวัสดุนาโนต่างๆ โดยอาศัยการวัดความเข้มของรังสีเอกซ์ที่กระเจิงจากสารตัวอย่างที่มุมขนาดเล็กๆ ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ภายในเร็วๆ นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 หรือ BL2.2 : เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อต้นปี 2553 ซึ่งเป็นระบบลำเลียงแสงที่ถูกออกแบบสำหรับเทคนิค Small Angle X-ray Scattering’ (SAXS) โดยเฉพาะ โดยใช้รังสีเอกซ์จากแม่เหล็กสองขั้ว (bending magnet) ในวงกักเก็บอิเล็กตรอนของเครื่องกำเนิดแสงสยาม ที่ส่วนปลายของระบบลำเลียงแสงติดตั้งสถานีทดลองซึ่งสามารถศึกษาสารตัวอย่างทั้งในรูปที่เป็นผง เส้นใย ของแข็ง ของเหลว หรือสารละลายได้ ทั้งนี้ส่วนประกอบสำคัญของระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 (BL2.2) คือ อุปกรณ์คัดเลือกพลังงานของรังสีเอกซ์ที่เรียกว่า Double Multilayer Monochromator (DMM) ซึ่งสามารถคัดเลือกพลังงานรังสีเอกซ์ในช่วง 6-9 keV หรือเท่ากับความยาวคลื่นประมาณ 1.37 – 2.06 อังสตรอม นอกจากนั้นระบบลำเลียงแสงยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่นระบบสลิตสำหรับการปรับรังสีเอกซ์ให้เป็นลำขนาน และระบบกระจกสำหรับโฟกัสรังสีเอกซ์ โดยที่ DMM และอุปกรณ์ส่วนใหญ่ได้ถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้นโดยทีมนักวิจัยและวิศวกรของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนเอง สำหรับสถานีทดลองของระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 (BL2.2) มีระบบจับยึดสารตัวอย่างซึ่งสามารถติดตั้งสารตัวอย่างที่เป็นของแข็ง เช่น โพลิเมอร์หรือเส้นใยได้ และยังสามารถติดตั้งหลอดคาพิลลารีบรรจุสารตัวอย่างที่เป็นผงหรือของเหลวได้ ที่ปลายสถานีทดลองติดตั้งระบบตรวจวัดรังสีเอกซ์แบบ CCD ซึ่งทำให้สามารถได้แผนผังการกระเจิงรังสีเอกซ์ของสารตัวอย่างได้ในขณะวัด โดยที่สถานีทดลองถูกออกแบบให้สามารถศึกษาโครงสร้างที่มีขนาดระหว่าง 1-100 นาโนเมตร นอกจากนั้นทีมนักวิจัยของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนยังได้ทำการพัฒนาโปรแกรมสำหรับการจัดการข้อมูลที่ได้จากการวัดด้วยเทคนิค SAXS เพื่อให้นักวิจัยที่มาใช้บริการที่ระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 (BL2.2) สามารถจัดการข้อมูลได้รวดเร็ว และอยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปแปรผลได้ทันที ปัจจุบัน ระบบลำเลียงแสง SAXS อยู่ระหว่างการทดสอบใช้งานก่อนเปิดให้บริการให้แก่นักวิจัยโดยทั่วไปในเร็วๆ นี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ดร.ศุภกร รักใหม่ ที่อีเมล์ [email protected] งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 252 โทรสาร 0-4421-7404 อีเมล : [email protected]

ข่าวสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน+ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนยวันนี้

ภาพข่าว: บางกอกโซลาร์ ศึกษาดูงานการผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศ ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม

เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร. ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ให้การต้อนรับคณะวิศวกร บริษัท บางกอกโซลาร์ จำกัด ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานการผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศและการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน เพื่อนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมต่อไป ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม จังหวัดนครราชสีมา งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 252 โทรสาร 0-4421-7404 อีเมล : [email protected] งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

สซ. จัดกิจกรรม ‘ค่ายวิทยาศาสตร์แสงสยามครั้งที่ 7’ เปิดรับสมัครนักศึกษาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้ -20 กันยายน 2553

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรม “ค่ายวิทยาศาสตร์แสงสยามครั้งที่ 7” เปิดรับสมัครนักศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรถ่ายทอดเทคโนโลยีซินโครตรอน เพื่อเสริมสร้างความเข้ม...

สซ. เปิดตัว “โครงการอบรมครูสอนฟิสิกส์ไทย ครั้งที่ 1” รับสมัครครูสอนฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ประกาศเปิดตัว “โครงการอบรมครูสอนฟิสิกส์ไทย ครั้งที่ 1” ให้กับครูสอนฟิสิกส์ไทยได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ การบูรณาการความรู้เทคโน...

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จัดการแข่งขันพับจรวดกระดาษพบยุวฑูตวิทยาศาสตร์ ‘ด.ช.หม่อง ทองดี’แชมป์โลกร่อนเครื่องบินกระดาษ

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มอบใบประกาศนียบัตร และรางวัลการแข่งขันพับจรวดกระดาษให้กับเด็กๆ โรงเรียนประถมเขต ตำบลในเมือง...

ภาพข่าว: สซ. รณรงค์ภาวะโลกร้อน ร่วมโครงการ “ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ”

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการ และคณะบุคลากร ร่วมโครงการ “ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติสม...

สซ. ลงนามกับห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอน ประเทศจีน มุ่งพัฒนางานวิจัยด้านเรื่องข้าวและยางพารา

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย จับมือห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอน ของ สถาบันฟิสิกส์ประยุกต์แห่งนครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Institute of Applied Physics: SINAP)...

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จัดกิจกรรมโอเพ่นเฮ้าส์ พบยุวฑูตวิทยาศาสตร์ ‘ด.ช.หม่อง ทองดี’แชมป์โลกร่อนเครื่องบินกระดาษ

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จัดกิจกรรมโอเพ่นเฮ้าส์ในงาน ‘20 ปี สุรนารีนิทรรศน์’ เปิดบ้าน ให้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแสงสยาม และสัมผัสกระบวนการผลิตแสงซินโครตรอน พร้อมพบยุวฑูตวิทยาศาสตร์ ‘ด.ช....

สซ. ถ่ายทอดเทคโนโลยีซินโครตรอนให้นักศึกษาทุนเซิร์น-เดซี่-ลินเดาห์ ติวเข้มก่อนเดินทางไปต่างประเทศในฐานะตัวแทนประเทศไทย

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย (ยืนกลาง) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาและครู ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย...

สซ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนในระดับอาเซียน “The 1st ASEAN Workshop on X-ray Absorption Spectroscopy at SLRI”

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนให้เป็นที่รู้จัก ประกาศจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “The 1st ASEAN Workshop on X-ray Absorption Spectroscopy at SLRI” ...

สซ. โชว์ผลงานระดับชาติ ‘ระบบลำเลียงแสงที่ 2.2’ ศึกษาโครงสร้างระดับนาโนเมตร พร้อมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โชว์ผลงานระดับชาติ ‘ระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 หรือ BL 2.2 Small Angle X-ray Scattering’ (SAXS) เป็นเทคนิคการกระเจิงรังสีเอกซ์ที่ใช้สำหรับการศึกษาโครงสร้างในระดับนาโนเมตร เช่น ...