ปภ. แนะวิธีโดยสารเรือที่ถูกต้อง...ลดความเสี่ยงอุบัติภัยทางน้ำ

กรุงเทพฯ--2 มิ.ย.--ปภ.

การจราจรบนถนนที่คับคั่งในปัจจุบัน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งหันมาใช้เส้นทางการจราจรทางน้ำกันมากขึ้น ซึ่งการโดยสารเรือมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับอันตรายจากอุบัติภัยทางน้ำ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอแนะวิธีป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ และการโดยสารเรือที่ถูกต้องและปลอดภัย ดังนี้ ผู้ประกอบการโป๊ะเทียบเรือ ติดตั้งป้ายระบุจำนวนคนที่สามารถรองรับน้ำหนักได้บริเวณโป๊ะเทียบเรือ จัดวางพวงชูชีพที่พร้อมใช้งานตามมุมต่างๆของโป๊ะอย่างน้อย ๔ พวง ติดตั้งไฟส่องสว่างให้เพียงพอตลอดบริเวณโป๊ะ และทางขึ้นลงโป๊ะ รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่ควบคุมมิให้ประชาชนลงไปยืนบนโป๊ะเทียบเรือเกินกว่าจำนวนที่กำหนด เจ้าของเรือ ตรวจสอบเรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จัดเตรียมอุปกรณ์นิรภัยไว้ประจำเรือ เช่น เสื้อชูชีพ เครื่องดับเพลิง ติดตั้งป้ายระบุจำนวนผู้โดยสารบนเรือโดยสารในมุมที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ไม่บรรทุกผู้โดยสารหรือสิ่งของเกินกว่าน้ำหนักที่กำหนด ในขณะที่เรือแล่นสวนทางกันหรือแซงกันในระยะใกล้ให้ลดความเร็วลง เพื่อป้องกันอันตรายจากคลื่นน้ำของเรือ ตลอดจนควบคุมผู้โดยสารมิให้นั่งหรือยืนบริเวณหัวเรือ กราบเรือ และหลังคาเรือ รวมถึงกระทำกิจกรรมใดๆ ภายในเรือ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เรือล่ม ที่สำคัญ ห้ามดื่มสุราหรือเสพของมึนเมาเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ขาดสติจนไม่สามารถควบคุมเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชน หากว่ายน้ำไม่เป็นให้หลีกเลี่ยงการนั่งเรือเพียงลำพัง ควรให้มีเพื่อนร่วมเดินทางด้วย ถ้าต้องการเดินทางคนเดียว ให้บอกผู้ควบคุมเรือทราบ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ การโดยสารเรือที่ถูกต้องปลอดภัย ควรปฏิบัติ ดังนี้ การยืนรอเรือ ไม่รอเรือบนโป๊ะหรือยืนชิดขอบโป๊ะมากเกินไป ให้ยืนรอภายในเขตเส้นที่กำหนด เพราะขณะที่เรือจอดเทียบท่า คลื่นอาจซัดทำให้ท่าเรือโคลงเคลง จนผู้ที่ยืนบนโป๊ะเสียการทรงตัวและพลัดตกน้ำ การขึ้น – ลงเรือ รอให้เรือจอดเทียบท่าก่อนจะขึ้น - ลงจากเรืออย่างเป็นระเบียบ ไม่แย่งกันขึ้น – ลงเรือ อาจทำให้เรือโคลงเคลง หากมีผู้โดยสารมากไม่ควรลงเรือไปเสริม เพราะเรือที่บรรทุกเกินอัตราเสี่ยงต่อการล่มได้ง่าย การโดยสารทางเรือ นั่งเรือให้เป็นที่และหาที่ยึดเกาะให้มั่นคง ไม่หยอกล้อเล่นกันหรือเดินไป – มา ในขณะที่เรือกำลังแล่น เพราะอาจทำให้เรือเสียการทรงตัว หลีกเลี่ยงการยืนบริเวณท้ายเรือ หรือกราบเรือ เพราะเสี่ยงต่อการพลัดตกน้ำ ให้กระจายการนั่งบนเรืออย่างสมดุล และคำนึงถึงการทรงตัวของเรือเป็นหลัก หากเรือมีอาการเอียงหรือไหว ให้นั่งนิ่งๆ อย่าตื่นตระหนก พยายามฝืนอาการเอียงของเรือ เมื่อเรือจอดเทียบท่า ให้ทยอยกันขึ้นจากเรืออย่างเป็นระเบียบ ส่วนผู้โดยสารที่ยังอยู่ในเรือให้ขยับที่นั่งใหม่ เพื่อให้เรือทรงตัวในลักษณะสมดุลที่สุด กรณีพลัดตกเรือ ควบคุมสติให้มั่น พยุงตัวให้ลอยน้ำโดยใช้ขาทั้งสองข้างตีน้ำ หรือหาที่ยึดเกาะเพื่อรอการช่วยเหลือ อย่าว่ายน้ำเข้าหาฝั่งเอง เพราะอาจหมดแรงหรือเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิตได้ หากเรือโดยสารล่ม อย่าตื่นตระหนก ตั้งสติให้มั่น พยายามว่ายน้ำผละออกจากเรือโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันถูกดูดเข้าไปใต้ท้องเรือและถูกใบพัดเรือตีจนได้รับบาดเจ็บ และพยุงตัวลอยน้ำไว้ ถอดสิ่งของที่ถ่วงน้ำหนักออกให้หมด รวมทั้งคว้าสิ่งของที่ช่วยให้ลอยน้ำได้ เช่น ยางรถยนต์ ถังน้ำ เพื่อรอการช่วยเหลือ แม้การจราจรทางน้ำจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ แต่หากประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการโดยสารเรือ เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องและปลอดภัยในการโดยสารเรือ รวมถึงวิธีปฏิบัติตนหากเรือประสบอุบัติเหตุหรือตกน้ำ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยทางน้ำ และทำให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างปลอดภัยหากเกิดเหตุฉุกเฉินทางน้ำ

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+อุบัติภัยทางน้ำวันนี้

ปภ. ผนึกกำลังทุกภาคส่วนป้องกันอุบัติภัย - สร้างความปลอดภัยช่วงเทศกาลตรุษจีน

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บูรณาการจังหวัดกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการป้องกันอุบัติภัยช่วงเทศกาลตรุษจีนอย่างเข้มข้นและสอดคล้องกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข เน้นคุมเข้มการป้องกันอัคคีภัย การป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน รวมถึงเฝ้าระวังพื้นที่จัดงานและสถานที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย อีกทั้งจัดชุดเคลื่อนที่เร็วและอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว

ปภ.ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต และสภาวัฒนธรรมไทย – จีนฯ มูลนิธิพีชแลนด์ เตรียมพร้อมรับมืออุบัติภัยทางน้ำช่วงตรุษจีน

วันนี้ (23 ม.ค.63) เวลา 10.30 น. ที่ท่าเรืออ่าวฉลอง จังหวัดภูเก็ต นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เป็นประธานเปิดโครงการความร่วมมือสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว...

ปภ.บูรณาการทุกภาคส่วนเตรียมพร้อมรับมือ - การป้องกันอุบัติภัยในช่วงเทศกาลตรุษจีน

เทศกาลตรุษจีนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย ทั้งอัคคีภัย อุบัติภัยทางน้ำ และอุบัติเหตุทางถนน สร้างความสูญเสียต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน รัฐบาลห่วงใยความปลอดภัยของประชาชน จึงได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกัน...

ปภ.บูรณาการทุกภาคส่วนเตรียมพร้อมรับมือ - ป้องกันอุบัติภัยในช่วงเทศกาลตรุษจีน

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บูรณาการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการป้องกันอุบัติภัยช่วงเทศกาลตรุษจีนอย่างเข้มข้น ทั้งการป้องกันอัคคีภัย การป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ และการป้องกันอุบัติ...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...