สศช. ได้รายงานความเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วงไตรมาสสาม ปี 2552 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2552

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--สศช.

นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช. และนางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการ สศช. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ ๆ สรุปได้ดังนี้ สรุปภาวะสังคมไทยในไตรมาส 3/2552 การจ้างงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 1.4 จำนวนผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานลดลงเป็นลำดับ และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนว่าคุณภาพชีวิตประชาชนมีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สำคัญ ได้แก่ (1) ผู้ประกอบอาชีพอิสระมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคการค้า และบริการ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ และรูปแบบการทำงานที่ต้องการความเป็นอิสระและยืดหยุ่น จึงควรมีการเตรียมมาตรการในเรื่องการคุ้มครองแรงงานและหลักประกันทางสังคมรวมทั้งแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระ และ (2) แรงงานโดยเฉลี่ยมีระดับการศึกษาดีขึ้น แต่การยกระดับคุณภาพและสมรรถนะในการประกอบอาชีพยังมีความจำเป็นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีหรือโครงสร้างการผลิต ซึ่งจะช่วยให้ผลิตภาพแรงงานสูงขึ้น ปัญหาสุขภาพจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ยังเป็นประเด็นเฝ้าระวังที่สำคัญ โดยเฉพาะการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ทำให้มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่โดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 8.6 เท่า ซึ่งยังต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษอย่างใกล้ชิดในช่วงปลายปี รวมทั้งโรคไข้หวัดนก และปอดอักเสบ การสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีทิศทางลดลง แต่พบว่าบุหรี่มวนเองและยาสูบไร้ควันที่ใช้จุกปากกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น จำเป็นต้องมีมาตรการการควบคุมการจำหน่ายและการบริโภคอย่างเร่งด่วน รวมทั้งพิจารณาปรับอัตราภาษีเพื่อปิดช่องโหว่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินยังเป็นปัญหาของสังคม คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสองร้อยละ 12.7 คดีชีวิต ร่างกาย และเพศ ที่เป็นคดีอุกฉกรรจ์มีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมอื่น ทั้งในธุรกิจค้ายาและการก่ออาชญากรรมของผู้เสพ การคุ้มครองผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้นหลังกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ 2 ฉบับมีผลบังคับใช้ในปี 2551 พ.ร.บ. ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย ทำให้ผู้ประกอบการมีความระมัดระวังต่อการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น และ พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคช่วยให้ผู้บริโภคฟ้องร้องได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น และผลการดำเนินงานของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในปีนี้มีการร้องเรียนเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ค่อนข้างมาก มีการแจ้งให้ผู้ประกอบการแก้ไขและไกล่เกลี่ยได้ประมาณร้อยละ 41 ของเรื่องที่ร้องเรียน ผู้บริโภคจึงต้องมีความระมัดระวังในการเลือกใช้บริการและเข้าใจเรื่องสิทธิของตนเอง หนี้สินภาคครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีครัวเรือนร้อยละ 61.8 ที่มีหนี้สิน มูลค่าหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เป็นหนี้อยู่ที่ 215,684 บาท เพิ่มขึ้นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8.5 ต่อปี และประเด็นสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังคือเรื่องหนี้นอกระบบ เพราะผู้กู้มีความเสี่ยงต่อภาระการจ่ายชำระหนี้ที่สูงและการเอาเปรียบจากเจ้าหนี้ โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่และภาวะการเงินตึงตัวมากขึ้น ทำให้ประชาชนบางกลุ่มต้องหันไปพึ่งพาเงินด่วนและแหล่งเงินนอกระบบเพิ่มขึ้น เรื่องเด่นประจำฉบับ “เงินด่วน : ที่พึ่งหรือหลุมพรางของคนร้อนเงิน” สินเชื่อเงินด่วนมีการให้บริการแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เงินด่วนในระบบประกอบด้วยการให้สินเชื่อในรูปบัตรเงินสด สินเชื่อเช่าซื้อหรือเงินผ่อน เงินด่วนนอกระบบมีรูปแบบหลากหลาย แบ่งเป็น เงินกู้นอกระบบทั่วไป และเงินกู้ที่อาศัยเครื่องมือทางเงินในระบบ เช่น การอาศัยบัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าและให้เงินสดผ่านการอนุมัติสินเชื่อเงินผ่อน ผลสำรวจหนี้ผู้เป็นหนี้เงินด่วนจากผู้ประกอบการที่มิใช่ธนาคารและเงินด่วนนอกระบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีหนี้สินมีสัดส่วนร้อยละ 53.8 แบ่งเป็น หนี้เงินด่วนร้อยละ 33.5 หนี้อื่น ๆ ร้อยละ 20.3 พ่อค้าแม่ค้ามีสัดส่วนเป็นหนี้เงินด่วนมากที่สุด ทั้งนี้ ร้อยละ 82.2 ของการใช้บริการเงินด่วนเป็นการกู้นอกระบบ โดยกลุ่มเกษตรกรมีสัดส่วนมากที่สุด และผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนเป็นหนี้เงินด่วนนอกระบบสูงกว่าผู้มีรายได้สูง สาเหตุที่กู้เพราะได้เงินง่ายสะดวกรวดเร็ว ร้อยละ 67.4 เคยกู้เงินจากแหล่งอื่นส่วนใหญ่เป็นโรงรับจำนำ และร้อยละ 13.5 มีการขอกู้จากสถาบันการเงินก่อนกู้เงินด่วนแต่ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการอนุมัติ วัตถุประสงค์ของการกู้ได้แก่ เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อการศึกษา ลงทุน/เป็นทุนหมุนเวียนและชำระหนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือการกู้เพื่อผ่อนค่างวด/ชำระหนี้ และกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่กู้เพื่อใช้หนี้พนันและเที่ยวกลางคืน ผู้กู้เงินด่วนมีหนี้เฉลี่ย 35,090 บาทต่อคน ส่วนใหญ่สามารถชำระได้ตามเงื่อนไขแต่มีถึงร้อยละ 25.8 ที่ใช้วิธีกู้จากแหล่งอื่นมาชำระซึ่งเป็นการหมุนหนี้ที่ก่อหนี้เป็นลูกโซ่ไม่สิ้นสุด เงินด่วนสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงทีและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ แต่การกู้ยืมได้ง่ายสร้างแรงจูงใจให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และมีผลกระทบด้านลบ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากภาระดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ปัญหาจากการติดตามทวงหนี้ทั้งในด้านความเครียด สวัสดิภาพในการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข ครอบครัวแตกแยก รวมทั้งการถูกโกงจากเจ้าหนี้ ผู้ที่แก้ไขปัญหาหนี้สินไม่ได้บางรายหาทางออกด้วยการก่ออาชญากรรมก่อให้เกิดปัญหาสังคม มาตรการภาครัฐที่ผ่านมามีการดำเนินงานสำคัญคือขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น สินเชื่อธนาคารประชาชน กองทุนหมู่บ้านฯลฯ ปรับโครงสร้างหนี้ภาคครัวเรือน ส่งเสริมการออม ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือลูกหนี้ มาตรการที่จะเริ่มดำเนินการในระยะต่อไป คือ เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนให้กับกองทุนหมู่บ้านแห่งละ 2-6 แสนบาท คาดว่าจะทำให้มีผู้เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น 9 แสนราย ปรับโครงสร้างหนี้โดยแปลงหนี้นอกระบบเป็นหนี้สถาบันการเงินของรัฐและมีแนวคิดจัดระเบียบธุรกิจเงินกู้นอกระบบ แนวทางในการลดปัญหาหนี้เงินด่วน ผู้กู้เงินต้องสร้างค่านิยมของการไม่เป็นหนี้โดยกำหนดแผนใช้จ่ายอย่างรอบคอบ หารายได้เพิ่มและเพิ่มการออมเพื่อให้มีหลักประกันเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ภาครัฐควรสนับสนุนแหล่งเงินให้ประชาชนเข้าถึงอย่างทั่วถึง สนับสนุนองค์กรการเงินชุมชน และจัดระเบียบเงินกู้นอกระบบ รวมทั้งประชาสัมพันธ์หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและข้อกฎหมายเพื่อป้องกันการเอาเปรียบลูกหนี้ อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่มีความยั่งยืนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้นการสร้างฐานรายได้ที่มั่นคงของประชาชน การส่งเสริมการออม และการปลูกฝังการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีการใช้จ่ายอย่างพอประมาณตามความจำเป็นอย่างสมเหตุสมผล

ข่าวอำพน กิตติอำพน+สุวรรณี คำมั่นวันนี้

สศช. ได้รายงานความเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วงไตรมาสสาม ปี 2552 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2552

นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช. และนางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการ สศช. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ ๆ สรุปได้ดังนี้ สรุปภาวะสังคมไทยในไตรมาส 3/2552 การจ้างงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 1.4 จำนวนผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานลดลงเป็นลำดับ และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนว่าคุณภาพชีวิตประชาชนมีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สำคัญ

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 สมเด็จพระเจ้า... โปรดเกล้าฯ ผู้แทนพระองค์ เปิดงานวันเยาวชน ประจำปี 2563 — เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายอำพน กิตต...

ผลการประชุมคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

วันนี้ (วันที่ 21กุมภาพันธ์ 2557) ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ โดยมีนายอำพน กิตติอำพน ประธานกรรมการบริษัทฯ เป็นประธานการประชุม มีวาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. เรื่อง ผลการดำเนินงานด้านการขนส่ง ประจำ...

ผลการประชุมคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

วันนี้ (วันที่ 24มกราคม 2557)ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ โดยมีนายอำพน กิตติอำพน ประธานกรรมการบริษัทฯ เป็นประธานการประชุม มีวาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. เรื่อง ผลการดำเนินงานด้านการขนส่ง ประจำ...

ผลการประชุมคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ โดยมีนายอำพน กิตติอำพน ประธานกรรมการบริษัทฯ เป็นประธาน การประชุม มีวาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้ เรื่อง ผลการดำเนินงานด้านการขนส่ง ประจำเดือนพฤศจิกายน 2556 คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบผลการดำ...

ภาพข่าว: นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เข้าพบหารือกับประธานกรรมการ และฝ่ายบริหารการบินไทย

ดร.อำพน กิตติอำพน (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มอบของที่ระลึกให้แก่ ฯพณฯ จอห์น คีย์ (ที่ 3 จากซ้าย)นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ในโอกาสที่เดินทาง มาประชุม ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น...

ผลการประชุมคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

วันนี้ (วันที่18 ตุลาคม 2556) ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ โดยมีนายอำพน กิตติอำพน ประธานกรรมการบริษัทฯ เป็นประธานการประชุม มีวาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. เรื่อง ผลการดำเนินงานด้านการขนส่ง ประจำ...