เปิดมุมมองวิทยาศาสตร์ด้วย “หนังวิทยาศาสตร์” ประสบการณ์จากโรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง

กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--สสวท.

โรงเรียนในต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นระดับประถม หรือมัธยม มีหลายวิชา ที่เวลาคุณครูสอนในห้องเรียน แล้วมักจะเป็นยาขมกับเด็กๆ เสมอ “วิทยาศาสตร์” คือวิชาที่อยู่ในอันดับต้นๆวิชาหนึ่ง เด็กๆจำนวนมากขยาดกลัววิชานี้ด้วยความคิด ความเชื่อ ที่ฝังหัวมาแต่เดิมว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ยากที่จะทำความเข้าใจ ทั้งๆที่บางคนแทบไม่ได้เรียนรู้อย่างจริงๆจังๆ การสร้างทัศนคติที่ดีในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กรู้สึกสนุก สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เป็นภาระที่ครูสอนวิชาต้องเร่งพัฒนา ดังนั้นเมื่อสถาบันเกอเธ่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สถานทูตฝรั่งเศส และหน่วยงานร่วมจัดต่างๆ ผนึกกำลังกันจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 ( Science Film Festival ) โดย สสวท.รับหน้าที่หลักในการจัดฉายภาพยนตร์ให้เยาวชนในต่างจังหวัดได้เรียนรู้คู่ความบันเทิงโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเข้ามาชมในกรุงเทพฯ งานนี้สสวท.จึงได้ร่วมกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยบางแห่งในภูมิภาค เป็นศูนย์ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์สัญจร รวม 29 แห่งในภูมิภาค ซึ่งโรงเรียนห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง จึงเข้าร่วมเป็นหนึ่งใน 29 ศูนย์ภาพยนตร์สัญจร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และร่วมขจัดทัศนคติเก่าๆ ที่ว่า... “วิทยาศาสตร์เป็นยาขมหม้อใหญ่” อาจารย์สมพร ทองศักดิ์ เล่าว่า หลังจากฉายมา 3 วัน ปรากฎว่าได้รับผลตอบรับจากโรงเรียนต่างๆที่เข้ามาชมเป็นอย่างดี รวมทั้งนักเรียนของโรงเรียนห้วยยอดด้วย “เด็กๆ มาดูเต็มห้องทุกครั้งที่คุณครูแต่ละโรงเรียนจองที่นั่งเข้ามา ส่วนโรงเรียนเด็กห้วยยอดเอง ซึ่งจัดให้ดูเป็นรอบๆ พร้อมกับฉายผ่านระบบเคเบิ้ลไปยังห้องโสตอีก 3 ห้อง เพื่อให้นักเรียนสามารถดูกันได้ทั่วถึง แต่ละรอบก็มีนักเรียนดูกันแน่นประมาณ 400 คน” อาจารย์สมพร เล่าด้วยความภาคภูมิใจ “สำหรับเรื่องที่เลือกมาฉายนั้นแม้เนื้อหาภาพยนตร์จะไม่ตรงกับเนื้อหาสาระในวิชาวิทยาศาสตร์ ที่สอนอยู่ในโรงเรียนเสียทีเดียว แต่คุณครูวิทยาศาสตร์ก็เข้าใจดีว่า นี่คือภาพยนตร์ ไม่ใช่แบบเรียน เพราะฉะนั้น แค่นวัตกรรมการเรียนรู้ตัวนี้ก็สามารถดึงดูดความสนใจ กระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการ เกิดความกระหายใคร่รู้ ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ซึ่งจุดนี้ เมื่อใช้วิธีการประเมินจากกิจกรรมหลังภาพยนตร์แต่ละเรื่องจบ พบว่าหนังที่ฉายสร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้ให้เด็กๆ ได้มาก จะมีหนังอยู่ส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ดึงดูดเด็กๆนัก ซึ่งสามารถแก้ได้โดยนำเด็กหรือผู้ที่มีช่วงวัยไล่เลี่ยกันเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือกหนังด้วย” ไม่เพียงแนวโน้มความสนใจชมของนักเรียนในภูมิภาคจะเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่คัดเลือกมาฉายในเทศกาลนี้ยังสร้างความสนุกสนานในการเรียนรู้ในเยาวชนด้วย จึงอยากให้สสวท.เพิ่มศูนย์ฉายในปีหน้า ภาพยนตร์เป็นสื่อที่ประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียงซึ่งมีอิทธิพลต่อเด็กๆมาก ถ้านักเรียนมีโอกาสเข้าถึง สื่อเหล่านี้ก็จะสร้างจินตนาการ และกระตุ้นให้เด็กคิดเชิงบวกต่อกาเรียนรู้วิทยาศาสตร์ยิ่งขึ้น เด็กหญิงภัทราภรณ์ พูดเพราะ หรือ น้องเฟิร์น เล่าว่าประทับใจฐานกิจกรรมที่พี่ๆ นักวิชาการ สสวท. นำมาจัดให้เด็กนักเรียนได้ร่วมสนุก ได้เรียนรู้พร้อมๆ กับฉายภาพยนตร์ด้วยเพราะสนุกและได้ความรู้ “กิจกรรมแต่ละฐานช่วยให้หนูและเพื่อนๆ ได้คิดและเข้าใจวิทยาศาสตร์มากขึ้นค่ะ น่าเสียดายที่แต่ละฐานจะมีพื้นที่น้อยไปหน่อย ทำให้นักเรียนต้องแย่งกันเล่น” น้องเฟิร์นกล่าวต่อไปว่ารู้สึกขอบคุณ สสวท. ที่จัดกิจกรรมแบบนี้ เพราะทำให้พวกหนูสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างไม่รู้สึกเบื่อ ถ้าปีหน้ามีจัดอีก หนูอยากให้เพิ่มการฉายไปตามโรงเรียนด้อยโอกาสต่างๆให้มากยิ่งขึ้น นางสาววัลลภา เบญจกุล หรือน้องบิว สะท้อนแนวคิดว่าสนุกและไม่น่าเบื่อ บางเรื่องก็เป็นหนังการ์ตูน มีมุขตลกแทรกให้ความรู้ ดูแล้วทำให้เข้าใจ บางเรื่องที่ไม่เคยรู้มก่อนเช่นเรื่องโลมาและไดโนเสาร์ ก็ได้เข้าใจในลักษณะและวิถีชีวิตของสัตว์เหล่านี้มากขึ้น หนูชอบทั้งสองเรื่องนี้มากค่ะ ด้านฮิโรชิ นากาฮารา หรือน้อง “ชิ” หนุ่มน้อยลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น เพื่อนของน้องบิว เล่าว่าชอบเรื่องหุ่นยนต์มากที่สุดเพราะส่วนตัวเป็นคนชอบหุ่นยนต์ พอได้ดูเรื่องนี้ทำให้เข้าใจกลไกของมันมากขึ้น แถมหนังก็ไม่ยาวเกินไปนักแต่สามารถอธิบายรายละเอียดของกลไกต่างๆ ได้ดี ก็ยิ่งทำใหเสนใจหุ่นยนต์มากขึ้นครับ เช่นเดียวกับนางสาวสุทธิรัตน์ ดำเดิม หรือ “น้องเจน” ที่เมื่อดูหนังแล้วก็รู้สึกสนุกและสามารถเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ไม่เคยรู้มากยิ่งขึ้น “ชอบหนังที่อธิบายเกี่ยวกับรังสีคอสมิก และเรื่องยานอพอลโล่ 11 ค่ะ เรื่องยานอวกาศสนุกมาก ทำให้รู้ว่าบนนั้นแล้วเขาใช้ชีวิตกันอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งเมื่อก่อนหนูเคยจินตนาการไม่ออก แต่หลังจากดูหนังแล้วทำให้รู้ว่าทุกสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราล้วนเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเกิดเมฆ ฝน หรืออื่นๆ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา” น้องเจนกล่าวทิ้งท้าย. ผู้เขียน: นายโสพล อักษรเนียม สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโรงเรียนห้วยยอด+สถาบันเกอเธ่วันนี้

เปิดมุมมองวิทยาศาสตร์ด้วย “หนังวิทยาศาสตร์” ประสบการณ์จากโรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง

โรงเรียนในต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นระดับประถม หรือมัธยม มีหลายวิชา ที่เวลาคุณครูสอนในห้องเรียน แล้วมักจะเป็นยาขมกับเด็กๆ เสมอ “วิทยาศาสตร์” คือวิชาที่อยู่ในอันดับต้นๆวิชาหนึ่ง เด็กๆจำนวนมากขยาดกลัววิชานี้ด้วยความคิด ความเชื่อ ที่ฝังหัวมาแต่เดิมว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ยากที่จะทำความเข้าใจ ทั้งๆที่บางคนแทบไม่ได้เรียนรู้อย่างจริงๆจังๆ การสร้างทัศนคติที่ดีในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กรู้สึกสนุก สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เป็นภาระที่ครูสอนวิชาต้องเร่งพัฒนา ดังนั้นเมื่อสถาบันเกอเธ่

สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือ... เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20 เริ่มแล้ว — สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือข่ายพาชมฟรีหนังวิทย์ชั้นดีนานาชาติ หัวข้อ "การป...

9 10 ธันวาคม 2023, 12:00 22:00 สถาบันเกอเ... ตลาดคริสต์มาส 2023 ต้อนรับหน้าเทศกาลใจกลางกรุงเทพฯ — 9 10 ธันวาคม 2023, 12:00 22:00 สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย, สาทร ซอย 1 เมื่อพูดถึงเดือนธันวาคมก็คงหนีไม่...

RCB Film Club โดย ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ร... ต้อนรับช่วงเทศกาลฮาโลวีนไปกับการฉายภาพยนตร์ Nosferatu - Phantom of the Night — RCB Film Club โดย ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ร่วมกับ สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ สถาบั...

สถาบันเกอเธ่ ร่วมกับ สถาบันดนตรีกัลยาณิวั... สถาบันเกอเธ่ร่วมกับสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาร่วมเสวนาและแสดงดนตรี "ศิลปบรรเลงเพลงสยาม" — สถาบันเกอเธ่ ร่วมกับ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา นำเสนอการบรรยายเสวนาแล...

โครงการ “อดีตทีมชาติไทยสอนน้องเล่นฟุตบอล”

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ร่วมกับอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย และสต๊าฟโค้ชทีมเยาวชนไทย จัดโครงการกีฬาต้านยาเสพติด "อดีตทีมชาติไทยสอนน้องเล่นฟุตบอล" ระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม 2558 ณ สนามกีฬาฟุตบอลโรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) อำเภอห้วยยอด...

ภาพข่าว: รำถวายพระพรในหลวงที่ศิริราช

คณะนักเรียนจากโรงเรียนห้วยยอด โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย และโรงเรียนแม่พริก รำถวายพระพรในหลวง ณ ศาลาร้อยปี โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างมาร่วมงาน ตลาดนัดความรู้ “เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง ครั้งที่ ๒” ภายใต้หัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียง : จากปรัชญาสู่หลักคิดและวิถีปฏิบัติ”...

ภาพข่าว : ผลิตสื่อการสอนวิทยาศาสตร์จากวัสดุหาง่าย ครูใต้ทำได้เอง

ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังฝึกทำสื่อการสอนจากวัสดุที่สามารถหาได้ง่ายและใกล้ตัว เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนเรื่องแสง ในวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ...

“หนังลุง” พอเพียง รร.ห้วยยอดศิลปะฯ พื้นบ้าน ที่เบิกบาน ในวิชา “ภาษาอังกฤษ”

จะดีแค่ไหนเมื่อ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงทฤษฏีที่ปฏิบัติยากอีกต่อไป โดยเฉพาะในภาคการศึกษา ที่วันนี้ทั้งครูสามารถบูรณาการเข้าไปเนียนอยู่กับการเรียนการสอน และนักเรียนเองก็ซึมซับเข้าไปในหัวจิตหัวใจ...