การไฟฟ้า 3 แห่ง เปิดให้ SPP และ VSPP ประเภทพลังงานหมุนเวียน ยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าใหม่

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--กระทรวงพลังงาน

ภาครัฐเพิ่มมาตรการจูงใจ SPP และ VSPP กระตุ้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี โดยการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ออกประกาศเปิดให้ SPP และ VSPP รายใหม่ และรายเดิมที่ยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือยังไม่มีสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้า สามารถยื่นข้อเสนอขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าใหม่แล้ว รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน แจ้งว่า ตามที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เคยเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ไปแล้วเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 โดยแนวทางสำคัญในการส่งเสริมคือการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า หรือ Adder สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะโครงการขนาดเล็กมากๆ ที่อยู่ในชุมชน หรือแหล่งอนุรักษ์ป่าและต้นน้ำ และให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยกร่างประกาศการให้ Adder เพื่อให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ออกประกาศการกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ตามประเภทระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ 2 ระเบียบ คือ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) นั้น การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ออกประกาศเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้กับ SPP และ VSPP รายใหม่ และรายเดิมที่ยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือยังไม่มีสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้า ทั้งนี้ ผู้สนใจที่เข้าข่ายคุณสมบัติดังกล่าว สามารถยื่นข้อเสนอดังกล่าวได้แล้วที่การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง สำหรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าที่ให้การส่งเสริมจะแยกตามประเภทเทคโนโลยีและเชื้อเพลิง โดยมีระยะเวลาการสนับสนุน 7 ปี ยกเว้นพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ มีระยะเวลาการสนับสนุน 10 ปี 1. ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ กำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ ( ? )1 MW รับส่วนเพิ่ม 0.50 บาท/kWh หากมี กำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า ( > ) 1 MW รับส่วนเพิ่ม 0.30 บาท/kWh 2. ขยะ แหล่งที่มาของขยะจะเป็นขยะชุมชน หรือขยะอุตสาหกรรมก็ได้ แต่ถ้าเป็นขยะอุตสาหกรรมต้องไม่ใช่ขยะอันตรายหรือขยะที่เป็นอินทรียวัตถุ โดยให้ Adder แตกต่างตามประเภทเทคโนโลยี คือ ระบบหมักหรือหลุมฝังกลบขยะ รับส่วนเพิ่ม 2.50 บาท/kWh พลังงานความร้อน รับส่วนเพิ่ม 3.50 บาท/kWh 3. พลังงานลม กำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ ( ? ) 50 kW รับส่วนเพิ่ม 4.50 บาท/kWh ถ้ากำลังการผลิตติดตั้งมากกว่า ( > ) 50 kW รับส่วนเพิ่ม 3.50 บาท/kWh 4. พลังงานน้ำขนาดเล็ก กำลังการผลิตติดตั้งตั้งแต่ 50 kW ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 200 kW รับส่วนเพิ่ม 0.80 บาท/kWh หากกำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่า ( < ) 50 kW รับส่วนเพิ่ม 1.50 บาท/kWh 5. พลังงานแสงอาทิตย์ รับส่วนเพิ่ม 8 บาท/kWh ผู้ผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในพื้นที่มีการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันดีเซลของ กฟภ. จะได้รับส่วนเพิ่มพิเศษอีก 1 บาท/kWh สำหรับพลังงานชีวมวล พลังน้ำ ขยะ และก๊าซชีวภาพ และในอัตรา 1.50 บาท/kWh สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม นอกจากนี้ หากผู้ผลิตไฟฟ้าที่ตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ก็จะได้รับส่วนเพิ่มฯ พิเศษเพิ่มขึ้นอีกในอัตราพิเศษเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารขอรับส่วนเพิ่ม ตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าและหลักค้ำประกันการยื่นเสนอขายไฟฟ้า โดยกำหนดตามปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายในอัตรา 200 บาทต่อกิโลวัตต์ สำหรับปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายต่ำกว่า 100 กิโลวัตต์ จะยกเว้นการวางหลักค้ำประกัน ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเดิมวางหลักค้ำประกันภายใน 60 วันหลังได้รับแจ้ง และผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหม่ให้วางหลักค้ำประกัน ณ วันยื่นข้อเสนอ สำหรับหลักการพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้า จะพิจารณาจากลำดับการยื่นข้อเสนอ และความพร้อมที่จะดำเนินการได้ตามแผนการดำเนินงานที่เสนอ รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่ยื่นประกอบการพิจารณาและผลกระทบต่อค่าเอฟที ตลอดจนความสอดคล้องของวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบกับเป้าหมายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี อย่างไรก็ตาม การไฟฟ้าจะคืนหลักค้ำประกันให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอภายใน 15 วันทำการ สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือผู้ผลิตไฟฟ้าที่ได้เริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าตามวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า (SCOD) ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และการไฟฟ้าฯ จะยึดหลักค้ำประกันในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอขอถอนข้อเสนอขายไฟฟ้า หรือไม่สามารถลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ได้มีการตกลงตามขั้นตอนของการเจรจา ในกรณีผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วไม่สามารถเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าได้ตาม SCOD ที่ระบุในสัญญา การไฟฟ้าจะคิดค่าปรับจากการล่าช้านั้นได้ในอัตราร้อยละ 0.33 ต่อวันของวงเงินค้ำประกัน หลังจากครบ 60 วัน นับจากวัน SCOD และถ้าไม่มีการเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าภายในระยะเวลา 12 นับจากวัน SCOD แล้ว ให้ถือว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสิ้นสุดลง และการไฟฟ้าฯ มีสิทธิยึดหลักค้ำประกันการยื่นข้อเสนอได้ อนึ่ง ผู้ผลิตไฟฟ้า SPP และ VSPP สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด หรือ Download เอกสาร ได้ที่การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ดังนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โทร 0-2436-2815 หรือ www.ppa.egat.co.th/Sppx/Index.html การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร 0-2223-1628 หรือ www.mea.or.th/internet/Elecvalue/VSPP/vspp.htm และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 0-2590-5385 หรือ www.pea.co.th/vspp/vspp.htm

ข่าวกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ+สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานวันนี้

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดสัมมนาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนพัฒนาต่อ แผน PDP 2018

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เตรียมจัดสัมมนาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวข้อ"สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (Power Development Plan : PDP 2018)" ซึ่งแผนดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการเผยแพร่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าและแนวทางในการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าตามแผน PDP 2018 ที่ปรับปรุงใหม่ โดยจะจัดกิจกรรมขึ้น

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลั... สนพ. จัดกิจกรรมสัมมนา “สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนPDP 2018” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา — กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัม...

กิจกรรมสัมมนา “การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผน PDP 2018 " ภาคตะวันออก

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัมมนา "การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (Power Development Plan : PDP 2018) ภาคตะวันออก" ซึ่งแผนดังกล่าวได้ผ่านความ...

วันนี้ (26 กันยายน 2559) ที่ทำเนียบรัฐบาล... รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 26 กันยายน 2559 — วันนี้ (26 กันยายน 2559) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตร...

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

วันที่ 10 สิงหาคม 2559 นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และโฆษกกระทรวงพลังงาน และนายวีระพล จิรประดิษฐกุล โฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เปิด...

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดต้นทุนเ... บอร์ด ปตท. เคาะแนวทางช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง ยึดมั่นธรรมาภิบาลต่อทุกภาคส่วน — เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ...

หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน... นักลงทุนข้ามชาติ ห่วงรัฐไม่เร่งต่อสัญญา SPPกระทบอุตสาหกรรม ฉุด EEC สะดุด — หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 9 สิงหาคม 2561 ระบุว่า ...

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ...