APLAR เปิดตัวโครงการกระตุ้นภูมิภาคเอเชียตระหนักถึงผลเสียของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

14 Sep 2009

สิงคโปร์--14 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ – เอเชีย /อินโฟเควสท์


- ผู้ป่วยทุกคนจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์แต่เนิ่นๆ เพื่อแบ่งเบาภาระทางสังคม เศรษฐกิจ และความลำบากที่ผู้ป่วยต้องแบกรับ

- โครงการใหม่นี้มีขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทบทวนวิธีการรักษาโรคในเอเชียแปซิฟิก

สมาคมโรคไขข้อแห่งเอเชียแปซิฟิก หรือ APLAR (Asia-Pacific League of Associations for Rheumatology) เปิดตัวโครงการใหม่ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการวินิจฉัยและรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อแบ่งเบาภาระทางสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงความลำบากที่ผู้ป่วย ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐทั่วภูมิภาคต้องแบกรับ

(โลโก้: http://www.prnasia.com/sa/2009/09/08/20090908110532.jpg )

(โลโก้: http://www.prnasia.com/sa/2009/09/08/20090908483219.jpg )


โดยโครงการ Every Day Counts เป็นสื่อกลางที่แสดงให้เห็นความจริงที่ว่า แต่ละวันที่ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา พวกเขาต้องเสียสิ่งที่ไม่ควรจะเสียไปทุกวัน ในขณะที่ชุมชนและสังคมที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ก็ต้องเสียเงินจำนวนมหาศาลไปกับสวัสดิการดูแลผู้ป่วยที่ว่างงานและค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

“ในช่วงที่เศรษฐกิจยังขาดเสถียรภาพเช่นนี้ หลายประเทศคงไม่สามารถรองรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังจนต้องออกจากงานและทำให้งบประมาณของรัฐบาลสูญไปโดยไม่จำเป็นได้” ดร.โฮ-ยูน คิม ประธาน APLAR กล่าว “การวินิจฉัยและรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์แต่เนิ่นๆ จะช่วยลดภาระและค่าใช้จ่ายได้ทั้งในระดับบุคคลและสังคม”

“การรักษาโรคแต่เนิ่นๆ ไม่เพียงแต่เลื่อน ชะลอ หรือแม่แต่ระงับการกำเริบของโรคเท่านั้น แต่ยังช่วยลดคาใช้จ่ายด้วยการลดความจำเป็นในการเข้ารับการผ่าตัด รเข้ารักาตัวในโรงพยาบาล และการใช้บริการทางสังคมต่างๆ” ดร.คิม กล่าวเสริม “เราหวังว่าโครงการนี้จะช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์แต่เนิ่นๆ เพราะแต่ละวันที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวง”


ภาระที่เกิดจากโรค

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สร้างภาระทางเศรษฐกิจใน 3 ระดับ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทางตรง ทางอ้อม และทางจิตสังคม(1) โดยค่าใช้จ่ายของภาครัฐอาจมีสัดส่วนสูงมาก ยกตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อยู่ที่ 5,720 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูงสุด(2) ส่วนในเอเชียแปซิฟิกค่าใช้จ่ายจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ก็อยู่ในระดับสูงพอๆ กัน ตัวอย่างเช่น

- ในเกาหลี ภาระทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อยู่ที่ราว 624.9 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีสัดส่วน 0.11% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP)(3)

- ในจีน ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ส่งผลกระทบต่อประชากร 0.3% ของทั้งหมดในแต่ละประเทศ หรือเท่ากับ 4 ล้านคน, 380,000 ล้านคน และ 69,000 คน ตามลำดับ (4, 5, 6)

- ในออสเตรเลีย โรคไขข้อทำให้เกิดค่าใช้จ่ายราว 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ในแต่ละปี จากการรักษาสุขภาพ การเสียเวลาทำงาน การมีอายุขัยสั้นลง และการต้องเสียเวลาเป็นผู้ไร้สมรรถภาพอยู่หลายปี(7)

- ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายทางสังคมจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อยู่ที่ราว 2,682 ดอลลาร์ หรือคิดเป็น 41.4% ของรายได้ต่อปีของผู้ป่วย ส่วนค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อมอยู่ที่ราว 2,135 ดอลลาร์ และ 547 ดอลลาร์ต่อคนต่อปีตามลำดับ(8)

- ในมาเลเซีย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ส่งผลกระทบต่อ 0.5% ของประชากรผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 25-50 ปี(9)

ผลเสียทางอ้อมจากการเจ็บป่วย (กำลังการผลิตที่ลดลงจากทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว สังคม และผู้จ้างงานอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย) และเสียชีวิต (การสูญเสียกำลังการผลิตอันเนื่องมาจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร) ก็มีมากเช่นกัน ในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ไร้สมรรถภาพมีมากกว่าในประชากรทั่วไปมาก โดยผลวิจัยเผยว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ต้องหยุดงานเฉลี่ย 39 วันต่อปี(10) ส่วนอีกการวิจัยหนึ่งระบุว่าเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยมีรายได้ลดลง(11)

การรักษาเพียงอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจทำให้ผู้ป่วยมีอายุขัยลดลงราว 10 ปี(12) และหากขาดการรักษาอย่างเหมาะสมผู้ป่วยจะต้องต่อสู้กับโรคร้ายดังกล่าวไปชั่วชีวิต ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อข้อต่อหรืออาจถึงขั้นทำให้พิการได้

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม DMARD ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการของโรคและช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดกับข้อต่อ อย่างไรก็ตาม ยากลุ่ม DMARD ประเภทรับประทานอย่างยา methotrexate ยังไม่สามารถป้องกันการเสียหายของข้อต่อได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการรักษาด้วยสารชีวภาพ (biologic agent) (ควบคุมอาการของโรคและไม่ทำให้ข้อต่อเกิดความเสียหายเพิ่มเติม) จึงเป็นเป้าหมายการรักษาในผู้ป่วยส่วนมาก โดยสารชีวภาพเหล่านี้สามารถควบคุมอาการของโรคได้โดยตรงและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังช่วยชะลอและระงับความเสียหายที่เกิดกับข้อต่อและเกิดจากการฉายรังสี และช่วยป้องกันมิให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้รับผลกระทบไปมากกว่านี้(13)


หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

เกี่ยวกับ โครงการ Every Day Counts

โครงการ Every Day Counts เป็นโครงการใหม่ของ APLAR ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการวินิจฉัยและรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยทางโครงการจะจัดกิจกรรมเพื่อเข้าถึงแพทย์ ผู้ป่วย และหน่วยงานรัฐทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตลอดทั้งปี


เกี่ยวกับ APLAR

APLAR มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักในการให้การรักษาที่ทันสมัยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้อ รวมถึงโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและกล้ามเนื้อ ผ่านการพัฒนาฝีมือของทีมผู้เชี่ยวชาญ การสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย และการพัฒนาการวิจัยด้านโรคไขข้อ ทั้งนี้ APLAR ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2506 ที่ซิดนีย์ และเป็นองค์กรในเครือเดียวกับสมาคมโรคไขข้อนานาชาติ หรือ ILAR (International Leauge of Associations for Rheumatology)


โปรดให้การสนับสนุนโครงการนี้


กิจกรรมในโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนโดยไวเอท (Wyeth)

อ้างอิง

1. World Health Organization (2003). The burden of musculoskeletal
conditions at the start of the new millennium (WHO Technical Report
Series, 919).
2. Cooper N.J. (2000). Economic burden of rheumatoid arthritis: a
systematic review. Rheumatology, 39, 28-33.
3. Yoon SJ, Bae SC, Lee SI, Chang HJ, Jo HS, Sung JH, Park JH, Lee JY &
Shin YS (2007). Measuring the burden of the disease in Korea. The
Korean Academy of Medical Sciences, 22, 518-23.
4. Rheumatoid Arthritis Therapeutics in China. Medical News Today, (10
April 2009).
5. Shichikawa K, Takenaka Y, Maeda A (1981). A longitudinal population
survey of RA in a rural district in Wakayama. Ryumachi, 21, 35-43.
6. Rheumatoid Arthritis Therapeutics in Taiwan. Bio-medicine News, (10
April 2009).
7. Access Economics PRY Limited (2007). Painful realities: The economic
impact of arthritis in Australia in 2007. (Arthritis Australia).
8. Osiri M, Maetzel A, Tugwell P. The economic burden of rheumatoid
arthritis in a developing nation: results from a one-year prospective
cohort study in Thailand. J. of Rheumatology January, 34, 57-63.
9. Rheumatoid Arthritis Therapeutics in Malaysia. Bio-medicine News, (31
March 2009).
10. Wayne B., Morrison A., Maclean R. & Ruderman E. (2006).Systematic
review of studies of productivity loss due to rheumatoid arthritis.
Occupational Medicine, 56, 18-27.
11. Albers J.M.C., Kuper H.H., van Riel P.L.C.M., Prevoo M.L.L., Van't Hof
M.A., van Gstel A.M. & Severens J.L. (1999). Socio-economic
consequences of rheumatoid arthritis in the first years of the disease.
Rheumatology, 38, 423-430.
12. Weaver A. L. (2004). The Impact of new biologicals in the treatment of
rheumatoid arthritis. Rheumatology, 43, 17-23.
13. Finckh A. & Rubbert-Roth A. (2009). Treatment options in patients with
rheumatoid arthritis failing initial TNF inhibitor therapy: a critical
review. Arthritis Research & Therapy, 11(Suppl 1):S1.

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:

มิไคอาห์ เอฟ ตัน

โอกิลวี เฮลท์, สิงคโปร์

โทรศัพท์: +65-6213-7846

มือถือ: +65-8123-3928

อีเมล: [email protected]


แหล่งข่าว: สมาคมโรคไขข้อแห่งเอเชียแปซิฟิก


--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --