เทรนด์ ไมโคร แถลงผลสำรวจภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลทั่วโลกล่าสุดพร้อมเผยกลยุทธ์รุกตลาดรักษาความปลอดภัยข้อมูลปี 52

กรุงเทพฯ--5 มี.ค.--คอร์ แอนด์ พีค

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการและรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เปิดเผยรายงานสรุปภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูล ประจำปี 2551 และการคาดการณ์ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 พร้อมเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ Smart Protection Network เจาะกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ กล่าวว่า “แผนรุกตลาดรักษาความปลอดภัยข้อมูลของเทรนด์ ไมโครในปีนี้จะเน้นเรื่องการให้บริการโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยข้อมูลแบบรวม (Total Solution) ที่ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะ (Smart Protection Network) พร้อมเปิดตัวโซลูชั่นเก็บสำรองข้อมูลอีเมลใหม่ล่าสุด (Trend Micro Message Archiver-TMMA) ระบบจัดเก็บอีเมลให้สามารถบีบอัดข้อมูลได้มากขึ้น เพื่อลดพื้นที่ในการจัดเก็บ และมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่งออกไปภายนอก เพื่อป้องกันข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ให้รั่วไหล พร้อมตั้งเป้าการเติบโตในปีนี้ไว้ที่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมุ่งขยายฐานกลุ่มลูกค้าไปยังกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางเป็นหลัก” “ปัจจัยที่ทำให้ตลาดรักษาความปลอดภัยข้อมูลในไทยยังมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มมากขึ้นนั้นมาจาก 1. ภัยคุกคามข้อมูลรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้งานต้องปรับตัวและศึกษาวิธีป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ 2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ.2550 ทำให้เกิดความตื่นตัวและกระตุ้นให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ระมัดระวังในการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และ 3. การรณรงค์ให้ผู้ใช้เลือกใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเกิดความตื่นตัว และรู้จักเลือกใช้โซลูชั่นและซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องเหมาะสมมาใช้ในองค์กรนั้นๆ” นายรัฐสิริ นายคงศักดิ์ ก่อตระกูล ที่ปรึกษาด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเปิดเผยถึงรายงานสรุปภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลล่าสุดของเทรนด์แล็บส์ (TrendLabs?) บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ ว่า “ปี 2551 ถือเป็นปีแห่งการค้นหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมของอาชญากรไซเบอร์ จะเห็นได้ว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมาธุรกิจของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ใต้ดินขยายตัวเป็นอย่างมาก และผู้เขียนมัลแวร์ต่างก็มุ่งเป้าไปที่ผลประโยชน์ทางการเงินอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องใส่ใจกับภัยคุกคามข้อมูลบนเว็บเพิ่มมากขึ้น ขณะที่อาชญากรไซเบอร์เองก็พยายามใช้เส้นทางใหม่ๆ หรือปรับปรุงเส้นทางที่มีอยู่เดิมของตนให้ดีขึ้นเพื่อจะทำกำไรได้มากขึ้น” ภัยคุกคามข้อมูลที่มีชื่อเสียงในรอบปี 2551 ได้แก่ บ็อตเน็ต ผลสำรวจพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึง พฤศจิกายน 2551 มีพีซี 34.3 ล้านเครื่องติดมัลแวร์ในตระกูลบ็อต ส่วนสแปม หรือข้อความอีเมลขยะ ประมาณ 1.15 แสนล้านฉบับถูกส่งออกทุกวัน เพิ่มขึ้นจากเดิมที่พบเพียง 7.5 หมื่นล้านฉบับในปี 2548-2549 โดย 99 เปอร์เซ็นต์ของสแปมมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดูไม่เป็นภัย รวมถึงการสื่อสารไปมาระหว่างผู้ใช้ระยะไกล, Black Hat SEO และ FAKEAV ผลลัพธ์การค้นหาคำตอบจากบริการค้นหาข้อมูล เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนมัลแวร์นิยมใช้กันอย่างมากในรอบปี 2551 เนื่องจากเทคนิคนี้สามารถหลอกล่อเหยื่อได้อย่างแนบเนียน โดยวิธีนี้จะปรับเปลี่ยนผลลัพธ์การค้นหาให้แสดงเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย, เว็บไซต์ที่อาศัยความไว้วางใจของมวลชน ผู้ใช้อาจคิดว่ากำลังใช้งานเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ แต่จริงๆ อาจแทรกโค้ดที่เป็นอันตรายไว้ในเว็บไซต์ยอดนิยมจากนั้นก็ปล่อยให้ผู้ใช้ที่ไม่รู้เรื่องดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ รูทคิตส์ เป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามข้อมูลที่พบบ่อย แม้ว่ารูทคิตส์จะไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่จากพัฒนาการบางอย่างในเทคโนโลยีรูทคิตส์อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เกิดความปั่นป่วนได้, ภัยคุกคามแบบผสมผสาน อาทิเช่น สิ่งแนบท้ายอีเมลที่เป็นอันตราย มีการนำเทคนิควิศวกรรมด้านสังคมมาใช้อย่างกว้างขวางในปี 2551 โดยในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ เป็นช่วงเวลาแห่งการโจมตีซึ่งใช้สิ่งที่แนบที่เป็นอันตรายในรูปแบบของไมโครซอฟท์ เวิร์ดมากที่สุด รวมถึงมีการพัฒนาฟิชชิงให้เป็นพาหะในการโจมตี ก่อนหน้านี้จะมาในรูปของการสอดแนม แต่ปัจจุบันกลายเป็นภัยคุกคามลูกผสมที่รวมตัวกันระหว่างฟิชชิงและมัลแวร์ขโมยข้อมูล การรวมตัวของภัยคุกคามด้านมืดเข้าด้วยกันนำมาซึ่งความสามารถในการเจาะระบบดิจิทัลไปยังอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานในทุกวัน โดยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางหลัก และเมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อโลกออนไลน์ก็จะเป็นการเปิดรับการโจมตีที่มีเป้าหมายที่มุ่งตรงสู่อุปกรณ์ที่พวกเขาใช้งานในทันที อาชญากรไซเบอร์เลือกที่จะใช้ความน่าเชื่อถือของเครื่องมือสร้างมัลแวร์ที่มีอยู่ร่วมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เกิดภัยคุกคามข้อมูลบนเว็บแบบลูกผสมที่เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคนิคที่ได้รับการทดสอบแล้วว่าสำเร็จกับสิ่งใหม่ที่พัฒนาขึ้นมา (เทคนิคใช้ของใหม่ผสมของเก่า) อาทิเช่น ช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ, ภัยคุกคามระดับภูมิภาค. ภัยคุกคามอุปกรณ์เคลื่อนที่, เทคนิควิศวกรรมด้านสังคม ที่อาศัยเหตุการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนให้ความสนใจ เช่น โอลิมปิก ปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง, ภัยพิบัติต่างๆ, ผู้มีชื่อเสียงในสังคม, การเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกา และวิกฤติการทางการเงิน เป็นต้น การคาดการณ์สถานภัยคุกคามข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในปีนี้จะพบว่าเทคนิคการแพร่กระจายแบบเดิมๆ เช่น พิกกี้แบ็คกิ้ง (การเข้าไปในระบบโดยการแอบสวมรอยเป็นผู้ใช้ในระบบ), อีเมล, ไดรฟ์แบบถอดได้ และข้อความทันใจ (ไอเอ็ม) และการใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ งานเฉลิมฉลอง และการเมืองจะยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือใน ปีนี้ อีกทั้งอุปกรณ์เคลื่อนที่จะตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์มากขึ้น และจะเห็นภัยคุกคามจำนวนมากที่ทำเงินจากเทคโนโลยีเคลื่อนที่ โดยเฉพาะเมื่อโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ เริ่มติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปมากขึ้น รวมทั้งจะพบปริมาณสแปมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศสหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศที่ส่งออกสแปมมากที่สุด ขณะที่ประเทศในแถบยุโรปเป็นพื้นที่ที่ได้รับสแปมมากที่สุด สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณบุษกร สนธิกร และคุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัดโทร. 02-439-4600 ต่อ 8202 อีเมล: busakorns@corepeak

ข่าวบริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์+เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรทวันนี้

เทรนด์ ไมโคร แถลงผลสำรวจภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลทั่วโลกล่าสุดพร้อมเผยกลยุทธ์รุกตลาดรักษาความปลอดภัยข้อมูลปี 52

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการและรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เปิดเผยรายงานสรุปภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูล ประจำปี 2551 และการคาดการณ์ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 พร้อมเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ Smart Protection Network เจาะกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ กล่าวว่า “แผนรุกตลาดรักษาความปลอดภัยข้อมูลของเทรนด์ ไมโครในปีนี้จะเน้นเรื่องการให้บริการ

เทรนด์ ไมโคร เผยยุทธศาสตร์ใหม่ Time2Protect ช่วยลดเวลาป้องกันภัยออนไลน์ พร้อมเปิดตัวเทคโนโลยีล่าสุด Smart Protection Network รุกตลาดเอ็นเตอร์ไพร์ส

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการและรักษาความปลอดภัยข้อมูล เปิดตัวยุทธศาสตร์ใหม่ Time2Protect...

ภาพข่าว: เทรนด์ ไมโคร ประกาศแต่งตั้งผู้บริหารใหม่

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการและรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ประกาศแต่งตั้งนายรัฐสิริ ไข่แก้ว เป็นผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท ดูแลรับผิดชอบด้านงานขาย, การ ตลาด,...

เทรนด์ไมโครจับมือตำรวจสากลหนุนการบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก เพื่อต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ (TYO: 4704; TSE:4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และโซลูชั่นรักษาความปลอดภัย ประกาศความร่วมมือกับองค์การตำรวจสากล (INTERPOL) ในการสนับสนุนโครงการบังคับใช้กฎหมายทั่วโลกเพื่อต่อต้านอาชญากรรมไซ...

เทรนด์ ไมโคร เตือนระวังอาชญากรไซเบอร์ใช้ข้อความสแปมโอลิมปิก ลอนดอน 2012 เพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัวและขโมยเงิน

รายงานล่าสุดจากศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า อาชญากรไซเบอร์ได้ชื่อว่าเป็นนักฉวยโอกาสตัวยงที่มักจะใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่ในกระแส เช่น ในช่วงมหกรรมการ...

เทรนด์ ไมโคร ประกาศแต่งตั้งผู้บริหารใหม่

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ ประกาศแต่งตั้งนายธนัท เศรษฐโอภาส ดำรงตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลรับผิดชอบด้านงานขาย การตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย และลูกค้าสัมพันธ์ในไทย...

เทรนด์ ไมโคร เผยผลวิจัยล่าสุดพบว่าสาเหตุของการละเมิดข้อมูลมาจากพนักงานในองค์กร

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์. (TYO: 4704;TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ เผยผลสรุปรายงานวิจัยเรื่อง“ปัจจัยด้านมนุษย์ในการปกป้องข้อมูล”(The Human Factor in Data Protection) จากสถาบันโพเนมอน...

เทรนด์ ไมโคร แนะเคล็ดลับ 5 ข้อสำหรับการชอปปิ้งออนไลน์อย่างปลอดภัย

ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า เทศกาลแห่งการจับจ่ายในช่วงวันหยุดสำคัญกำลังจะมาถึง และแน่นอนว่าเหล่าอาชญากรไซเบอร์ก็กำลังเตรียมซุ่มโจมตีนักชอปที่นิยมซื้อสินค้าทางออนไลน์อยู่ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับห้าประการที่...

เทรนด์ ไมโคร เผยพบผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวอิหร่าน ตกเป็นเหยื่อภัยคุกคามล่าสุด

เมื่อเร็วๆ นี้ เฟเก้ แฮกเกอบอร์ด นักวิจัยอาวุโสด้านภัยคุกคาม ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ ระบุว่า จากรายงานของเทรนด์ ไมโครพบหลักฐานที่เป็นรูปธรรมของภัยคุกคามล่าสุดที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานออกใบรับรองในเนเธอร์...

เทรนด์ ไมโคร เตือนระวังภัยลวงแจกของฟรีใน Facebook

นายคริสโตเฟอร์ ทาแลมปัส นักวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า พบการหลอกลวงล่าสุดผ่าน Facebook ด้วยการใช้ประโยชน์จากภาพยนตร์เรื่อง Breaking Dawn Part 2 ซึ่งจะนำคุณไปยังเพจแบบสำรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการข...