ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับ ERP สำหรับธุรกิจขนาดกลาง

กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--ออราเคิล

โดย ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคอาเซียนของออราเคิล และ กรรมการผู้จัดการบริษัท ออราเคิล (ประเทศไทย) จำกัด และเลนลีย์ เฮนซาร์ลิง รองประธานของกลุ่มบริษัทออราเคิล และผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Oracle’s JD องค์กรขนาดกลางมักจะมีเป้าหมายและปัญหาท้าทายที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะใช้ภาษาใด อยู่ในวัฒนธรรมใดและกลุ่มอุตสาหกรรมใดก็ตาม ในแต่ละวัน บริษัทขนาดกลางพยายามที่จะสร้างรากฐานทางการเงินที่แข็งแกร่ง สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า และขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าบริษัทนั้นๆ จะมุ่งเน้นตลาดในประเทศหรือแข่งขันในตลาดโลก องค์ประกอบพื้นฐานสำหรับความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางล้วนมีลักษณะเป็นสากล การตัดสินใจเกี่ยวกับเงินสดหมุนเวียนและการเข้าถึง/ใช้งานทรัพยากรเป็นปัจจัยที่กำหนดว่าธุรกิจขนาดกลางนั้นๆ จะประสบความสำเร็จ อยู่รอด หรือล้มเหลว นอกเหนือจากการตัดสินใจดังกล่าวแล้ว ยังมีปัญหาท้าทายทางด้านธุรกิจและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้การเลือกใช้โครงสร้างพื้นฐานสำหรับรองรับข้อมูลและระบบงานธุรกิจของบริษัทกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ในช่วงกว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ระบบ ERP ได้พัฒนาจากระบบบัญชีส่วนแบ็คออฟฟิศที่แยกต่างหาก ไปสู่โซลูชั่นที่ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ซึ่งปัจจุบันนอกจากจะเกี่ยวข้องกับพนักงาน ระบบงาน และทรัพยากรภายในบริษัทแล้ว ยังครอบคลุมขอบเขตภายนอกไฟร์วอลล์ โดยเข้าถึงลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย ซัพพลายเออร์ และคู่ค้าอีกด้วย ถ้าหากบริษัทขนาดกลางเลือกใช้ระบบ ERP ที่เหมาะสม ก็จะสามารถผนวกรวมระบบปฏิบัติงาน การผลิต การจัดจำหน่าย และวิศวกรรมเข้าไว้บนแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกัน โดยครอบคลุมทุกขั้นตอนในห่วงโซ่มูลค่า เมื่อองค์กรธุรกิจถูกจัดตั้งขึ้นในตอนแรก ก็มักจะเริ่มต้นด้วยระบบการเงินและระบบงานที่เรียบง่าย ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เอกสารที่เป็นกระดาษควบคู่ไปกับตารางสเปรดชีตที่เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อบริษัทขยายใหญ่ขึ้น ก็มักจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพิ่มเติมเพื่อรองรับการทำบัญชี บัญชีเงินเดือน และจัดการทรัพยากรบางอย่าง แต่กระนั้นฟีเจอร์ของชุดซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องได้ และผลที่ตามมาก็คือ บริษัทเหล่านี้ต้องรับมือกับข้อมูลและระบบงานที่ผสมปนเปกันอย่างส่งเดช โดยใช้เอกสารต่างๆ ที่เก็บไว้เต็มตู้ รวมถึงตารางสเปรดชีต และโซลูชั่นบัญชีแยกประเภททั่วไปที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ และมีเพียงส่วนเดียวเท่านั้นที่มีการผนวกรวมเข้าด้วยกัน นั่นคือ อีเมลสำหรับส่งไฟล์สเปรดชีตให้แก่คนอื่นๆ รวมถึงใบสั่งซื้อ การสอบถาม และรายงานต่างๆ เมื่อบริษัทตระหนักว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ขาดความต่อเนื่องนี้เป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการขยายธุรกิจ และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมากจนยากจะควบคุม บริษัทก็จะหันมาพิจารณาการปรับใช้ระบบ ERP การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบ ERP สำหรับบริษัทขนาดกลางมักจะเป็นปัจจัยเร่งให้ธุรกิจเติบโตและเพิ่มผลกำไร ปัจจัยหลักที่ทำให้การปรับเปลี่ยนนี้ประสบความสำเร็จก็คือ การพิจารณาเกี่ยวกับ ERP อย่างรอบคอบ ปัจจุบันมีระบบ ERP หลายร้อยระบบที่วางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน และบริษัทขนาดกลางมักจะมีโอกาสเพียงครั้งเดียวในการตัดสินใจอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะการตัดสินใจผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจทำให้บริษัทล่มจมได้ ในระหว่างขั้นตอนการคัดสรร บริษัทขนาดกลางควรพิจารณาปัจจัยเพิ่มเติม นอกเหนือจากการตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานและรายชื่อลูกค้าอ้างอิง: 1) ความแข็งแกร่งของบริษัทผู้ผลิต – ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ERP ต้องการฟังก์ชั่นด้านการเงินและทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับซอฟต์แวร์รุ่นปัจจุบัน รวมทั้งลงทุนในเทคโนโลยีและความสามารถใหม่ๆ โดยอาศัยการวิจัยและพัฒนา สร้างสรรค์ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ และพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นอนาคต 2) การเติบโตของบริษัทผู้ผลิต – เมื่อมีลูกค้า ERP รายใหม่ บริษัทก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากบริการบำรุงรักษาในแต่ละปี ซึ่งจะสามารถนำมาใช้เป็นทุนในการพัฒนาและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ บริษัท ERP ที่มีการเติบโตน้อยมากหรือไม่มีเลยย่อมจะเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ความสำเร็จที่ต่อเนื่องสำหรับผลิตภัณฑ์ในตลาดนับเป็นเครื่องรับประกันสำหรับบริษัทขนาดกลางที่ต้องการลงทุนในโซลูชั่น ERP 3) ความแข็งแกร่งของคู่ค้า – แม้ว่าโซลูชั่น ERP จำนวนมากมีความแข็งแกร่งในเรื่องของฟีเจอร์และความสามารถที่หลากหลาย แต่ไม่มีผู้ผลิต ERP รายใดสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สมบูรณ์แบบ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเครือข่ายคู่ค้าและพันธมิตร ตั้งแต่ตัวแทนจำหน่ายและผู้ติดตั้งระบบ ไปจนถึงผู้ผลิตซอฟต์แวร์อิสระ/โซลูชั่น ความแข็งแกร่งของเครือข่ายคู่ค้าและพันธมิตรถือเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ดีสำหรับความมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชั่น ERP ในระยะยาว เพราะคู่ค้าย่อมจะต้องทำการประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับคุณค่าและประสิทธิภาพของชุดซอฟต์แวร์นั้นๆ 4) ความสามารถในการปรับให้เหมาะสมกับทั่วโลก – แม้ว่าธุรกิจขนาดกลางไม่ได้แข่งขันในระดับโลกในปัจจุบัน แต่ก็นับเป็นเรื่องดีถ้าหากระบบ ERP มีภาษาและความสามารถที่เหมาะสมกับประเทศใดประเทศหนึ่ง และมีทีมงานพิเศษที่คอยพัฒนาปรับปรุงระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ และหากโซลูชั่น ERP ที่ใช้งานอยู่มีฟีเจอร์ที่รองรับการทำงานทั่วโลก ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศในอนาคต 5) เส้นทางการพัฒนาเทคโนโลยี – แม้กระทั่งในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ เทคโนโลยีก็ยังคงพัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง นับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวระบบ ERP ในตอนแรก เทคโนโลยีการประมวลผลมีการพัฒนาจากระบบเมนเฟรม ไปสู่ระบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ และระบบเว็บ ดังนั้นองค์กรธุรกิจขนาดกลางจึงควรมองหาผู้ผลิต ERP ที่มีประสบการณ์ในการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งจัดหาแนวทางในการช่วยเหลือลูกค้าสำหรับการพัฒนาระบบในระยะยาว 6) ทางเลือกเทคโนโลยีที่หลากหลาย – องค์กรธุรกิจขนาดกลางต้องการความยืดหยุ่นสำหรับการดำเนินงานในแต่ละวัน และสำหรับการตอบสนองความต้องการทางด้านเทคโนโลยี ผู้ผลิตโซลูชั่น ERP ควรสนับสนุนแพลตฟอร์มที่หลากหลายเพื่อให้องค์กรธุรกิจขนาดกลางสามารถเลือกใช้โครงสร้างพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม 7) มาตรฐานเทคโนโลยี – มาตรฐานช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบในระยะยาว ดังนั้นผู้ผลิต ERP จึงควรปรับใช้มาตรฐานเปิดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 8) การลงทุนในผลิตภัณฑ์ – ผู้ผลิต ERP ควรจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่รุ่นแรกสุด และผู้ผลิตควรจัดหาเอกสารที่ระบุรายการฟีเจอร์และฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ได้รับการเพิ่มเติมและปรับปรุงระหว่างผลิตภัณฑ์รุ่นแรกสุดและรุ่นปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ที่ตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และขาดฟังก์ชั่นที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ย่อมจะแสดงถึงความอ่อนแอของผู้ผลิต 9) ความสามารถทางด้านอุตสาหกรรม – บางอุตสาหกรรมต้องการฟังก์ชั่นที่เฉพาะเจาะจงเพื่อเสริมสร้างความสามารถหลักๆ ทางด้าน ERP ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องทราบว่าผู้ผลิต ERP จะตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงทางด้านอุตสาหกรรมอย่างไรบ้าง 10) แนวทางการผนวกรวมระบบ – ซอฟต์แวร์อื่นๆ อาจช่วยเสริมสร้างโซลูชั่น ERP ดังนั้นการทำความเข้าใจว่าโซลูชั่น ERP ผนวกรวมเข้ากับผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างไรบ้างย่อมจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทขนาดกลางที่มีโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว ทั้งยังช่วยให้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในอนาคตอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ผลิตอาจนำเสนอโซลูชั่นเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับการเลือกใช้ชุดซอฟต์แวร์ ERP 11) ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบ – การทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบ ตั้งแต่การติดตั้งเบื้องต้น ไปจนถึงการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง การฝึกอบรม การจัดสรรบุคลากร และความต้องการฮาร์ดแวร์ จะช่วยให้บริษัทขนาดกลางสามารถตัดสินใจเลือกได้อย่างเหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่าย 12) กลุ่มผู้ใช้ – กลุ่มผู้ใช้ที่แข็งแกร่งและเป็นอิสระนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์และอนาคตของกลุ่มผลิตภัณฑ์ ERP โดยกลุ่มผู้ใช้จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงโค้ดซอฟต์แวร์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องในอนาคต การเลือกใช้ระบบ ERP นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับบริษัทขนาดกลางในการปรับใช้แพลตฟอร์มใหม่เพื่อรองรับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและประสบความสำเร็จ บริษัทขนาดกลางจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ระบบ ERP โดยจะต้องคำนึงถึงสถานะปัจจุบัน เป้าหมายสำหรับอนาคต และสภาพแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การตัดสินใจที่เหมาะสมเกี่ยวกับ ERP จะเปิดโอกาสครั้งสำคัญให้แก่บริษัทขนาดกลางที่ต้องการขยายกิจการและเพิ่มผลกำไร ไม่ว่าบริษัทนั้นจะตั้งอยู่ที่ใดและอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมใดก็ตาม

ข่าวณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ+กลุ่มอุตสาหกรรมวันนี้

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จัดงาน CIMB WOWEEK 2023 ตอบแทนลูกค้าที่สาขาทั่วประเทศ พร้อมเผยคะแนนสำรวจความภักดีลูกค้าขยับขึ้นเป็นอันดับ 2 วางกลยุทธ์ 'The Road to Best CX Bank'

อรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล กรรมการอิสระ ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการอิสระ พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อุทัยวรรณ สุขพรรณพิมพ์ ผู้บริหารสูงสุดบริหารงานประสบการณ์ลูกค้า ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย และแมนพรีต ซิงค์ Senior Managing Director and Group Head, Customer Experience Management, CIMB ร่วมงาน CIMB WOWEEK 2023 ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทั่วทุกภูมิภาคในกลุ่มซีไอเอ็มบี ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ กัมพูชาและไทย เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณลูกค้าที่ให้โอกาส

ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ (กลาง) อุปนายกสมาคมอุ... ภาพข่าว: เปิดโครงการ “U Power Digital Idea Challenge Season 1” — ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ (กลาง) อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย จัดงานแถลงข่าวโครงก...

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย จัดงานประชุมด้านไอที "ATCI 25th Anniversary Ever Onward เน้นต้องปฏิรูปประเทศไทยด้วยไอที"

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) จะจัดงานประชุมด้านไอที "ATCI 25th Anniversary Ever Onward เน้นต้องปฏิรูปประเทศไทยด้วยไอที" โดยหนึ่งในหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ คือ ...

ภาพข่าว: AIT จัดเสวนาครบรอบ 20 ปี

นายศิริพงษ์ อุ่นทรพันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่, Mr. Ralf Hundertmark Senior Vice President – Business Development บมจ. แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี, ดร.ธัชพล โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย), นายณัฐศักดิ์ โรจนพิ...

ภาพข่าว: ออราเคิลจับมือเดลล์เดินทัพ พร้อมสามพันธมิตรชั้นนำ เปิดตัวโซลูชั่นซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ บุกตลาดธุรกิจขนาดกลางในไทย

(จากซ้าย) คุณเฉลียว พัวพันธุ์นิวัฒน์ รองประธาน บริษัทเอเอสเอพี โซลูชั่นส์ จำกัด, คุณณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคอาเซียน และกรรมการผู้จัดการของออราเคิล คอร์ปอ...

ออราเคิลจับมือเดลล์นำทัพ พร้อมสามพันธมิตร เปิดกลยุทธ์ รุกตลาดธุรกิจขนาดกลางในไทย

บริษัทออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) มีความยินดีขอเชิญสื่อมวลชนทุกท่านร่วมงานแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างออราเคิลและเดลล์ พร้อมทั้ง 3 พันธมิตรด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ นำเสนอแนวทางเพื่อช่วยภาคธุรกิจขนาดกลางไทยให้โดดเด่น...

ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับ ERP สำหรับธุรกิจขนาดกลาง

โดย ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคอาเซียนของออราเคิล และ กรรมการผู้จัดการบริษัท ออราเคิล (ประเทศไทย) จำกัด และเลนลีย์ เฮนซาร์ลิง รองประธานของกลุ่มบริษัทออราเคิล และผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Oracle’s JD องค์กรขนาดกลางมักจะมีเป้าหมาย...

ออราเคิล แถลงข่าวและพิธีลงนามสัญญา “เครือโรงพยาบาลกรุงเทพกับการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ ด้วย Oracle’s Siebel CRM”

บริษัทออราเคิล (ประเทศไทย) มีความยินดีขอเชิญสื่อมวลชนทุกท่านร่วมเป็นเกียรติในพิธีแถลงช่าวการปรับไปสู่โซลูชั่น Siebel CRM ของออราเคิล เพื่อการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพสมบูรณ์...

ภาพข่าว: ออราเคิลมอบรางวัลแก่ 7 คู่ค้าดีเด่น ในงาน Oracle PartnerNetwork Appreciation Night

(จากซ้าย) มร. นิลันธา บริโต ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายช่องทางจำหน่าย ธุรกิจเทคโนโลยี ประจำภูมิภาคอาเซียนออราเคิล เอเชีย-แปซิฟิค, คุณสุเทพ อุ่นเมตตาจิต ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด, คุณธีรพล เอื้อ...

ออราเคิล แถลงข่าวเซ็นสัญญาร่วมกับ “ไมเนอร์กรุ๊ป”

ธุรกิจของไมเนอร์ กรุ๊ปเติบโตอย่างต่อเนื่องและก้าวเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ พร้อมกับการริเริ่มธุรกิจหลายๆ ประเภท โดยไมเนอร์ กรุ๊ป มีแผนที่จะปรับใช้แนวทางปฏิบัติของอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเทคโนโลยีจากแอพพลิเคชั่นของออราเคิลเพื่อรองรับการขยายธุรกิจ ภาย...