กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--สคร.
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานในงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2551 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคม 2551 ณ โรงแรม Centara Grand & Bangkok Convention Centre at Central World กล่าวว่า รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจไทย ที่ได้รับการยอมรับทั้งในด้านผลการดำเนินงาน การสนองบทบาทตามพันธกิจของรัฐวิสาหกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รางวัลที่ได้รับจึงเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐวิสาหกิจอีกหลายๆ แห่งจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสที่จะได้รับรางวัลเช่นเดียวกันในอนาคต นอกจากนั้น ยังได้กล่าวถึงนโยบายของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสังคมว่า การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social and Environmental Responsibility : CSER) เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ คือการปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึกเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังมีนโยบายในการสนับสนุนและให้กำลังใจหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ด้วยการมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นด้าน CSER มาตั้งแต่ปี 2549 และได้ฝากคำขวัญเพื่อย้ำความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ว่า“รัฐวิสาหกิจไทย ใส่ใจชุมชนและสิ่งแวดล้อม
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ สคร. ดำเนินการจัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2551 นี้เป็นปีที่ 4 โดยกระทรวงการคลังได้กำหนดรูปแบบงานที่เน้นแสดงให้เห็นถึงบทบาทความสำคัญของรัฐวิสาหกิจในการพัฒนาสังคมไทยให้มีความก้าวหน้ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยพื้นฐานของความสำเร็จในวันนี้และในอนาคตนั้นมาจากพลังความทุ่มเทและมุ่งมั่นของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ให้บริการประชาชนด้วยจิตสำนึกที่คำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดรูปแบบของการจัดงานครั้งนี้ว่า “รัฐวิสาหกิจไทย ประสานใจสร้างสรรค์สังคม: Great Heart, Great Society”
การคัดเลือกรัฐวิสาหกิจเพื่อรับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นด้านต่างๆ นั้น กระทรวงการคลังได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการตัดสินรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2551” ซึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานที่ปรึกษากิติมศักดิ์ นายพนัส สิมะเสถียร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ และ คณะกรรมการประกอบด้วย นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง นายสมภพ อมาตยกุล นายเทียนฉาย กีระนันทน์ นายโกวิทย์ โปษยานนท์ นางภัทรียา เบญจพลชัย นายวีรวัฒน์ กาญจนดุล นายมนูญ สรรค์คุณากร นายไชยยศ บุญญากิจ และนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สคร. เป็นกรรมการและเลขานุการ นอกจากนี้ ยังมีนายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสมทบในการตรวจเยี่ยมรัฐวิสาหกิจ (Site Visit)
ในปี 2551 คณะกรรมการตัดสินรางวัลฯ ได้กำหนดรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นไว้ 5 ประเภท เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา และได้กำหนดให้มี “รางวัลเกียรติยศ” ขึ้น ในแต่ละประเภทรางวัล เพื่อมอบให้รัฐวิสาหกิจที่มีผลงานดีเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และยังรักษาความโดดเด่นจนได้รับรางวัลในปีนี้ไว้ได้ด้วย โดย 5 ประเภทรางวัลมีดังนี้ ประเภทรางวัล รัฐวิสาหกิจที่ได้รับรางวัล ประจำปี 2551 1. รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจมีการดำเนินงานที่เป็นเลิศ สามารถดำเนินภารกิจและสนองตอบต่อความต้องการและความคาดหวังของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียด้วยความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ พิจารณาจากผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ทั้งด้านการเงินและมิใช่การเงิน การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับองค์กรอื่นในธุรกิจ รวมทั้ง เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ ในปีที่ผ่านมา 1. รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น รางวัลดีเด่น • การไฟฟ้านครหลวง • บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด รางวัลเกียรติยศ • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร • บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) 2. รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่อันดีของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีบทบาทในการกำกับดูแล กำหนดทิศทาง กลยุทธ์และนโยบาย จนทำให้ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ มีพัฒนาการและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้แทนที่ดีในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจอันเป็นสมบัติของรัฐและประชาชน 2. รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น • การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร • บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) 3. รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการองค์กรที่ดีในระบบงานหลักของรัฐวิสาหกิจ ทั้งในด้านการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน การบริหารจัดการสารสนเทศ และการบริหารทรัพยากรบุคคล ส่งผลให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรอย่างยั่งยืน 3. รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น รางวัลดีเด่น • การประปานครหลวง • บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) รางวัลเกียรติยศ • การไฟฟ้านครหลวง • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย • บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 4. รางวัลการดำเนินการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสและจิตสำนึกในการดำเนินงานขององค์กรในปัจจุบันที่จะต้องคำนึงถึงการทำงาน หรือการคิดริเริ่มโครงการเพื่อตอบแทนสังคมโดยไม่คาดหวังผลตอบแทนใด ๆ และไม่ทำไปเพราะเป็นภารกิจ หน้าที่ หากแต่ทำไปเพราะตระหนักในความสำคัญของการอยู่ร่วมกันและสร้างประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันในสังคม โดยพิจารณาจาก นโยบายที่ชัดเจนขององค์กร แผนการดำเนินงาน หรือกระบวนการที่สนับสนุนการมีส่วนร่วม และการสร้างจิตสำนึกของพนักงานในการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งโครงการหรือกิจกรรมที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน 4. รางวัลรางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประเภทดีเด่น • การไฟฟ้านครหลวง • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร • บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) 5. รางวัลพัฒนาปรับสถานภาพองค์กรดีเด่น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐวิสาหกิจตระหนักและให้ความสำคัญในการที่จะฟื้นฟูและปรับปรุงพัฒนากิจการของตนให้มีผลประกอบการที่ดี มีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดภาระหรือสามารถลดภาระของรัฐที่มีต่อรัฐวิสาหกิจลงได้ โดยพิจารณาจาก รัฐวิสาหกิจที่มีการพัฒนาปรับสถานะขององค์กรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน มีผลประกอบการด้านการเงิน และพัฒนาระดับผลการดำเนินการ รวมทั้งมีแนวโน้มความยั่งยืนของการพัฒนาในอนาคต 5. รางวัลพัฒนาปรับปรุงสถานภาพองค์กรดีเด่น ไม่มีรัฐวิสาหกิจที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit