กรีนพีซเรียกร้องฟื้นมติ ครม. ห้ามทดลองจีเอ็มโอในแปลงเปิด หวั่นห่วงโซ่อาหารไทยเกิดการปนเปื้อน

กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--กรีนพีซ

กรีนพีซจี้รัฐบาลปัดฝุ่นมติ ครม.จีเอ็มโอยุคขิงแก่เสียใหม่ หวั่นอนาคตเกษตรกรรมไทยตกอยู่ในภาวะเสี่ยงจากการปนเปื้อนจีเอ็มโอหากกระทรวงเกษตรฯเพิกเฉยที่จะปกป้องภาคเกษตรกรรมของประเทศ ข้อเรียกร้องดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการเปิดเผยรายงานสถานการณ์การปนเปื้อนจีเอ็มโอ ปี 2550 ซึ่งแหล่งที่มาของข้อมูลในรายงานฉบับนี้รวบรวมจากเหตุการณ์การปนเปื้อนจีเอ็มโออย่างผิดกฎหมายที่เกิดขึ้นทั่วโลก รายงานดังกล่าวระบุกรณีการปนเปื้อนจีเอ็มโอที่เกิดขึ้นทั่วโลกทั้งหมด 39 กรณี และหนึ่งในนั้นคือ การปนเปื้อนของข้าวโพดจีเอ็มโอในประเทศไทย ที่มีรายงานการพบการปนเปื้อนในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา การปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอเพื่อการค้าหรือแม้กระทั่งการทดลองในพื้นที่เปิดเป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายในประเทศไทยในขณะนั้น แต่กลับพบข้าวโพดจีเอ็มโอปนเปื้อนอยู่ในแปลงข้าวโพดของเกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งอยู่ใกล้กับแปลงทดลองของบรรษัทเคมีเกษตรยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง บริษัทมอนซานโต และจากบันทึกของกรมวิชาการเกษตรระบุว่า เมื่อปี พ.ศ. 2542 มอนซานโตได้ขอนำเข้าข้าวโพดจีเอ็มโอจากประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 5 กิโลกรัม เพื่อทดลองปลูกในแปลงทดลอง “การปนเปื้อนจีเอ็มโอที่ระบุในรายงานนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปนเปื้อนที่สามารถระบุได้เท่านั้น ในความเป็นจริงการปนเปื้อนโดยเฉพาะข้าวและข้าวโพดจีเอ็มโอได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพืชจีเอ็มโอควบคุมไม่ได้ และการที่รัฐบาลไม่ดำเนินการเพื่อยับยั้งการคุกคามของพืชจีเอ็มโอ เท่ากับว่ารัฐพยายามผลักให้แหล่งอาหารและความมั่นคงทางชีวภาพของเราอยู่ในภาวะอันตราย” นางสาวณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว ที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยเกิดเหตุการณ์การปนเปื้อนจีเอ็มโอขึ้นแล้วหลายครั้ง ครั้งแรกในปี 2542 ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยอนุญาตให้ทดลองพืชจีเอ็มโอได้ในแปลงทดลองแบบเปิดเท่านั้น แต่กลับพบฝ้ายจีเอ็มโอปนเปื้อนออกสู่แปลงของเกษตรกร หลังจากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2547 กรีนพีซเปิดโปงกระทรวงเกษตรฯ ว่าเป็นสาเหตุทำให้มะละกอไทยปนเปื้อนจีเอ็มโอ โดยมีการทดลองมะละกอจีเอ็มโอที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน จ.ขอนแก่น และปล่อยให้มีการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์มะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอให้กับเกษตรกรไทยกว่า 2,669 ราย ใน 37 จังหวัดทั่วประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กระทรวงเกษตรฯล้มเหลวในการควบคุมการแพร่กระจายของพืชจีเอ็มโอ สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไทย การปนเปื้อนที่ผิดกฎหมายและไม่พึงประสงค์นี้เป็นเหตุให้ตลาดโลกโดยเฉพาะในยุโรปขาดความเชื่อมั่นต่อการส่งออกมะละกอไทย การปนเปื้อนข้าวโพดจีเอ็มโอถือเป็นความเสี่ยงรุนแรง เนื่องจากละอองเกสรของข้าวโพดนั้นสามารถแพร่กระจายได้ง่ายกว่าพืชชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ข้าวโพดยังเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นๆของประเทศและมีโอกาสสูงที่ประเทศคู่ค้าอย่างสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นอาจยกเลิกการนำเข้าหากมีการปนเปื้อนจีเอ็มโอเกิดขึ้น การปนเปื้อนข้าวโพดจีเอ็มโอที่เกิดขึ้นนั้น เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการทดลองจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดเป็นต้นเหตุของการปนเปื้อนจีเอ็มโอ เนื่องจากพืชจีเอ็มโอไม่สามารถควบคุมการปนเปื้อนได้ ในอดีต ประเทศไทยเคยมีมติคณะรัฐมนตรี 3 เมษายน 2544 ที่ห้ามทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอทุกชนิดในระดับไร่นา แต่รัฐบาลชุดขิงแก่กลับฉวยโอกาสยกเลิกมติดังกล่าวเมื่อเดือนธันวาคม 2550 ก่อนสิ้นวาระเพียงไม่กี่วัน “กรณีล่าสุดนี้เป็นบทเรียนที่ชัดเจนว่าพืชจีเอ็มโอไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อใดที่จีเอ็มโอปนเปื้อนออกสู่ธรรมชาติแล้ว เราจะไม่สามารถเรียกสิ่งแวดล้อมเดิมกลับคืนมาได้ เพราะพืชจีเอ็มโอได้กลืนกินพืชธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการส่งออกของประเทศ” นางสาวณัฐวิภากล่าวเสริม “ทางออกที่ดีที่สุดคือการคงมติ ครม. 3 เมษายน 2544 เอาไว้ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านการส่งออกของไทย รวมทั้งป้องกันไม่ให้พืชจีเอ็มโอเข้าสู่ประเทศและทำให้ภาคเกษตรกรรมไทยต้องล่มสลาย” ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) โทร. 08 5843 7300 วิริยา กิ่งวัชระพงศ์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โทร.08 9487 0678 หรือ 0 2357 1921 ต่อ 115 Wiriya Kingwatcharapong (Nueng) Media Campaigner Greenpeace Southeast Asia, Thailand Office: +662 3571921 #115 Mobile: +6689 4870678 skype: wiriyanueng [email protected]

ข่าวข้อมูลในรายงาน+กระทรวงเกษตรฯวันนี้

ผลสำรวจจากพาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ เผยองค์กรในไทยมีความมั่นใจ ในมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้น

วันนี้ พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (NASDAQ: PANW) ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผยรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงานระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา "การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก" ในปริมาณน้อยที่สุด โดยมีองค์กร 22% ที่พบจำนวนอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งนี้ การปกป้องเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยังคงเป็นข้อกังวลหลัก เพราะบริการพื้นฐานสำคัญ

ความเคลื่อนไหวและแนวโน้มสื่อไทยภายหลังจาก... ส่องแนวโน้มและภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2566 หลังโควิด-19 ผ่อนคลาย — ความเคลื่อนไหวและแนวโน้มสื่อไทยภายหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ผ่อนคลายลงจะเป็นอย่างไร รายงาน...

รายงานเกณฑ์มาตรฐานจาก "อีดีเอ็ม เคาน์ซิล" เผย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลมีบทบาทเชิงกลยุทธ์เพิ่มขึ้น

ผลการศึกษาที่จัดทำขึ้นทุก ๆ 2 ปีพบว่า ตำแหน่ง CDO มีบทบาทเพิ่มขึ้น และมีการจัดการข้อมูลมากขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก อีดีเอ็ม เคาน์ซิล (EDM Council) สมาคมการค้าข้ามอุตสาหกรรมเพื่อการจัดการข้อมูล ...

ก.ล.ต. ยกเว้นการยื่นขออนุญาตและยื่นแบบ filing กรณีขายหลักทรัพย์แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ติดข้อจำกัดของกฎหมายต่างประเทศหรือเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ

ก.ล.ต. ปรับปรุงกฎเกณฑ์ในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพและหุ้นรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ติดข้อจำกัดของกฎหมายต่างประเทศ* หรือต่อ...

อุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อปรับโครงสร้างหลังยุคโควิดเพื่อก้าวสู่อนาคต

การเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคอาจต้องใช้เวลาทั้งชีวิต แต่การล็อกดาวน์เพียงครั้งเดียวทำให้เราต้องเรียนรู้ทุกอย่างใหม่หมด โดยรายงาน Global Entertainment & Media Outlook 2020-2024 ของ PwC เผยให้เห็นว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ทำ...

รายงานประจำปี 2019 ผลของเทรนด์สีต่าง ๆ เก... แอ็กซอลตารายงานผลของเทรนด์สีต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ — รายงานประจำปี 2019 ผลของเทรนด์สีต่าง ๆ เกิดจากรูปแบบของรถยนต์ และความต้องการในแต่ละภูมิภาคแอ็กซอลตา...

IQML Newsletter (01/2019): พบกับ How to ในการมอนิเตอร์สื่อเพื่อผลักดันแคมเปญพีอาร์และของบประมาณได้มากขึ้น

การติดตามความเคลื่อนไหวของสื่อ เพื่อจับแนวโน้มในวงการกลายมาเป็นงานที่ยากขึ้น เพราะสื่อดิจิทัลหน้าใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก อีกทั้งความสะดวกสบายในการเข้าถึงคอนเทนต์ด้วยสมาร์ทโฟน จากข้อมูลในรายงาน...

ไตรมาสที่ 2 ปี 2017 อาชญากรที่เกี่ยวโยงกั... แคสเปอร์สกี้ แลป เผยไตรมาส 2 ปี 2017 พบสแปมเมอร์อาศัยเกาะกระแส WannaCry หาเงิน — ไตรมาสที่ 2 ปี 2017 อาชญากรที่เกี่ยวโยงกับการแพร่กระจายสแปมได้มีความพยายา...

สิ่งมีชีวิตและพันธุ์พืชที่มหัศจรรย์และงดงามชนิดใหม่กว่า 139 ชนิดพันธุ์ ถูกค้นพบในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในปีที่ผ่านมา

ต่อ Soul-sucking “dementor” wasp, ค้างคาว Long-fanged bat, งูปล้องฉนวน Stealthy Wolf Snake และแมลงที่มีขนาดยาวเป็นอันดับสองของโลก คือส่วนหนึ่งของชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชรวมทั้งสิ้น...