กพช. อนุมัติให้ไทยขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว จาก 5,000 เมกะวัตต์ เป็น 7,000 เมกะวัตต์

กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--กระทรวงพลังงาน

กพช. อนุมัติให้ไทยขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว จาก 5,000 เมกะวัตต์ เป็น 7,000 เมกะวัตต์ และอนุมัติร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการใน สปป.ลาว อีก 4 โครงการ นอกจากนี้อนุมัติการจัดตั้งบริษัท กฟผ.อินเตอร์ฯ การอนุมัติแผนแม่บทการนำสายไฟฟ้า ลงใต้ดินของ กฟน. และเห็นชอบร่างแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) (ครั้งที่ 7/2550) วันที่ 18 ตุลาคม 2550 ซึ่งมี นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอที่กระทรวงพลังงานนำเสนอ 5 วาระ ดังนี้ 1. การอนุมัติขยายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว จาก 5,000 เมกะวัตต์ เป็น 7,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 โดยให้มีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ การเพิ่มปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว นับเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศ โดยเมื่อพิจารณาศักยภาพแหล่งผลิตไฟฟ้าใน สปป.ลาว ยังมีแหล่งไฟฟ้าพลังน้ำที่จะขายให้กับประเทศไทยได้อีกจำนวนมาก นอกจากนี้จะเป็นทางเลือกสำหรับการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศในอนาคตและมีต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ต่ำ 2. การอนุมัติร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการใน สปป.ลาว 4 โครงการ ได้แก่ โครงการ น้ำเทิน 1 โครงการน้ำงึม 3 โครงการน้ำเงี้ยบ และโครงการเทิน-หินบุน ส่วนขยาย และมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการตามขั้นตอนให้มีการลงนามสัญญาซื้อขาย ไฟฟ้าต่อไป ซึ่งทั้ง 4 โครงการจะมีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดอายุโครงการอยู่ที่ระดับ 1.94 บาทต่อหน่วย 1.97 บาทต่อหน่วย 1.95 บาทต่อหน่วย และ 1.89 บาทต่อหน่วย ตามลำดับ ทั้งนี้ การอนุมัติร่างสัญญา สปป.ลาว อีก 4 โครงการ จะทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีการ ตกลงรับซื้อไฟฟ้ากับ สปป.ลาว จำนวน 8 โครงการ กำลังผลิตรวม 3,314 เมกะวัตต์ และอยู่ในระหว่างการเจรจาอัตราค่าไฟฟ้ากับโครงการหงสาลิกไนต์ อีกกำลังผลิตประมาณ 1,470 เมกะวัตต์ หากเจรจาตกลงกันได้จะทำให้กำลังผลิตรวมเป็น 4,784 เมกะวัตต์ ที่จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบให้ไทย 3. การอนุมัติการจัดตั้งบริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Egat International Company Limited) โดยจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มีทุนจดทะเบียนขั้นต้น 50 ล้านบาท โดย วัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อเป็นตัวแทน กฟผ. ในการลงทุนโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการของ กฟผ. ในต่างประเทศ โดยสามารถลงทุนและ ร่วมทุนในต่างประเทศได้ ซึ่งแต่ละโครงการจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงาน หรือหากเป็นโครงการที่มีประเด็นนโยบายเป็นพิเศษจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก กพช. อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ บริษัท กฟผ.อินเตอร์ฯ ยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจจะต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 4. การอนุมัติแผนแม่บทโครงการเปลี่ยนระบบสายอากาศเป็นสายใต้ดินในปี 2551-2565ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นผู้พิจารณาวงเงินลงทุนรวม 77,678 ล้านบาท และกระทรวงการคลังเป็น ผู้พิจารณาการจัดหาแหล่งเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ และให้สามารถดำเนินโครงการได้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) รับไปพิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับฐานะการเงินของการไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง แนวทางการชดเชยรายได้และระดับอัตราค่าไฟฟ้าในรายละเอียดเพื่อนำเสนอ กพช. ต่อไป สำหรับพื้นที่เป้าหมาย จะประกอบด้วย ถนนในพื้นที่วงแหวนชั้นใน ถนนลาดพร้าว ถนนรามคำแหง ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนทองหล่อ และถนนเอกมัย ซึ่งเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าหนาแน่น รวมประมาณ 180 กิโลเมตร แบ่งเป็นระยะที่ 1 ปี 2551-2564 ระยะทางประมาณ 119 กิโลเมตร และระยะที่ 2 ปี 2555-2565 ระยะทางประมาณ 61 กิโลเมตร โดยประโยชน์ของโครงการดังกล่าว จะช่วยรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของ ประชาชนในเขตกรุงเทพฯ การช่วยให้สภาพภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในชีวิต และ ทรัพย์สินของประชาชนดียิ่งขึ้น 5. การอนุมัติร่างแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ในช่วง 13 ปีข้างหน้า (2551-2564) โดยให้มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (NPPDO) ขึ้นเป็นหน่วยงานในกระทรวงพลังงาน โดยแผนช่วง 3 ปีแรก (2551-2553) จะเป็นการศึกษาและวางแผนโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ด้านเทคนิคโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ศึกษาความเหมาะสม การคัดเลือกสถานที่ตั้ง การประมาณการค่าใช้จ่าย ฯลฯ นอกจากนั้นจะมีการยกร่างกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแล มาตรฐาน และความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ ซึ่งจะยกร่างแล้วเสร็จภายในปีที่ 3 ซึ่งหากประเทศหรือรัฐบาลชุดใหม่จะตัดสินใจให้ดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็จะมีการเสนอร่างกฎหมายตามขั้นตอนทางนิติบัญญัติเพื่อให้มีการบังคับใช้ ต่อไป และจะสามารถเดินหน้าการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไปได้

ข่าวกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ+นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์วันนี้

บอร์ด ปตท. เคาะแนวทางช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง ยึดมั่นธรรมาภิบาลต่อทุกภาคส่วน

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเทียบเท่า 6,000 ล้านบาท มุ่งช่วยเหลือประชาชน มั่นใจไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่มกราคม เมษายน 2566) และขอความร่วมมือ ปตท

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลั... สนพ. จัดกิจกรรมสัมมนา “สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนPDP 2018” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา — กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัม...

กิจกรรมสัมมนา “การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผน PDP 2018 " ภาคตะวันออก

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัมมนา "การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (Power Development Plan : PDP 2018) ภาคตะวันออก" ซึ่งแผนดังกล่าวได้ผ่านความ...

หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน... นักลงทุนข้ามชาติ ห่วงรัฐไม่เร่งต่อสัญญา SPPกระทบอุตสาหกรรม ฉุด EEC สะดุด — หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 9 สิงหาคม 2561 ระบุว่า ...

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ...

กพช. รับทราบแนวทางการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นอายุ

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีวาระรับทราบในหลักการการบริหารจัดการ...

กกพ. ย้ำหลักการตามนโยบายการกำหนดโครงสร้างค่าฟ้าฟ้าใหม่ ปี 61

"กกพ."ย้ำชัด "ปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่" รอบล่าสุด ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษา เพื่อดูผลกระทบให้รอบด้านอย่างสมดุล พร้อมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนก่อนประกาศใช้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า...