การประชุมวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทยฯ เผย กินหัวปลีป้องกันแผลในกระเพาะอาหารได้จริง

กรุงเทพฯ--10 ก.ย.--DEK

การเกิดแผลในกระเพาะอาหารเป็นความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่พบโดยทั่วไป และได้รับความสนใจศึกษาทั้งจากแพทย์และนักวิจัย อาการของโรคนี้แม้จะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมาน และมีโอกาสกลับมาเป็นโรคนี้ใหม่ได้อีก ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมียาหลายชนิดที่ใช้ป้องกันและรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่ยาเหล่านี้กลับก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยในกรณีที่ใช้มาก อาทิ เกิดผลต่อตับหรืออวัยวะในร่างกาย ซึ่งแตกต่างจากการใช้พืชสมุนไพรในการรักษา ในการประชุมวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ที่จัดโดยกรมพัฒนาแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาคี ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 31 สิงหาคม 2550 ได้นำเสนอผลงานวิจัยของ คุณสิรดา ศรีหิรัญ อาจารย์ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ ที่ได้นำสารที่สกัดจากหัวปลีด้วยแอลกอฮอล์มาใช้ทดสอบความสามารถในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวในโมเดลที่ถูกชักนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร จาก เอทานอล อินโดเมทาซีน และความเครียด ซึ่งป็น 3 ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารในคน เช่น คนที่ดื่มสุรา (เอทานอล) จำนวนมาก และเป็นประจำ หรือ คนที่กินยาแก้ปวด อินโดเมทาซีน หรือ กลุ่มยาแก้อักเสบ เช่น เพนนิซิลิน ซึ่งกัดกระเพาะอาหารจนเกิดเป็นแผลได้ หรือความเครียด ซึ่งผลการวิจัย พบว่าการใช้สารสกัดจากหัวปลีสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้มากถึง 47.88 – 87.63% โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกิดแผลในกระเพาะอาหารโดยเอทานอลจากการดื่มสุราอยู่เป็นประจำ เป็นการยืนยันภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้หัวปลีในการรักษา และป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้จริง ซึ่งกล้วยและหัวปลี เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการใช้สมุนไพรที่มีอยู่มากมายในประเทศที่สามารถใช้รักษา และป้องกันโรคได้ โดยไม่เกิดผลข้างเคียง และยังเป็นประโยชน์ ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ การประชุมวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทยฯ ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ที่ผ่านมา มีผลงานวิจัยมากมายที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละภูมิภาคใช้สมุนไพรในการป้องกัน และรักษาโรค ซึ่งการประชุมวิชาการนี้นำประโยชน์จากงานวิจัยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อไป พบกับผลงานวิจัยดีๆ ได้ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติได้ในครั้งต่อไป สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวระบบทางเดินอาหาร+การประชุมวิชาการวันนี้

APDW 2023 งานประชุมฯ ระบบทางเดินอาหารใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ส่งเสริมแพทย์ไทยในเวทีนานาชาติ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ต้อนรับคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการทางด้านทางเดินอาหารกว่า 3,000 คนจาก 60 ประเทศเข้าร่วม "การประชุมวิชาการระบบทางเดินอาหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก" หรือ "Asian Pacific Digestive Week 2023 (APDW 2023)" ซึ่งเป็นงานประชุมทางด้านทางเดินอาหารที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำเสนอ และแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในโรคระบบทางเดินอาหารในระดับนานาชาติ เปิดโอกาสให้บุคลากรทางการแพทย์ไทยและนานาชาติโชว์ศักยภาพในเวทีนานาชาติ พร้อมร่วมขับเคลื่อน

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหา... เคล็ดลับความสำเร็จจากศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในวันสตรีสากลสำหรับแพทย์หญิงรุ่นใหม่ — เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ...

พญ.นฤภร ต่อศิริสุข กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต... โรต้าไวรัสโรคฮิต.. ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก — พญ.นฤภร ต่อศิริสุข กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม คลินิกเด็ก ศูนย์แม่และเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว...

หน้าหนาวแบบนี้ มีโรคใหม่กำลังระบาดอีกแล้ว... รู้ทันสัญญาณอันตราย "โนโรไวรัส (Norovirus)" — หน้าหนาวแบบนี้ มีโรคใหม่กำลังระบาดอีกแล้ว!! นั่นก็คือ "โนโรไวรัส" มักเกิดขึ้นในเด็ก ซึ่งตอนนี้มีเด็ก ๆ ติด...

ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใคร... ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใครบ้างที่เสี่ยง? — ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใครบ้างที่เสี่ยง? จากข่าว "โนโรไวรัส" ที่กำลังระบาดในหลายพ...

การตรวจสุขภาพพื้นฐานเป็นสิ่งที่ควรตรวจเป็... ตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร จำเป็นไหม ใครควรตรวจ? — การตรวจสุขภาพพื้นฐานเป็นสิ่งที่ควรตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดโรค และนอกจ...