อินเตอร์พลาส-โมลล์ กองทัพเครื่องจักรกว่า 400 บริษัท 18 ประเทศทั่วโลก เสริมแกร่งกำจัดจุดอ่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและแม่พิมพ์ไทย

กรุงเทพฯ--17 พ.ค.--รี้ด เทรดเด็กซ์

สถาบันไทย – เยอรมัน ชี้พัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคและช่างฝีมือแรงงานแม่พิมพ์ในประเทศจะช่วยลดการนำเข้าได้ปีละ 2-3% กระตุ้นผู้ประกอบการไทยเร่งพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์-พลาสติก ลดการนำเข้าตั้งเป้าให้เหลือ 10,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปีนับจากปี 2549 เสริมแกร่งการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย – เยอรมัน (ทีจีไอ) ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการผลิตมาตราฐานระดับสากลสำหรับภาคอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมหลักที่สำคัญหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งปี 2550 คาดว่าจะเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นถึง ร้อยละ 50-55 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20%ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ โดยเฉพาะการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญเป็นอันดับ 2ของโลกและมีสัดส่วนส่งออกถึง 67% ของการส่งออกรวมของโลกทั้ง 2 อุตสาหกรรมนี้ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้แม่พิมพ์จำนวนมากมาช่วยในการผลิตโดยแม่พิมพ์ดังกล่าวต้องใช้เวลาออกแบบและเทคโนโลยีค่อนข้างสูงจึงจะได้ชิ่นงานมีคุณภาพออกมา การที่ผู้ผลิตไทยจะสามารถผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกได้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาแม่พิมพ์ให้ดีมีประสิทธิภาพและ พัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคและช่างฝีมือแรงงานในประเทศจะช่วยลดการนำเข้าได้ปีละ 2-3% ทำให้มีการผลิตแม่พิมพ์ขึ้นมาใช้เองภายในโรงงานมากขึ้น โดยในปี 2549 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในไทย สามารถลดการนำเข้าเครื่องจักรได้ถึง 10% หรือคิดเป็นมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท จากปี 2548 ที่มีการนำเข้าทั้งสิ้น 2.7 หมื่นล้านบาท เพื่อสนองนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ลดการนำเข้าตั้งเป้าให้เหลือ 10,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปีนับจากปี 2549 สถาบันไทย-เยอรมัน จึงได้ร่วมกับบริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด จัดสัมมนาเพื่อกระตุ้นผู้ประกอบการไทยเร่งพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์-พลาสติก เสริมแกร่งการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ในงานอินเตอร์พลาสไทยแลนด์ 2007 และอินเตอร์โมล์ 2007 ระหว่างวันที่ 21 – 24 มิถุนายนนี้ ณ ไบเทค บางนา ในหัวข้อต่างๆ อาทิ การใช้นาโนเทคโนโลยีในการขึ้นรูปพลาสติก และโพลิเมอร์ , การวิจัยและพัฒนาวัสดุ และเทคโนโลยีแม่พิมพ์ พลาสติก ยางและโลหะ รวมถึง กรณีศึกษาการใช้ CAE ออกแบบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก, ให้มีคุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการพัฒนาความสามารถในการผลิตของตนเอง เพื่อสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้โดยเน้นให้ผู้ประกอบการพลาสติก ยาง และแม่พิมพ์ให้สามารถวิเคราะห์ถึงปัญหาในการผลิต พร้อมแนวทางแก้ไขได้อย่างถุกต้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ขีดความสามาถในการแข่งขันของโรงงานตนเองต่อไป โดยผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ CONTACT CENTER โทร. 02-686-7222 โทรสาร 02- 686-7266 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย นายชัยณรงค์ ลิมป์กิตติสิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเตรียมจัดงาน“อินเตอร์พลาส ไทยแลนด์ 2007” ครั้งที่ 16 งานแสดงเครื่องจักร และเทคโนโลยีการผลิตที่จัดขึ้นเพื่ออุตสาหกรรมพลาสติกครบวงจร อาทิ เครื่องรีด ฉีด เป่า ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติกไทย และงานอินเตอร์โมลล์ไทยแลนด์ ครั้งที่ 15 งานแสดงเครื่องจักร และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมแม่พิมพ์และการขึ้นรูปอย่างครบวงจร ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2550 ณ ไบเทค บางนา มีบริษัทเข้าร่วมแสดงเทคโนโลยีพลาสติกมากกว่า 180 บริษัท จาก 14 ประเทศทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน ฮ่องกง เยอรมัน อิตาลี อเมริกา อังกฤษ และมี บริษัทเข้าร่วมแสดงเทคโนโลยีแม่พิมพ์ กว่า 250 บริษัท 18 ประเทศทั่วโลก คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 45,000คน และมีเงินสะพัดจากการซื้อขายเครื่องจักรมากกว่า 1พันล้านบาท ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ฉานนิภา วลาพล 0-2686-7251 0-89222-7173

ข่าวณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร+อุตสาหกรรมพลาสติกวันนี้

ภาพข่าว: สัมมนา "อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สู่ผู้นำในอาเซียน"

ภายใต้ความร่วมมือของ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันไทย-เยอรมัน และโครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย พร้อมวิทยากร นายมาณพ ชิวธนาสุนทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (3 จากขวา) นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน (2 จากขวา) นายวิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย (2 จากซ้าย) นายบุนชาน กุลวทัญญู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (ขวาสุด) และ ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์

ภาพข่าว: สัมมนา “อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สู่ผู้นำในอาเซียน”

มาณพ ชิวธนาสุนทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน ร่วมสัมมนาในเรื่อง “อนาคตอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ความท้าทายในตลาดอาเซียน” เพื่อให้เกิดการผลักดันอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยไปอาเซียน โดยมี ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)...

สถาบันไทย-เยอรมัน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

ศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย–เยอรมัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขยายบริการด้านการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิต ...

ภาพข่าว: สถาบันไทย-เยอรมัน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

ศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย–เยอรมัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขยายบริการด้านการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเทคโน...

อุตฯ'แม่พิมพ์' สดใสรับอานิสงส์อีโคคาร์

" สถาบันไทย-เยอรมัน " ประเมินแนวโน้มอุตฯแม่พิมพ์ปีนี้ขยายตัวแน่ 20% หลังมีการลงทุนโครงการ อีโคคาร์ พร้อมเร่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตสินค้าคุณภาพตอบสนองความต้องการตลาด/ลดนำเข้า เผยผู้ผลิตขนาดกลางมีความพร้อมยกระดับประสิทธิภาพมากที่สุด ร.ศ. ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร...

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ พัฒนาสารสนเทศ สร้างดัชนี เตือนภัย

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รุกยุทธศาสตร์พัฒนาสารสนเทศ รวมข้อมูลอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยทั้งระบบ จัดทำเป็นดัชนีสร้างระบบเตือนภัยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยใช้เป็นเข็มทิศพัฒนาธุรกิจ ย้ำข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว เข้าถึง ...

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ นำผู้ประกอบแม่พิมพ์ไทย ร่วมแสดงสินค้าในงาน MTV VIETNAM 2007

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ นำผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ระดับเอสเอ็มอี จำนวน 10 ราย เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเครื่องจักรกลโลหะการ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมระดับนานาชาติ ( MTA VIETNAM 2007 ) เพื่อเสริมวิสัยทัศน์...

ภาพข่าว: 1 ทศวรรษ TGI

รศ. ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน(TGI) (ที่ 2 จากซ้าย) เป็นประธานมอบรางวัลชนะเลิศ ประเภท PLC-Siemens ให้กับนายวัชรุตม์ ศรีสว่าง พนักงานส่วนไฟฟ้า-แผนกเทคนิคและพัฒนา บริษัท พัฒน์กล จำกัด(มหาชน)(คนกลาง) จากการประกวดแข่งขันทักษะฝีมือช่าง(PLC Programming Contest) ...

อินเตอร์พลาส-โมลล์ กองทัพเครื่องจักรกว่า 400 บริษัท 18 ประเทศทั่วโลก เสริมแกร่งกำจัดจุดอ่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและแม่พิมพ์ไทย

สถาบันไทย – เยอรมัน ชี้พัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคและช่างฝีมือแรงงานแม่พิมพ์ในประเทศจะช่วยลดการนำเข้าได้ปีละ 2-3% กระตุ้นผู้ประกอบการไทยเร่งพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์-พลาสติก...

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รุกต่อเนื่อง เปิดโครงการโรงงานต้นแบบ รุ่น 2

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ย้ำนโยบาย Be part of you…Be part of the future เปิดโครงการ M&D Best รุ่น 2 พัฒนาโรงงานแม่พิมพ์ต้นแบบ ที่มีความเป็นเลิศ หวังบูรณาการมาตรฐาน และความสามารถในการประกอบการของโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์...