บุคคลชั้นนำและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ ร่วมประชุมในกรุงเทพฯ เพื่อเจรจาและเสริมสร้างพันธมิตร

14 Mar 2007

กรุงเทพฯ--14 มี.ค.--เทิล ควอลิตี้ พีอาร์

อธิการบดี อธิการบดีกิตติคุณ คณบดี ตัวแทนจากทั้ง 7 คณะ/สถาบันการศึกษา และกลุ่มนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ (WUSTL) จะเข้าร่วมประชุมกับบุคคลชั้นนำของเอเชียและคณะผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 11-13 มีนาคม 2550 โดย อธิการบดี มาร์ค เอส. ไร้ท์ตั้น กล่าวว่า จุดประสงค์หลักของการมาเยือนครั้งนี้เพื่อติดตามและเจรจาความคืบหน้าในการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเอเชียชั้นนำทั้ง 16 แห่ง ซึ่งรู้จักกันในนามของกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ ( McDonnell International Scholars Academy )

นอกจากนี้ การมาในครั้งนี้ยังมีกำหนดจัดงานสัมมนา โดยคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ (WUSTL) ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กฎหมายสากล ธุรกิจ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ศิลปศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมในการสัมมนาดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน

นับตั้งแต่ปี 2538 มร. ไร้ท์ตั้น ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สถานศึกษาและสถาบันเพื่อการวิจัยที่มีมูลค่ามากถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ US News and World Report ได้จัดอันดับให้ติดอันดับของหนึ่งในสิบสองสถาบันที่ดีที่สุด มร.ไร้ท์ตั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และได้รับรางวัล MacArthur “Genius” Award ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และยังเป็นอดีตประธานที่ประชุมการศึกษาธุรกิจขั้นสูงแห่งสหรัฐอเมริกา ท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานสมาคมมหาวิทยาลัยแห่งอเมริกาในช่วงปี 2547-48 ซึ่งประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยชั้นนำ 62 แห่งในอเมริกาเหนือ

ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันผู้มาเยือนประเทศไทยจะเข้าร่วมประชุมกับสมาชิกของคณะที่ปรึกษานานาชาติสำหรับเอเชียของมหาวิทยาลัย (IACA) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำทางการศึกษาและนักธุรกิจดีเด่นจาก 10 ประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ถึงคุณสุเมธ เจียรวานนท์ ประธานบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในประเทศไทย งานประชุม IACA ในกรุงเทพฯ จะจัดขึ้น ณ โรงแรมเพนนินซูล่า ในวันที่ 11-13 มีนาคม ผู้เข้าร่วมประชุมรวมไปถึงอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

ในขณะที่งานสัมมนาจะจัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน อาทิ:

  • ศ. ดร. สตีเฟ่น เอช. เลอกอมสกี้ นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงงระดับนานาชาติทางด้านกฎหมายการย้ายถิ่นฐาน และเป็นอาจารย์รับเชิญทั้งที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์
  • ศ. ดร. พราทิม บิสวาส ประธานสมาคมการศึกษาวิจัยละอองของเหลวในอากาศแห่งสหรัฐอเมริกาและหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเคมีของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
  • ศ.นพ. แฟรงค์ ซี.พี. ยิน เป็นนักวิศวะชีวเวชผู้มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นผู้นำของโครงการทางวิศวะเวชศาสตร์ชั้นนำโครงการหนึ่งของอเมริกา ซึ่งก่อตั้งมาเกือบหนึ่งทศวรรษ การไหลเวียนของโลหิตและกลไกการทำงานของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อการค้นคว้าที่ได้รับการบุกเบิกโดย นพ. ยิน
  • ศ. ดร. เชอร์รี่ ไดค์ ผู้อำนวยการห้องทดลองด้านการควบคุมโครงสร้างและวิศวกรรมแผ่นดินไหวของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมเพื่อรับมือแผ่นดินไหวของสิ่งก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยียุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสะพานที่มีช่วงกลางยาว
  • ศ. ดร. เจมส์ ที. ลิตเติ้ล ผู้อำนวยการของหลักสูตร EMBA ซึ่งติดอันดับ 1 ในประเทศจีน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เกิดจากร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยวอชิงตันและมหาวิทยาลัยฟูดาน ณ นครเซี่ยงไฮ้ อีกทั้งท่านยังเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน โปรแกรมยุโรปนานาชาติ
  • ศ. ดร. โกแทม เอ็น. ยาดามะ ทูตมหาวิทยาลัยวอชิงตันประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำหรับกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Program) ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับการที่ประชากรผู้ด้อยโอกาสสามารถมีหน้าที่การงานในประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ยังมีผู้นำอีกหลายท่านที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยพร้อมกับอธิการบดีมาร์ค เอส. ไร้ท์ตั้น ได้แก่ จอห์น เอฟ. แม็คดอนเนลล์ อดีตประธานกรรมการบริษัทแม็คดอนเนลล์ ดักลาส คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์; วิลเลี่ยม เอช. แดนฟอร์ท อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์; ราล์ฟ เอส. ควอตราโน หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และศาสตราภิชาน เงินทุน Spencer T. Olin; เอ็ดวาร์ด เอส. มาเซียส รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและคณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านมลภาวะอากาศ; โรเบิร์ต อี. แตช คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์; แมรี่ แซนซาโลน คณบดีสถาบันวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ประยุกต์; มาเฮนดรา อาร์. กุพต้า คณบดีแห่งสถาบันธุรกิจโอลิน; เอ็ดวาร์ด เอฟ. ลอร์เลอร์ คณบดีแห่งสถาบันสังคมสงเคราะห์บราวน์; คาร์มอน โคแลนเจโล่ คณบดีคณะการออกแบบและทัศนศิลป์ แซม ฟ็อกซ์; เจฟฟ์ ไพค์ คณบดีวิทยาลัยศิลปศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัยศิลปศาสตร์; แลร์รี่ เจ. ชาปิโร่ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารกิจการแพทย์และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน; เค็นท์ ดี. ซีเวอรุด คณบดีคณะนิติศาสตร์; เจอรัลด์ เออร์รี่ ผู้อำนวยการศูนย์มนุษยชาติ; และเจมส์ วี. เวิร์ช ผู้อำนวยการกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ เป็นสถาบันการศึกษาขนาดกลางอิสระของเอกชนที่เน้นทั้งการสอนและการทำวิจัย โดยถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มีผู้รับรางวัลโนเบลจำนวนถึง 22 ท่าน ที่ผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน โดย 9 ท่านในจำนวนนี้ได้ทำส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เป็นต้นแบบสำคัญในประเด็นต่างๆ ณ ที่แห่งนี้

นักศึกษาปริญญาตรี บุคคลทำงาน และบัณฑิตราว 13,500 คนที่ลงทะเบียบกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน มาจาก 50 รัฐ และในอีกมากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก มหาวิทยาลัยมีคณาจารย์ 3,098 ท่าน ทำการสอนใน 7 คณะ/สถาบัน ได้แก่ ศิลปศาสตร์ สถาบันธุรกิจโอลิน สถาบันการออกแบบและทัศนศิลป์ แซม ฟ็อกซ์ คณะวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะนิติศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และสถาบันสังคมสงเคราะห์บราวน์

มหาวิทยาลัยฯมีหลักสูตรมากกว่า 90 หลักสูตร และ 1,500 รายวิชาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยระบบการเรียนการสอนมีทั้งแบบดั้งเดิมและสหวิทยาการ พร้อมหลักสูตรวิชาโทและหลักสูตรที่มุ่งหัวข้อความสนใจเฉพาะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

ฤทัยวรรณ ตันวงษ์วาน

บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 0-2260-5820 ต่อ 114 โทรสาร 0-2260-5847-8 อีเมล์: [email protected]

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net