1 ทศวรรษ สถาบันไทย-เยอรมัน พัฒนารากฐานอุตสาหกรรมไทย สู่การแข่งขันอย่างยั่งยืน

กรุงเทพฯ--27 มี.ค.--นิวส์ เพอร์เฟค

สถาบันไทย-เยอรมัน เผยผลงาน 10 ปี ในฐานะผู้นำเครือข่ายความร่วมมือด้านการสนับสนุนอุตสาหกรรมของประเทศ จากระดับฐานรากสู่การขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับนโยบายหลักด้านการพัฒนาประเทศ พร้อมเตรียมจัดงานยิ่งใหญ่ ฉลองครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้งสถาบันฯ รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน ( TGI ) เปิดเผยว่า 10 ปีของการก่อตั้งสถาบันไทย-เยอรมัน ได้มีส่วนผลักดันให้เกิดการพลิกโฉมบุคลากรด้านเทคนิค และการพัฒนาช่างฝีมือแรงงานภายในประเทศ ให้มีศักยภาพตรงตามความต้องการของตลาด มีการลงทุนในด้านอุปกรณ์ เครื่องจักรต่างๆ สำหรับการฝึกอบรม สัมมนา และให้ความร่วมมือทางด้านวิชาการต่างๆ ไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การดำเนินงานพัฒนาของสถาบันฯ นอกจากจะมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถทางการผลิตให้กับอุตสาหกรรมไทยแล้ว ยังได้มีส่วนร่วมดำเนินงานและเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลในการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และสร้างมาตรฐานให้กับบุคลากรด้านเทคนิค ให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน “ผลงานรูปธรรมที่สถาบันไทย – เยอรมัน พัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ กับเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ การสร้างเครื่องย่อยทำลายธนบัตรให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย การพัฒนาซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง การพัฒนาช่างแม่พิมพ์และช่างเทคนิคให้กับบริษัทต่างๆ นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้เตรียมความพร้อมในการพัฒนาตนเอง โดยวางแผนการดำเนินงานในภาพรวมที่นำไปสู่ความเป็นมืออาชีพระดับสากลโดยร่วมมือกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สถาบันฯไปถึงจุดที่เรียกได้ว่าเป็น Hi-Tech Institute ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในตลาดโลกได้” ผลงานของสถาบันไทย-เยอรมัน ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ อาทิ การสานงานของภาครัฐในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศในแต่ละช่วง โครงการเพิ่มทักษะเสริมศักยภาพครูฝึก และร่วมร่างมาตรฐานของฝีมือแรงงาน การบูรณาการพันธกิจและทรัพยากรเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทยด้วยการพัฒนาช่างเทคนิค โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ทั้งระบบ และงานสร้างเครื่องจักรกล เป็นต้น สถาบันไทย-เยอรมัน ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2538 โดยเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในปี 2541 จากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย กับประเทศเยอรมัน โดยมีเป้าหมายหลักๆ 3 อย่างด้วยกันคือ 1. การพัฒนาช่างเทคนิค ช่างฝีมือแรงงาน ให้มีระดับความสามารถที่สูงขึ้น 2. การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ทดแทนการนำเข้าเพียงอย่างเดียว และ 3. การทำหน้าที่เชื่อมโยงอุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศ เข้าด้วยกัน เพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอ ที่จะสามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในระดับโลกได้ และตลอด 10 ปีที่ผ่านมาของการดำเนินงาน สถาบันไทย-เยอรมัน ได้มีส่วนอย่างมากในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการเจริญ เติบโตของอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม ไปสู่ความยั่งยืน ควบคู่ไปกับแผนงานพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 4-5 เมษายนนี้ สถาบันไทย-เยอรมัน จะจัดงานฉลองเนื่องในโอกาสการดำเนินงานของสถาบันฯ มาได้ครบ 10 ปี ในชื่องาน “ 1 ทศวรรษ TGI ” ภายใต้แนวคิด “ นวัตกรรม : เครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และผลิตภาพ ” โดยจะมีนิทรรศการเกี่ยวกับการก่อตั้งสถาบันไทย-เยอรมัน ตั้งแต่เริ่มแรกมาจนถึงปัจจุบัน งานสัมมนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงด้านงานแม่พิมพ์ โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ การประชุมเสวนาในหัวข้อต่างๆ งานแสดง และสัมมนาสุดยอด CAD/CAM/CAE การแข่งขันฝีมือช่างในด้านต่างๆ และการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ นวัตกรรม และการเพิ่มผลิตภาพ ทางรอดอุตสาหกรรมไทย ” โดย ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ เป็นต้น เกี่ยวกับสถาบันไทย-เยอรมัน : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีบทบาทในการช่วยเหลือ ฝึกอบรมและให้คำปรึกษา ในการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมการผลิต มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านแม่พิมพ์ เทคโนโลยีการพัฒนา และการผลิต ระบบอัตโนมัติ ต่างๆ กว่า 100 คน เป็นองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คุณยอดยิ่ง แสนยากุล ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ สถาบันไทย-เยอรมัน โทรศัพท์ 081 376 3690 E-mail : [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร+อุตสาหกรรมไทยวันนี้

ภาพข่าว: สัมมนา "อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สู่ผู้นำในอาเซียน"

ภายใต้ความร่วมมือของ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันไทย-เยอรมัน และโครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย พร้อมวิทยากร นายมาณพ ชิวธนาสุนทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (3 จากขวา) นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน (2 จากขวา) นายวิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย (2 จากซ้าย) นายบุนชาน กุลวทัญญู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (ขวาสุด) และ ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์

ภาพข่าว: สัมมนา “อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สู่ผู้นำในอาเซียน”

มาณพ ชิวธนาสุนทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน ร่วมสัมมนาในเรื่อง “อนาคตอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ความท้าทายในตลาดอาเซียน” เพื่อให้เกิดการผลักดันอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยไปอาเซียน โดยมี ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)...

สถาบันไทย-เยอรมัน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

ศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย–เยอรมัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขยายบริการด้านการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิต ...

ภาพข่าว: สถาบันไทย-เยอรมัน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

ศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย–เยอรมัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขยายบริการด้านการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเทคโน...

อุตฯ'แม่พิมพ์' สดใสรับอานิสงส์อีโคคาร์

" สถาบันไทย-เยอรมัน " ประเมินแนวโน้มอุตฯแม่พิมพ์ปีนี้ขยายตัวแน่ 20% หลังมีการลงทุนโครงการ อีโคคาร์ พร้อมเร่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตสินค้าคุณภาพตอบสนองความต้องการตลาด/ลดนำเข้า เผยผู้ผลิตขนาดกลางมีความพร้อมยกระดับประสิทธิภาพมากที่สุด ร.ศ. ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร...

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ พัฒนาสารสนเทศ สร้างดัชนี เตือนภัย

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รุกยุทธศาสตร์พัฒนาสารสนเทศ รวมข้อมูลอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยทั้งระบบ จัดทำเป็นดัชนีสร้างระบบเตือนภัยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยใช้เป็นเข็มทิศพัฒนาธุรกิจ ย้ำข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว เข้าถึง ...

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ นำผู้ประกอบแม่พิมพ์ไทย ร่วมแสดงสินค้าในงาน MTV VIETNAM 2007

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ นำผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ระดับเอสเอ็มอี จำนวน 10 ราย เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเครื่องจักรกลโลหะการ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมระดับนานาชาติ ( MTA VIETNAM 2007 ) เพื่อเสริมวิสัยทัศน์...

ภาพข่าว: 1 ทศวรรษ TGI

รศ. ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน(TGI) (ที่ 2 จากซ้าย) เป็นประธานมอบรางวัลชนะเลิศ ประเภท PLC-Siemens ให้กับนายวัชรุตม์ ศรีสว่าง พนักงานส่วนไฟฟ้า-แผนกเทคนิคและพัฒนา บริษัท พัฒน์กล จำกัด(มหาชน)(คนกลาง) จากการประกวดแข่งขันทักษะฝีมือช่าง(PLC Programming Contest) ...

อินเตอร์พลาส-โมลล์ กองทัพเครื่องจักรกว่า 400 บริษัท 18 ประเทศทั่วโลก เสริมแกร่งกำจัดจุดอ่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและแม่พิมพ์ไทย

สถาบันไทย – เยอรมัน ชี้พัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคและช่างฝีมือแรงงานแม่พิมพ์ในประเทศจะช่วยลดการนำเข้าได้ปีละ 2-3% กระตุ้นผู้ประกอบการไทยเร่งพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์-พลาสติก...

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รุกต่อเนื่อง เปิดโครงการโรงงานต้นแบบ รุ่น 2

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ย้ำนโยบาย Be part of you…Be part of the future เปิดโครงการ M&D Best รุ่น 2 พัฒนาโรงงานแม่พิมพ์ต้นแบบ ที่มีความเป็นเลิศ หวังบูรณาการมาตรฐาน และความสามารถในการประกอบการของโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์...