สู่ทศวรรษที่ 2 สถาบันไทย-เยอรมัน ชู “ นวัตกรรม ” พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย

กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--สถาบันไทย-เยอรมัน

สถาบันไทย-เยอรมัน ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ชู “ นวัตกรรม ” เป็นหัวหอกในการ เพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต ผนึกเครือข่ายพันธมิตรพัฒนาองค์ความรู้ บุคลากร และเทคโนโลยีให้อุตสาหกรรมไทย หวังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชีย รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมัน เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ ในการก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 ของสถาบันไทย-เยอรมัน ว่า สถาบันฯ วางตำแหน่งตนเองไว้ในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ที่ต้องมีความเป็นเลิศในการพัฒนา การถ่ายทอด และการจัดการในระดับมาตรฐานสากล มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาเพื่อให้บริการในด้านต่างๆมีความสำคัญ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง พร้อมร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในการวางรากฐานที่มั่นคงทั้งด้านการพัฒนาองค์ความรู้ บุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อนำพาสถาบันฯ ไปสู่อนาคตของการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย โดยเฉพาะในโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ “ ในการก้าวสู่ปีที่ 11 สถาบันไทย-เยอรมัน จะชูแนวคิด นวัตกรรม : เครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และผลิตภาพ เพื่อพัฒนา และผลักดันอุตสาหกรรมต่างๆโดยรวมของประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมต่างๆของโลกได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า นวัตกรรม เท่านั้น ที่เป็นทางออกของการแข่งขันในโลกปัจจุบัน เนื่องจากต้นทุนในด้านต่างๆของประเทศไทย ที่เคยเป็นข้อได้เปรียบในอดีต ไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบที่จะสามารถนำมาใช้ในการแข่งขันได้อีกแล้ว จึงเป็นพันธกิจของสถาบันฯ โดยตรงในการชี้นำ และพัฒนาออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อนำร่องให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศ ” รศ.ณรงค์ กล่าว และตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา สถาบันไทย-เยอรมัน ได้มีส่วนอย่างมากในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม ไปสู่ความยั่งยืน ควบคู่ไปกับแผนงานของการพัฒนาประเทศ และได้ริเริ่มดำเนินพันธกิจสำคัญต่างๆเป็นจำนวนมาก ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยดำเนินงานอยู่ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม และมีคณะกรรมการสถาบันฯ คอยกำกับดูแล ด้านผลงานรูปธรรมที่สถาบันไทย–เยอรมันพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ กับเครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ การสร้างเครื่องย่อยทำลายธนบัตรให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย การพัฒนาซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง การพัฒนาช่างแม่พิมพ์ และช่างเทคนิคให้กับบริษัทต่างๆ เป็นต้น ส่วนผลงานที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น การสานงานของภาครัฐ ในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศในแต่ละช่วง โครงการเพิ่มทักษะเสริมศักยภาพครูฝึก และร่วมร่างมาตรฐานของฝีมือแรงงาน การบูรณาการพันธกิจ และทรัพยากร เพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ทั้งระบบ และงานสร้างเครื่องจักรกล เป็นต้น สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมที่ คุณยอดยิ่ง แสนยากุล ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ สถาบันไทย-เยอรมัน โทรศัพท์ 081 376 3690 E-mail : [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร+อุตสาหกรรมไทยวันนี้

ภาพข่าว: สัมมนา "อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สู่ผู้นำในอาเซียน"

ภายใต้ความร่วมมือของ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันไทย-เยอรมัน และโครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย พร้อมวิทยากร นายมาณพ ชิวธนาสุนทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (3 จากขวา) นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน (2 จากขวา) นายวิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย (2 จากซ้าย) นายบุนชาน กุลวทัญญู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (ขวาสุด) และ ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์

ภาพข่าว: สัมมนา “อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สู่ผู้นำในอาเซียน”

มาณพ ชิวธนาสุนทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน ร่วมสัมมนาในเรื่อง “อนาคตอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ความท้าทายในตลาดอาเซียน” เพื่อให้เกิดการผลักดันอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยไปอาเซียน โดยมี ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)...

สถาบันไทย-เยอรมัน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

ศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย–เยอรมัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขยายบริการด้านการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิต ...

ภาพข่าว: สถาบันไทย-เยอรมัน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

ศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย–เยอรมัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขยายบริการด้านการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเทคโน...

อุตฯ'แม่พิมพ์' สดใสรับอานิสงส์อีโคคาร์

" สถาบันไทย-เยอรมัน " ประเมินแนวโน้มอุตฯแม่พิมพ์ปีนี้ขยายตัวแน่ 20% หลังมีการลงทุนโครงการ อีโคคาร์ พร้อมเร่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตสินค้าคุณภาพตอบสนองความต้องการตลาด/ลดนำเข้า เผยผู้ผลิตขนาดกลางมีความพร้อมยกระดับประสิทธิภาพมากที่สุด ร.ศ. ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร...

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ พัฒนาสารสนเทศ สร้างดัชนี เตือนภัย

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รุกยุทธศาสตร์พัฒนาสารสนเทศ รวมข้อมูลอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยทั้งระบบ จัดทำเป็นดัชนีสร้างระบบเตือนภัยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยใช้เป็นเข็มทิศพัฒนาธุรกิจ ย้ำข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว เข้าถึง ...

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ นำผู้ประกอบแม่พิมพ์ไทย ร่วมแสดงสินค้าในงาน MTV VIETNAM 2007

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ นำผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ระดับเอสเอ็มอี จำนวน 10 ราย เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเครื่องจักรกลโลหะการ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมระดับนานาชาติ ( MTA VIETNAM 2007 ) เพื่อเสริมวิสัยทัศน์...

ภาพข่าว: 1 ทศวรรษ TGI

รศ. ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน(TGI) (ที่ 2 จากซ้าย) เป็นประธานมอบรางวัลชนะเลิศ ประเภท PLC-Siemens ให้กับนายวัชรุตม์ ศรีสว่าง พนักงานส่วนไฟฟ้า-แผนกเทคนิคและพัฒนา บริษัท พัฒน์กล จำกัด(มหาชน)(คนกลาง) จากการประกวดแข่งขันทักษะฝีมือช่าง(PLC Programming Contest) ...

อินเตอร์พลาส-โมลล์ กองทัพเครื่องจักรกว่า 400 บริษัท 18 ประเทศทั่วโลก เสริมแกร่งกำจัดจุดอ่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและแม่พิมพ์ไทย

สถาบันไทย – เยอรมัน ชี้พัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคและช่างฝีมือแรงงานแม่พิมพ์ในประเทศจะช่วยลดการนำเข้าได้ปีละ 2-3% กระตุ้นผู้ประกอบการไทยเร่งพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์-พลาสติก...

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รุกต่อเนื่อง เปิดโครงการโรงงานต้นแบบ รุ่น 2

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ย้ำนโยบาย Be part of you…Be part of the future เปิดโครงการ M&D Best รุ่น 2 พัฒนาโรงงานแม่พิมพ์ต้นแบบ ที่มีความเป็นเลิศ หวังบูรณาการมาตรฐาน และความสามารถในการประกอบการของโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์...