แพทย์เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวาน เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็น “มาตรกรเงียบ”

กรุงเทพฯ--8 พ.ย.--กู๊ดเน็ตเวิร์ค

แพทย์เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวาน เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็น “มาตรกรเงียบ” คร่าชีวิตผู้ป่วยโดยไม่ทันตั้งตัว ป้องกันได้ด้วย เช็คน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต สม่ำเสมอ แพทย์เตือนความดันโลหิตสูงนอกจากเบาหวานยังส่งผลกระทบอีกหลายโรค ทั้งหัวใจโต ไตเสื่อม สมองเสื่อม หัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ ไตวาย เส้นโลหิตในสมองตีบ-แตก อัมพาต พ.ญ.อยุทธินี สิงหโกวินท์ อายุรแพทย์โรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลพญาไท 2 เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยมีสถิติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก และมากกว่า 90% ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ทางการแพทย์เชื่อว่าน่าจะเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตัวประจำวันของแต่ละคน ส่วนอีก 3% ที่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจาก โรคไต เช่น โรคไตวายเรื้อรัง หรือไตอักเสบเฉียบพลัน โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตบางชนิด โรคครรภ์เป็นพิษ หรือเกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด สำหรับความดันโลหิตทางการแพทย์ หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ สามารถวัดโดยใช้เครื่องวัดความดัน ซึ่งความดันปกติต้องสูงไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท ถ้าความดันโลหิตสูงเกินปกติเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะหัวใจโต ไตเสื่อม รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น หัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ ไตวาย หรือ เส้นโลหิตในสมองตีบหรือแตก ทำให้เกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ได้ ส่วนอาการของโรคความดันโลหิตสูงนั้น ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย มึนงง เวียนศีรษะ ใจสั่น อ่อนเพลีย เลือดกำเดาไหล ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งชั่วคราวแต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการในช่วงแรก ภาวะความดันโลหิตสูงจึงเป็น “ฆาตรกรเงียบ” ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เสียชีวิตอย่างกะทันหันจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี ด้วยเหตุนี้จึงควรดูแลป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง จนส่งผลแทรกซ้อนต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทางกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และรูปแบบการใช้ชีวิต ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่นานโดยไม่รู้ตัวและไม่ได้รับการรักษาหากการทำงานของอวัยวะผิดปกติมีความรุนแรงมากขึ้น อาจทำให้เสียชีวิต หรือเป็นอัมพาตไปตลอดชีวิต ดังนั้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวัดความดันและวินิจฉัยอาการของโรค เพราะถ้าตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงมาก แพทย์จะได้ทำ การรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที ซึ่งเมื่อความดันโลหิตลดลงมาสู่ภาวะปกติ อาการดังกล่าวก็จะหายไป พ.ญ.อยุทธินี สิงหโกวินท์ อายุรแพทย์โรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้อง มีการตรวจสืบค้นโรคเบาหวานเป็นระยะ ๆ เพราะตามสถิติแล้วผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จะพบโรคเบาหวานร่วมด้วยสูงกว่าปกติ และในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง 2-5 เท่า คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรตรวจเช็คค่าความดันโลหิตเป็นประจำด้วย วิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานให้ได้ผลดีนั้นขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและกินยาอย่างสม่ำเสมอ เริ่มตั้งแต่ การควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม ได้แก่ อาหารหมักดอง หรือตากแห้ง กะปิ น้ำปลา ซีอิ๊ว ผงชูรส งดดื่มสุรา และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน หลีกเลี่ยงภาวะเครียดและหงุดหงิด ทำจิตใจให้สบาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพอเหมาะ รับประทานยาสม่ำเสมอ ตามคำสั่งแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเองเมื่อรู้สึกสบายดี รับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง หากมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที “ถ้าไม่อยากให้ตัวเองและคนที่เรารัก ต้องเสี่ยงกับโรคความดันโลหิตสูง ก็ควรใส่ใจดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดพร้อมทั้ง ควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอและควรวัดหลังตื่นนอนตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง ในกรณีที่มีเครื่องวัดความดันโลหิตอยู่ที่บ้าน แล้วควรจดบันทึกวันเวลา ค่าที่วัดได้ทุกครั้ง ถ้ามีอาการผิดปกติต่าง ๆ ทางร่างกายควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อการรักษาและป้องกันอย่างถูกวิธีตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยในแต่ละโรคได้” พ.ญ.อยุทธินี สิงหโกวินท์ ฝากทิ้งท้ายถึงการดูแลตัวเองเพื่อให้ห่างไกลทุกโรค ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ นิรมล ประสารสุข 08 1814 9749

ข่าวอยุทธินี สิงหโกวินท์+โรคความดันโลหิตสูงวันนี้

แพทย์เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวาน เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็น “มาตรกรเงียบ”

แพทย์เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวาน เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็น “มาตรกรเงียบ” คร่าชีวิตผู้ป่วยโดยไม่ทันตั้งตัว ป้องกันได้ด้วย เช็คน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต สม่ำเสมอ แพทย์เตือนความดันโลหิตสูงนอกจากเบาหวานยังส่งผลกระทบอีกหลายโรค ทั้งหัวใจโต ไตเสื่อม สมองเสื่อม หัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ ไตวาย เส้นโลหิตในสมองตีบ-แตก อัมพาต พ.ญ.อยุทธินี สิงหโกวินท์ อายุรแพทย์โรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลพญาไท 2 เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยมีสถิติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก และมากกว่า 90% ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับฝ... ขอเชิญร่วมกิจกรรมตรวจสุขภาพฟรี เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจท...

"โรคความดันโลหิตสูง" โรคยอดฮิตในผู้สูงอาย... โรคความดันโลหิตสูงในมุมมองของแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว — "โรคความดันโลหิตสูง" โรคยอดฮิตในผู้สูงอายุ หากมองในทางแพทย์แผนปัจจุบัน สาเหตุข...

รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? หลา... รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? — รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? หลายคนอาจกำลังกังวลและตกใจกับข่าวที่เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เปิด...

โรงพยาบาลไทยนครินทร์ให้การต้อนรับคณะครู น... รพ.ไทยนครินทร์ให้การต้อนรับคณะครู นักเรียน โรงเรียนลาซาล กรุงเทพ — โรงพยาบาลไทยนครินทร์ให้การต้อนรับคณะครู นักเรียน โรงเรียนลาซาล กรุงเทพ ในโอกาสที่เข้าม...

แม้ว่าอาหารเจจะเป็นอาหารสุขภาพ แต่ถ้ากินไ... ผู้สูงวัยควรกินเจอย่างไร...ให้ได้สุขภาพดี — แม้ว่าอาหารเจจะเป็นอาหารสุขภาพ แต่ถ้ากินไม่ถูกหลักโภชนาการอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน พญ.อยุทธินี สิงห...

โรงพยาบาล พญาไท 2 จัดนิทรรศการและงานสัมมนา “เบาหวานโลก”

เนื่องในวันเบาหวานโลก โรงพยาบาล พญาไท 2 ได้จัดนิทรรศการและงานสัมมนา “เบาหวานโลก” ขึ้นในวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2549 ตั้งแต่เวลา 8.00 15.00 น. ณ ห้อง Platinum Room ชั้น 4 อาคาร 1 โรงพยาบาล พญาไท 2 เพื่อให้ความรู้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน...