โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease – CAD)

กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--ไมนด์ ทัช

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease – CAD) เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น เพศชาย การสูบบุหรี่ ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการไม่ออกกำลังกายประจำ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการสำคัญ คือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะในเวลาออกกำลังกาย ซึ่งในบางรายอาจเป็นแบบฉับพลัน และรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือที่เรียกว่า Heart Attack ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง หาไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม โรคนี้ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาอยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัดนำหลอดเลือดดำที่ขา หรือหลอดเลือดแดงที่ผนังหน้าอกมาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุดตันทำทางเดินของเลือดใหม่ หรือที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า การผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Graft) การรักษาด้วยยา และการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจรวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจ วิธีการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดจะทำในห้องตรวจสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) เป็นห้องที่มีเครื่องถ่ายภาพเอ็กซเรย์ และอุปกรณ์เครื่องมือเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจชนิดต่างๆ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ด้วยบอลลูนหลังการฉีดสีถ่ายภาพเอ็กซเรย์หลอดเลือดหัวใจเพื่อให้สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography; CAG) การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจทำโดยการสอดสายตรวจขนาดเล็กผ่านเข้าทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือหรือขาหนีบจนกระทั่งปลายสายไปถึงหลอดเลือดหัวใจ แล้วทำการฉีดสารทึบรังสีจำนวนเล็กน้อยเข้าในหลอดเลือดหัวใจพร้อมกับใช้เอ็กซ์เรย์บันทึกภาพของหลอดเลือดหัวใจแต่ละเส้นไว้ ก่อนทำการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำและอาหารประมาณ 4-6 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ ในห้องตรวจสวนหัวใจพยาบาลจะทำความสะอาดบริเวณข้อมือและขาหนีบที่จะทำการสอดสายตรวจ แพทย์จะฉีดยาชาก่อนที่จะสอดท่อนำและสายตรวจเข้าไปจนถึงหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลาแต่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดในขณะทำการตรวจ ขณะแพทย์ฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจนั้นบางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกร้อนวูบวาบหรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะบ้างซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง เมื่อแพทย์เห็นหลอดเลือดทั้งหมดจากการฉีดสีแล้วแพทย์จะบอกผลการตรวจให้กับผู้ป่วยและญาติทราบ ผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบเล็กน้อยอาจเหมาะสมกับการรักษาด้วยการรับประทานยา ในขณะที่ผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงหลายเส้นอาจเหมาะสมกับการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้แพทย์จะดึงสายตรวจออกจากตัวผู้ป่วยได้หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจ ในผู้ป่วยที่รอยตีบของหลอดเลือดเหมาะสมกับการถ่างขยายด้วยบอลลูนหรือการใส่ขดลวดค้ำหลอดเลือดหัวใจแพทย์สามารถจะทำการรักษาต่อจากการฉีดสีได้ทันที การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention; PCI) การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวนมีขั้นตอนเบื้องต้นเหมือนกับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ เพียงแต่ใช้สายนำ (Guiding catheter) ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในใหญ่กว่าสายตรวจที่ใช้ในการฉีดสี (Diagnostic catheter) เมื่อปลายสายนำอยู่ในหลอดเลือดหัวใจแล้ว แพทย์จะสอดเส้นลวดขนาดเล็กกว่าเส้นผมผ่านสายนำเข้าไปจนกระทั่งปลายเส้นลวดผ่านเลยจุดตีบแคบของหลอดเลือดหัวใจ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้เส้นลวดเป็นแกนช่วยนำสายชนิดพิเศษที่มีบอลลูนติดอยู่ตรงปลาย ใช้ภาพเอ็กซ์เรย์ที่เห็นบนจอช่วยในการวางตำแหน่งบอลลูนให้ตรงกับจุดที่มีการตีบแคบของหลอดเลือด แล้วใช้แรงดันทำให้บอลลูนกางออก แรงดันของบอลลูนจะผลักรอยตีบของหลอดเลือดหัวใจให้เปิดกว้างทำให้เลือดไหลผ่านได้สะดวกขึ้น เสร็จแล้วจึงดึงบอลลูนออกจากตัวผู้ป่วย บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้บอลลูนมากกว่าหนึ่งลูก ในกรณีที่แพทย์เห็นว่าควรใส่ขดลวด เนื่องจากรอยตีบยังขยายได้ไม่กว้างพอ หรือเพื่อเป็นการลดโอกาสเกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจก็จะนำสายสวนที่มีขดลวดอยู่ที่ปลายสายใส่เข้าไปยังบริเวณที่เคยคีบในลักษณะเดียวกันกับที่ใส่สายบอลลูน และขยายขดลวดให้ขดลวดกางออกไปสัมผัสและยึดติดกับผนังหลอดเลือด เมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจสายสวนทั้งหมดจะถูกนำออกมานอกร่างกาย เหลือเพียงท่อเล็ก ๆ ที่เป็นทางเข้าของสายต่าง ๆ ซึ่งจะถูกดึงออกเมื่อยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวหมดฤทธิ์ลง หลังจากนั้นแพทย์หรือพยาบาลจะกดแผลอยู่ประมาณ 10-15 นาที และผู้ป่วยจะต้องนอนราบไม่งอขา (ในกรณีทำที่ต้นขา) เป็นเวลาอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์มักให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น ข้อดีของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด มีข้อดีคือ ไม่ต้องทำการผ่าตัดและไม่ต้องดมยาสลบ ดังนั้นโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงต่ำกว่าการผ่าตัดบายพาส รวมทั้งผู้ป่วยยังออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น (1-2 วัน) และกลับไปสู่ชีวิตปกติได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องมีระยะพักฟื้นที่นานเหมือนภายหลังการผ่าตัด นอกจากนั้นเป็นที่ทราบดีว่าโดยธรรมชาติของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้น ถึงแม้ผู้ป่วยจะดูแลตนเองอย่างดี หลอดเลือดอาจตีบแคบลงได้อีกในอนาคตทั้งตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่ ซึ่งสามารถขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดได้หลายครั้ง และด้วยความปลอดภัยสูงเช่นการทำครั้งแรก ข้อจำกัดของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด ลักษณะการตีบบางอย่างไม่เอื้อต่อการทำบอลลูนอาจทำไม่สำเร็จ ไม่ปลอดภัย หรือได้ผลที่ไม่ดีนัก แต่ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดก็คือ การตีบซ้ำกลับมาตรวจบริเวณเดิมที่ทำบอลลูน และใส่ขดลวดไว้ (Restenosis) ภาวะนี้เกิดจากกระบวนการ "สมานแผล" ตามธรรมชาติของร่างกายที่หลอดเลือดสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาคลุมขดลวดที่ถูกใส่เข้าไป จนบางครั้งปริมาณเนื้อเยื่อใหม่มีมากจนเข้าไปสะสมอยู่ในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงอีกครั้ง ผู้ป่วยประมาณ 30%-40% มีโอกาสที่จะเกิดรอยตีบซ้ำในตำแหน่งเดิมที่ได้รับการถ่างขยายด้วยบอลลูน ภายในเวลา 6 เดือน ในขณะที่การใช้ขดลวดค้ำหลอดเลือดหัวใจสามารถลดโอกาสที่จะเกิดการตีบซ้ำของตำแหน่งที่ได้รับการถ่างขยายลงได้เหลือประมาณ 10%-15% ภายในเวลา 6 เดือน ความปลอดภัยของการฉีดสีและการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน จากประสบการณ์ของแพทย์และความทันสมัยของเครื่องมือที่ใช้ในปัจจุบันทำให้การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจรวมทั้งการรักษารอยตีบตันผ่านสายสวนมีความปลอดภัยสูงมาก ปริมาณรังสีเอ็กซ์ที่ผู้ป่วยได้รับขณะฉีดสีหรือถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจมีปริมาณน้อยเกินกว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อคนปกติ ยกเว้นต่อบุตรในครรภ์ซึ่งแพทย์จะหลีกเลี่ยงไม่นำสตรีที่กำลังตั้งครรภ์มารับการตรวจรักษาด้วยวิธีนี้อยู่แล้ว สารทึบรังสีที่ใช้ในการฉีดสีมีส่วนผสมของไอโอดีน ดังนั้นผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารทะเลหรือเคยแพ้สารทึบรังสีมาก่อนจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า นอกจากนั้นแพทย์จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ที่มีการทำงานของไตเสื่อมเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียของสารทึบรังสีต่อไต ขณะทำการฉีดสีหรือถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจอยู่นั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้คาดหมายเกิดขึ้นได้ เช่น มีการฉีกขาดของผนังด้านในของหลอดเลือดหรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดเฉียบพลัน แต่โอกาสที่จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายอันเป็นผลเนื่องจากการฉีดสีพบได้น้อยกว่า 5 ใน 10,000 ราย และน้อยกว่า 2 ใน 100 รายของการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ มีผู้ป่วยน้อยกว่า 5 ใน 1,000 รายเท่านั้นที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดหัวใจฉุกเฉินเนื่องจากการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจไม่สำเร็จ การสอดสายสวนผ่านเข้าในหลอดเลือดแดงอาจทำให้มีลิ่มเลือดเล็กๆหรือฟองอากาศหลุดไปอุดหลอดเลือดสำคัญเช่นหลอดเลือดสมอง แต่ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่เกิน 1 ใน 1,000 ราย หลอดเลือดแดงที่แพทย์ใช้แทงเพื่อสอดสายสวนอาจเกิดการฉีกขาดหรือมีเลือดออกภายหลังจากการดึงสายสวนออกแล้ว อันตรายต่อหลอดเลือดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 0.5% - 3% โดยเฉพาะเมื่อทำการฉีดสีหรือถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางหลอดเลือดที่ขาหนีบ นวัตกรรมในการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ขดลวดเคลือบยา (Drug Eluting Stent) เป็นนวัตกรรมของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด ขดลวดดัวกล่าวเคลือบด้วยยาที่สามารถลด หรือยับยั้งกระบวนการการแบ่งเซลล์ของผนังหลอดเลือดไม่ให้เกิดขึ้นมากเกินไปอันจะนำไปสู่การตีบซ้ำลงได้ เมื่อใส่ขดลวดเคลือบยานี้แทนขดลวดธรรมดาจะสามารถลดโอกาสเกิดการตีบซ้ำลงได้จากร้อยละ 10-15 ลงมาเหลือน้อยกว่าร้อยละ 5 นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคพิเศษอื่นๆของการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวนซึ่งเหมาะสมกับลักษณะการตีบตันหรือสภาพของหลอดเลือดหัวใจบางแบบ เช่น การใช้สายที่มีหัวกรอเพชรขนาดเล็กติดที่ปลาย (Rotablator) เพื่อใช้กรอรอยตีบที่ยาวหรือมีหินปูนจับ โดยขบวนการหมุนของหัวกรอจะเป็นในลักษณะเดียวกับเครื่องกรอฟัน ด้วยความเร็วประมาณ 160,000 -180,000 รอบต่อนาที โรตาเบลเตอร์ (Rotablator) หรือหัวกรอเพชรนี้เป็นเทคนิคที่นำมาใช้ร่วมกับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวนสำหรับในกรณีที่หลอดเลือดมีการตีบตัน 100 % โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการจับตัวของหินปูน การนำเทคนิคนี้มาใช้สามารถช่วยทำให้อัตราความสำเร็จในการสอดสายสวนเพื่อการขยายหลอดเลือดสูงขึ้นถึงร้อยละ 90 จากเดิมที่จะไม่สามารถทำได้เมื่อแพทย์พบปัญหาการตีบตันแบบ 100% สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวCoronary Artery Disease+โรคความดันโลหิตสูงวันนี้

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease – CAD)

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease – CAD) เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น เพศชาย การสูบบุหรี่ ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการไม่ออกกำลังกายประจำ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการสำคัญ คือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะในเวลาออกกำลังกาย ซึ่งในบางรายอาจเป็นแบบฉับพลัน และรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือที่เรียกว่า Heart Attack

ABILITY Diabetes Global enrolls thousandth patient: A Cardinal Milestone Achieved

ABILITY Diabetes Global (Randomized Comparison of Ab lumi nus DES+ Siroli mus-Elut ing Stents versus Everolimus-Eluting Stents in Coronary Artery Disease Patients with Diabetes Mellitus Global ) started off with the...

Small vessels can cause big problems; MagicTouch SCB Granted 'Breakthrough Device Designation' for the treatment of Small Coronary Artery Lesions

Concept Medical Inc. (CMI) has been granted "Breakthrough Device Designation" from the Center for Devices and Radiological Health (CDRH) of the Food and...

Resverlogix Completes Enrollment In ASSURE Trial

- IVUS data will evaluate plaque regression in patients with Coronary Artery Disease - TSX Exchange Symbol: RVX Resverlogix Corp. (TSX:RVX) today announced that it has completed enrollment in ASSURE, a Phase 2b clinical trial targeting high-risk...

The Skin Doctors Conducts the Seminar to Protect Coronary Artery Disease

The Skin Doctors conducts the seminar for health lovers in a topic “The Coronary Artery Disease prevention with Anti-Aging health care”. The seminar session is scheduled to be held at “The Skin Doctors Central Chidlom 8th Floor”...

Largest International Registry of Stable Coronary Artery Disease Shows That Many Patients Have too High Baseline Resting Heart Rate

Results from CLARIFY, the largest international registry ever carried out in stable coronary artery disease (CAD) outpatients, show that despite the widespread use of...