ฟิทช์ ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารกรุงไทยเป็น “C/D”

กรุงเทพฯ--10 ก.ค.--ฟิทช์ เรทติ้งส์

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตความแข็งแกร่งทางการเงิน (Individual Rating) ของธนาคารกรุงไทย (“KTB”) เป็น “C/D”จาก “D” ฟิทช์ยังได้ประกาศ คงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ ระยะยาว Issuer Default Rating (“IDR”) ที่ ‘BBB+’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘BBB’ และอันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘2’ ในขณะเดียวกัน ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทยได้ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศของ KTB ระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ ระยะสั้นที่ ’F1+(tha)’ และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ ‘AA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตทั้งหมดมีเสถียรภาพ การปรับเพิ่มอันดับเครดิตมีพื้นฐานมาจากสถานะทางการเงินที่ปรับตัวดีขึ้นของธนาคารตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ฟิทช์กล่าวว่าอันดับเครดิตของ KTB มีพื้นฐานมาจากการถือหุ้นใหญ่และการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของรัฐบาล รวมถึงสถานะการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น แม้ว่าการที่ทางรัฐบาลถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจการควบคุมธนาคารมีส่วนช่วยสนับสนุนอันดับเครดิตระยะยาวของธนาคาร ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นมีแนวโน้มที่อาจทำให้ผลการดำเนินงานของธนาคารอ่อนแอลงได้ KTB เป็นธนาคารไทยที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 โดยมีส่วนแบ่งตลาด 18% โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้น 56.4 % เมื่อพิจารณาถึงขนาดและความสำคัญต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของ KTB รวมทั้งการที่ทางรัฐบาลถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจควบคุมธนาคาร ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหากธนาคารจำเป็นต้องการความช่วยเหลือ รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะคงสัดส่วนการถือหุ้นส่วนใหญ่ของธนาคารในอนาคต ในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานหลักของ KTB ได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ธนาคารรายงานผลกำไรสุทธิที่ 13 พันล้านบาทในปี 2548 เพิ่มขึ้นจาก 11.1 พันล้านบาทในปี 2547 ทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายด้านภาษีเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2548 เนื่องจากทางธนาคารจะได้ใช้ผลประโยชน์ทางด้านภาษีจากการขาดทุนที่ยกมาในอดีตจนหมดสิ้นแล้ว กำไรก่อนการหักภาษีของ KTB ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากกว่ากำไรสุทธิไปสู่ระดับ 17.3 พันล้านบาทจาก 11.1 พันล้านบาทในปีก่อน ส่วนใหญ่เนื่องมาจากรายได้ดอกเบี้ยที่ปรับตัวดีขึ้น ต้นทุนในการปล่อยสินเชื่อที่ลดลง และหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลง ในไตรมาสแรกของปี 2549 กำไรสุทธิของธนาคารยังคงปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ4.8 พันล้านบาท จาก 4.3 พันล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 2548 ส่วนใหญ่เนื่องมาจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียมที่ปรับตัวดีขึ้นและรายได้จากการลงทุนที่สูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ยังได้ช่วยให้อัตรากำไรส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ 3.4%ในปี 2548 และ 3.9 % ในไตรมาสแรกของปี 2549 (เมื่อทำการปรับปรุงตัวเลขให้สะท้อนงวดปีบัญชีแล้ว) จากระดับ 2.9%ในปี 2547 ในขณะที่ สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานในปี 2549 ดูถดถอยลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลง และความวุ่นวายทางการเมืองแต่ผลการดำเนินงานโดยทั่วไปของ KTB น่าจะมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ หลังจากการปรับปรุงเกณฑ์การจัดสินเชื่อครั้งใหญ่ในไตรมาสสองของปี 2547 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ KTB ได้ลดลงมาสู่ 99.1 พันล้านบาทหรือ 11.1 %ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2548 และ 97.2 พันล้านบาทหรือ 10.9% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 จากระดับ 123.3 พันล้านบาท หรือ 14.5% ณ สิ้นปี 2547 สืบเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ การตัดบัญชีหนี้สูญ และการขายหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐบาล ในขณะที่ระดับการกันเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สูญของธนาคารได้ลดลงมาสู่ระดับ 38.8 % ณ สิ้นเดือน มีนาคม หลังจากการปรับปรุงเกณฑ์การจัดสินเชื่อในปี 2547 และการตัดบัญชีหนี้สูญ การฟื้นตัวของรายได้และผลกำไร น่าจะช่วยรองรับการกันสำรองหนี้สูญเพิ่มเติมในอนาคตได้ การที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยให้ KTB ปรับเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อได้ส่งผลให้ KTB ทบทวนระบบการบริหารความเสี่ยงของธนาคารและจัดโครงสร้างการบริหารใหม่ ในขณะนี้ผู้บริหารของ KTB ได้มุ่งเน้นในการปรับปรุงวัฒนธรรมการทำงานและองค์กรให้เน้นการทำธุรกิจในเชิงพาณิชย์มากขึ้นรวมทั้งมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้ารายย่อยมากขึ้น ซึ่งผลพวงจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเหล่านี้น่าจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นในระยะปานกลาง สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลรวมแล้วอยู่ที่ประมาณ 16% ของสินเชื่อทั้งหมดของธนาคารในขณะนี้ ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2549 อัตราเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของ อยู่ที่ 8.3% ของสินทรัพย์เสี่ยงในขณะที่อัตราเงินกองทุนทั้งหมดอยู่ที่ 11.9% การฟื้นตัวของรายได้และผลกำไรน่าจะช่วยเสริมสร้างและรักษาระดับเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่พอเพียง ติดต่อ ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์, Vincent Milton, กรุงเทพฯ +662 655 4762/4759 David Marshall, ฮ่องกง +852 2263 9963 หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ใช้วัดความน่าเชื่อถือของบริษัทในประเทศที่อันดับเครดิตของประเทศนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตระดับเพื่อการลงทุน หรือมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับต่ำแม้จะอยู่ในระดับเพื่อการลงทุน อันดับเครดิตของบริษัทที่ดีที่สุดของประเทศจะอยู่ที่ระดับ “AAA” และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับบริษัทที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นถูกออกแบบมาเพื่อนักลงทุนภายในประเทศในแต่ละประเทศนั้นๆ และมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับแต่ละประเทศ เช่น “AAA(tha)” ในกรณีของประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นไม่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้ คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฏข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน ‘หลักจรรยาบรรณ’ ในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกัน

ข่าวฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย+ฟิทช์ เรทติ้งส์วันนี้

SCAP สุดปลื้ม! ฟิทช์จัดอันดับเครดิต 'A-(tha)' สะท้อนฐานะการเงินมั่นคง เพิ่มศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินต้นทุนต่ำ ช่วยเสริมแกร่งกลุ่ม SAWAD

บริษัท ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล 1969 จำกัด (มหาชน) หรือ SCAP ผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยครบวงจร ประกาศข่าวดี! ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) แก่ SCAP ที่ระดับ 'A-(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short-Term Rating) ที่ 'F2(tha)' โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิต "มีเสถียรภาพ" (Stable Outlook) ระดับเดียวกับอันดับเครดิตของกลุ่มศรีสวัสดิ์ (SAWAD) สะท้อนโครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งของกลุ่ม และเครือข่ายการดำเนินงานในธุรกิจสินเชื่ออุปโภคบริ

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ...

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้จัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตภายในประเทศของประเทศไทยในปี 2558

ฟิทช์ เรทติ้งส์ได้จัดทำรายงานเรื่อง 'Fitch Thailand National Ratings 2015 Transition Study' รายงานนี้เป็นการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตภายในประเทศ (national ratings) ในปี 2558 และในระยะยาว...

ปฏิทินข่าวธุรกิจประจำวันนี้(10 ตุลาคม 2555)

วันพุธที่ 10 ตุลาคม 2555 08.00 น. 12.00 น. Fitch Conference: Global Risks & Thailand Outlook ณ Plaza Athenee Bangkok 08.00 น. 12.00 น. ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย จัดสัมมนา ความเสี่ยงของ เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ณ โรงแรม พลาซ่า แอทธินี 09.00 น. 17.00...

ปฏิทินข่าวธุรกิจประจำวันพรุ่งนี้(10 ตุลาคม 2555)

วันพุธที่ 10 ตุลาคม 2555 08.00 น. 12.00 น. Fitch Conference: Global Risks & Thailand Outlook ณ Plaza Athenee Bangkok 08.00 น. 12.00 น. ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย จัดสัมมนา ความเสี่ยงของ เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ณ โรงแรม พลาซ่า แอทธินี 09.00 น....

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย จัดสัมมนา ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจไทย

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะจัดงานสัมมนาประจำปี ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันพุธที่ 10 ตุลาคม 2555 เวลา 8.00 น. – 12.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โดยงานสัมมนาครั้งนี้จะเน้นในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ...

งานสัมมนาของฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย : ความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศไทย

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะจัดงานสัมมนาประจำปีครั้งที่ 10 ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2554 เวลา 9.00 น. – 12.00 ณ ห้องบอลลูม II และ III โรงแรมคอนราด โดยงานสัมมนาครั้งนี้จะ...

ประเทศไทย ทิศทางเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยง

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย จำกัด ได้จัดงานสัมมนาประจำปี ในหัวข้อเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศอื่นในเอเชีย หัวข้อในการสัมมนายังรวมถึงผลกระทบของตลาดสินเชื่อด้อยคุณภาพของสหรัฐอเมริกา (US subprime mortgage) ต่อธนาคารในภูมิภาคเอเชียด้วย ฟิทช์...

ฟิทช์ ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารกรุงไทยเป็น “C/D”

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตความแข็งแกร่งทางการเงิน (Individual Rating) ของธนาคารกรุงไทย (“KTB”) เป็น “C/D”จาก “D” ฟิทช์ยังได้ประกาศ คงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ ระยะยาว Issuer Default Rating ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารธนชาต

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารธนชาต มหาชน จำกัด ระยะยาวอยู่ที่ ‘A-(tha)’ (A ลบ(tha)) และระยะสั้นอยู่ที่ ‘F2(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตสะท้อนถึงเงินกองทุนและคุณภาพสินทรัพย์ที่แข็งแกร่งของธนาคาร...