กรมวิชาการเกษตรเตรียมจัดตั้งตลาดกลางยางพาราแห่งใหม่ที่ จ.หนองคาย เปิดทางเลือกให้ชาวสวนยางภาคอิสาน หวังให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อขาย

กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--กรมวิชาการเกษตร

กรมวิชาการเกษตรเตรียมจัดตั้งตลาดกลางยางพาราแห่งใหม่ที่ จ.หนองคาย เปิดทางเลือกให้ชาวสวนยางภาคอิสาน หวังให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อขาย ไม่ถูกกดราคา ผู้ซื้อได้ยางคุณภาพดี เผย 3 ตลาดกลางในภาคใต้เวิร์ค นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2548 นี้ กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมแผนขยายการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสำนักงานตลาดกลางจะตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัยยางหนองคาย จ.หนองคาย เพื่อเป็นตลาดรองรับให้บริการซื้อขายผลผลิตยางในพื้นที่ภาคอิสานซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 6 แสนไร่ ได้ผลผลิตยางแผ่นดิบปีละกว่า 70,000 ตัน คาดว่า การขยายตลาดกลางยางพาราดังกล่าว จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งจะได้รับความเป็นธรรมจากการขายยาง ไม่ต้องถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ทำให้มีรายได้จากการขายยางเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 1-2 บาท และผู้ซื้อยางสามารถที่จะคัดเลือกเกรดยางและได้ยางแผ่นดิบที่มีคุณภาพดี มีมาตรฐานและปริมาณมากด้วย ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรมีตลาดกลางยางพารา 3 แห่ง กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ จ.สงขลา ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี และตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช ซึ่งให้บริการซื้อขายยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควันไม่อัดก้อน ยางแผ่นผึ่งแห้ง น้ำยางสด และยางก้อนถ้วย โดยทุกวันจะมีการซื้อขายแบบแข่งขันประมูลราคา ไม่มีการผูกขาดพ่อค้ารายหนึ่งรายใด ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น ซึ่งดีกว่าการจำหน่ายให้กับพ่อค้าท้องถิ่นทั่วไป ขณะนี้มีเกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกร รวมทั้งสหกรณ์ผู้ปลูกยางพารา เข้ามาใช้บริการตลาดกลางทั้ง 3 แห่ง ปีละกว่า 95,000 ราย โดยปกติมียางเข้าสู่ตลาดวันละประมาณ 800 ตัน มูลค่าการซื้อขายของแต่ละตลาดอยู่ที่ 10-20 ล้านบาท/วัน ยกเว้นช่วงที่ยางผลัดใบ เกษตรกรจะกรีดยางได้น้อย ผลผลิตยางจะเข้าสู่ตลาดลดลง 50 % ซึ่งตลาดกลางน้ำยางสดที่อ.หาดใหญ่ เป็นตลาดใหม่ที่น่าจับตา เพราะเกษตรกรนิยมจำหน่ายน้ำยางสดมากขึ้น มีน้ำยางสดเข้าตลาดวันละ 60-100 ตัน ปริมาณการซื้อขายประมาณ 30,000 ตัน/ปี ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านบาท “จากผลการสำรวจเกษตรกรกว่า 90 % มีความพึงพอใจในระบบการซื้อขายของตลาดกลางยางพารา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขยายตลาดกลางเพิ่มขึ้นในแหล่งปลูกยางหนาแน่น เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกและไม่ถูกเอาเปรียบ ทั้งนี้ การเปิดตลาดกลางยางพาราใหม่ ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร จำนวนพื้นที่ปลูกและปริมาณผลผลิตยางที่จะป้อนเข้าตลาดในแต่ละวันต้องมีไม่น้อยกว่า 100-200 ตัน ซึ่งภาคอิสานตอนบนและภาคตะวันออกสามารถจัดตั้งตลาดกลางได้ เพราะมีปริมาณผลผลิตน้ำยางเพียงพอ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว--จบ--

ข่าวฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์+กรมวิชาการเกษตรวันนี้

กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาผลไม้ที่ขนาดไม่ได้มาตรฐานหรือมีลักษณะที่ไม่สวยงามที่จะนำมาขายได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรต้องขายผลไม้เหล่านี้ในราคาที่ถูกลง หรือนำไปทำอาหารสัตว์ ทำปุ๋ย หรือปล่อยทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยย่อยสลายเป็นขยะอาหาร ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทน ซึ่งมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน สูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เล็ง

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ... ก.เกษตร รมช.มนัญญา รับฟังและหารือการกำจัดการใช้สารเคมี — นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ ปร...

การประชุมคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ครั้งที่ 1/2554 ในวันพุธที่ 19 มกราคม 2554 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ ทอท. ชั้น 7 ทอท. แต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการ โรง...

กรมวิชาการเกษตรเตรียมจัดตั้งตลาดกลางยางพาราแห่งใหม่ที่ จ.หนองคาย เปิดทางเลือกให้ชาวสวนยางภาคอิสาน หวังให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อขาย

กรมวิชาการเกษตรเตรียมจัดตั้งตลาดกลางยางพาราแห่งใหม่ที่ จ.หนองคาย เปิดทางเลือกให้ชาวสวนยางภาคอิสาน หวังให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อขาย ไม่ถูกกดราคา...

พิธีสารส่งออกผักและผลไม้ไทย-จีน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พ.ค. 48

“พิธีสารส่งออกผักและผลไม้ไทย-จีน” จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พ.ค. 48 นี้ กรมวิชาการเกษตรเร่งเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน มะม่วง มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย นำสวนเข้าสู่ระบบ GAP โรงคัดบรรจุต้องได้ GMP มุ่งการันตีคุณภาพสินค้าส่งออก อนาคตผลไม้แข่งขันสูง...

กรมวิชาการเกษตรเตรียมแผนจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน” ใหม่

กรมวิชาการเกษตรเตรียมแผนจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน” ใหม่ 3 แห่ง ที่ จ.กระบี่-หนองคาย-นราธิวาส มุ่งเป็นแหล่งผลิตกล้าปาล์มคุณภาพดีป้อนเกษตรกร สนับสนุนยุทธศาสตร์พลังงานทดแทนของประเทศ นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า...

"กนย. ตั้งนิคมอุตสาหกรรม"

กรุงเทพฯ--20 มิ.ย.--ปชป. นายอาคม เอ่งฉ้วน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะทำงานการรวมแผนกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมยางของ 3 กระทรวง (เกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์) ให้เหลือ 1 แผนงาน ...