สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน–มาร์สเตลเลอร์

มาตรวัดการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเอเชีย ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาคเอเชียโดยทั่วไปได้ยุติลงแล้ว การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารกลางของหลายประเทศในเอเชียยังคงเป็นความลับที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางด้วยขนาดของตลาดในภูมิภาค โดยธนาคารกลางหลายแห่งได้ขายเงินสกุลของประเทศตนและหันไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สกุลเงินต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมีการอ่อนตัวที่ไม่แท้จริง และยังช่วยกระตุ้นนโยบายการเงินของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อไม่นานมานี้ สกุลเงินต่างๆ ในเอเชียเริ่มแข็งค่าขึ้น ซึ่ง เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า ค่าเงินของประเทศใน ภูมิภาคเอเชียจะแข็งค่ามากขึ้นอีกในปีหน้า อย่างไรก็ดี ยังไม่มีทีท่าแน่ชัดว่า การที่ค่าเงินแข็งค่าขึ้นหมายถึงการที่ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เข้ามาแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเสมอไป ในกรณีที่ดุลการชำระเงินเกินดุลเพิ่มขึ้น (เช่น การประเมินว่าจะมีกระแสเงินทุนไหลเข้าสูง) ก็มีโอกาสที่ค่าเงินจะแข็งค่าขึ้นและอาจจะมีการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นด้วย เป็นที่น่าเสียดายว่า หลักการวัดปริมาณการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเอเชียโดยรวม และความต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาของเอเชียยังมีข้อมูลที่จำกัด อย่างไรก็ตาม เลแมน บราเดอร์ส ได้พยายามประเมินการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางจาก 2 วิธีดังต่อไปนี้ วิธีที่ 1: ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศนับเป็นมาตรวัดการสะสมของเงินตราต่างประเทศสุทธิของธนาคารกลาง ซึ่งประเทศในเอเชียส่วนใหญ่จะถือเงินตราต่างประเทศในรูปของเงินดอลล่าร์สหรัฐ และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของภูมิภาคเอเชียจะได้รับการปรับปรุงเป็นประจำตามเวลาที่กำหนดเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน ซึ่งโดยปรกติจะล้าหลังประมาณ 1 เดือน อย่างไรก็ตาม การใช้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นตัวชี้วัดการแทรกแซงการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศยังคงมีจุดอ่อน ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศยังเกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นด้วย เช่น ผลตอบแทนสุทธิของการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งผลของการประเมินค่าอัตรา แลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศสกุลอื่นๆ นอกเหนือจากเงินสกุลเหรียญสหรัฐ จากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศโดยรวมของเอเชียสะสมขึ้นจาก 686 พันล้านเหรียญสหรัฐเป็น 2.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในช่วงเวลา 12 เดือน จากเดือนมีนาคม 2546 ถึงเดือนมีนาคม 2547 โดยการปรับตัวขึ้นของทุนสำรองฯ ในครั้งนี้เป็นทุนสำรองฯ ของญี่ปุ่นครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ดี ทุนสำรองฯ ของญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 โดยสะสมขึ้นจาก 806 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมีนาคม 2547 เป็น 818 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนตุลาคม 2547 ขณะที่ทุนสำรองฯ ของจีนมี การสะสมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างรวดเร็วจาก 485 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมีนาคม 2547 เป็น 560 พันล้านเหรียญในเดือนกันยายน 2547 สำหรับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย การสะสมทุนสำรองเงินตราต่างประเทศค่อนข้างจะคงที่หลังจากเดือนมีนาคม 2547 และเริ่มมีการปรับตัวขึ้นอีกครั้งตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 วิธีที่ 2: ข้อมูลด้านเงินทุนต่างชาติของกระทรวงการคลังแห่งสหรัฐอเมริกา อีกวิธีที่ใช้ในการวัดระดับการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศเอเชียคือ การวิเคราะห์ข้อมูล รายเดือนของกระทรวงการคลังแห่งสหรัฐอเมริกาด้านการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาของ ต่างชาติ โดย เลแมน บราเดอร์ส ทำการคำนวณการซื้อสุทธิของภูมิภาคเอเชียในหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริการวม 3 ประเภท ได้แก่ พันธบัตรกระทรวงการคลังและตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้บริษัท เอกชน อย่างไรก็ดี วิธีนี้ก็อาจจะให้ผลที่ไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกัน เพราะแม้ว่าธุรกรรมการซื้อขายจะกระทำโดยตรงจากผู้ซื้อต่างชาติกับหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา แต่ก็มีกรณีที่ผู้ซื้อขายต่างชาติบางรายเป็นเพียงผู้ดูแลทรัพย์สิน (Custodian) ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลที่มีอยู่จึงไม่สามารถชี้ชัดถึงประเทศของผู้ลงทุนที่แท้จริง นอกจากนี้ การซื้อขาย ไม่ได้จำเพาะแค่ธนาคารกลางเพียงอย่างเดียว หากแต่ครอบคลุมถึงสถาบันการเงินต่างชาติทั้งหมด อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวก็ไม่ได้รวมถึงการซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีการชำระเงินเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐของต่างชาติ ตลอดจนการไหลเข้าของเงินตราต่างชาติในรูปของเงินฝากในธนาคารในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ เลแมน บราเดอร์ส พบว่า การเปลี่ยนแปลงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศโดยรวมของเอเชียในแต่ละเดือนและการซื้อหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาสุทธิของประเทศในภูมิภาคเอเชียแต่ละเดือนในช่วง ที่ผ่านมามีความเชื่อมโยงกัน ถึงกระนั้นก็ตาม ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศโดยรวมของเอเชียในไตรมาส 1 มี การปรับตัวสูงกว่าการซื้อหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาสุทธิของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นไปได้ว่า ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียอาจมีการกระจายสกุลเงินตราต่างประเทศในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ นอกเหนือจากเงินสกุลเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนเมษายน 2547 ถึงเดือนสิงหาคม 2547 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์กลับกันนั่นคือ การซื้อหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาสุทธิของภูมิภาคเอเชียรายเดือนปรับตัวสูงกว่าระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศโดยรวมของภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ สามารถอธิบายได้ในอีกแง่มุมหนึ่งว่า มีการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศในเอเชียในไตรมาส 1 อย่างมากจนทำให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในเอเชียไม่สามารถซื้อหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาได้ทัน ส่งผลให้มีปริมาณเงินจำนวนมากเหลืออยู่ในระบบเงินฝากของธนาคารในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลนี้ไม่ถูกระบุในข้อมูลของกระทรวงการคลังแห่งสหรัฐอเมริกา) ดังนั้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 เป็นต้นมา ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มที่จะจัดสรรทุนสำรองเงินตราต่างประเทศใหม่จากเงินฝากในธนาคารของสหรัฐอเมริกาเป็นหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา และจากข้อมูลล่าสุดในเดือนกันยายน 2547 จาก การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศเอเชีย (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) ทำให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศโดยรวมของเอเชียได้ปรับตัวสูงกว่าการซื้อหลักทรัพย์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาสุทธิโดยรวมของเอเชียอีกครั้งหนึ่งซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 ด้วยเหตุนี้ เลแมน บราเดอร์ส จึงใคร่สรุปว่า ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่า การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาคเอเชียโดยทั่วไปได้ยุติลงแล้ว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: อาซิแอม เบอร์สัน–มาร์สเตลเลอร์ วราพร สมบูรณ์วรรณะ สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์ โทร 0 2252 9871--จบ--

ข่าวเลแมน บราเดอร์ส+สหรัฐอเมริกาวันนี้

เลแมน บราเดอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ แถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน

เลแมน บราเดอร์ส จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ต่อไปต่อการสอบสวนของกรมสืบสวนคดีพิเศษ โดยจะยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาต่อกรมสืบสวนคดีพิเศษต่อไป คำชี้แจงดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่าเลแมน บราเดอร์ส ได้กระทำการทุกประการโดยชอบด้วยกฎหมาย เลแมน บราเดอร์สได้ประกอบกิจการด้วยความยึดมั่นในความสำคัญของตลาดในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ ในส่วนของการดำเนินการของบริษัทฯที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้นั้น บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า การที่บริษัทฯ เข้าซื้อสินทรัพย์ของปรส. ในปี 2541นั้น ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของไทยโดยรวม

ไรมอน แลนด์ เสนอขายหุ้นกู้แก่ เลแมน บราเดอร์ส ไรมอน แลนด์ เสนอขายหุ้นกู้แก่ เลแมน บราเดอร์ส เพื่อใช้พัฒนาโครงการ “เดอะ ริเวอร์”

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) ประกาศถึงความสำเร็จในการออกและเสนอขายหุ้นกู้วงเงิน 450 ล้านบาทให้แก่บริษัท เลแมน บราเดอร์ส (ไทยแลนด์) จำกัด หุ้นกู้ดังกล่าว...

“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

ความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางในเอเชียจะมีนโยบายแตกต่างกัน เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกเผยว่า การสะสมเงินทุนสำรองในเอเชียมากเกินไปจะไม่ส่งผลดี ทั้งนี้ ความพยายามทำให้ค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริงโดยการแทรก...

“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์” จีนและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การเติบโตที่แท้จริงของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนอ่อนตัวลงในเดือนมกราคม ...

“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

ฮ่องกงกับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เลแมน บราเดอร์ส ประเมินว่า ฮ่องกงจะมีนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนตั้งแต่ปี 2536 เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ประเมินว่า ...

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกเผยว่า ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เป็นผลดีแล้ว เอเชียก็มีการสะสมเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่...

“มิสเตอร์เยน” เข้าร่วมในคณะกรรมการที่ปรึกษาของ เลแมน บราเดอร์ส ญี่ปุ่น

นายเออิสุเกะ ซากากิบาระ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ด้านกิจการระหว่างประเทศ เข้าร่วมในคณะกรรมการที่ปรึกษาของ เลแมน บราเดอร์ส ญี่ปุ่น หลังจากที่นายฮิโรโนริ ไอฮารา อดีตรองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ป เข้าร่วม ...

เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า เศรษฐกิจเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะมีทิศทางการเติบโตที่สดใส

เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า เศรษฐกิจเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะมีทิศทางการเติบโตที่สดใส เงินสกุลเอเชียจะทวีความสำคัญเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ...

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

จีนกับระบบการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ มีความเป็นไปได้ที่จีนจะจัดทำแผนปฏิรูปการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ ขึ้นใหม่ หลังจากที่มีการรอคอยเป็นเวลานาน ...

“เลแมน บราเดอร์ส” สถาบันการเงินต่างประเทศรายแรก ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จำหน่ายตราสารอนุพันธ์นอกตลาดหลักทรัพย์ แบบครบวงจรในเกาหลี

ภายใต้การอนุมัติของคณะกรรมการกำกับและดูแลนโยบายทางการเงินของเกาหลี เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนระดับโลก เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับและดู...