สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)”

กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--Aziam Burson-Marsteller

บทบาทของภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคเอเชียมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการถ่วงดุลเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤติ ทางการเงินใน ปี 2540-2541 เป็นต้นมา กล่าวคือ ภาคการเงินและภาคเอกชนในภูมิภาคมีการปรับตัวไป ในทิศทางที่ดีขึ้น จุดยืนทางการค้าในต่างประเทศมีเสถียรภาพ และจีดีพีของประเทศต่างๆ มีการปรับตัวเพิ่ม ขึ้นมากกว่าก่อนช่วงวิกฤติ อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือ ภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ยังคงดำเนิน นโยบายการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเร่งการส่งออก ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในระดับสูงติดต่อกัน เป็นระยะเวลา 7 ปี และสกุลเงินที่อ่อนค่ากว่าที่ควรจะเป็นยิ่งเป็นส่วนเสริมให้เกินดุลมากขึ้นซึ่งจากนี้ไป สถานการณ์จะเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยจากแรงกดดันภายนอกและความมั่นใจที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียทำให้ธนาคารกลางใน หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียเริ่มปล่อยให้ค่าเงินของประเทศตนแข็งค่าขึ้น ซึ่ง เลแมน บราเดอร์ส เห็นว่า การเคลื่อนไหวนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น โดยในปี 2548 ภูมิภาคเอเชียจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สุด ในหลากหลายด้านนับตั้งแต่การเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เสมือนการเปลี่ยนจากภาวะวิกฤติกลับสู่ภาวะที่มี เสถียรภาพ เลแมน บราเดอร์ส คาดการณ์ว่า ค่าเงินสกุลหลักของเอเชียจะแข็งค่าเพิ่มขึ้นขณะที่อัตราดอก เบี้ยจะลดต่ำลง ตลอดจนความต้องการภายในประเทศจะดีดตัวพุ่งสูงขึ้นขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง ปัจจัยพื้นฐานมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ภูมิภาคเอเชียมีความแปรปรวนจากปัจจัยภายนอกในระดับต่ำ เนื่องจากประเทศต่างๆ ในภูมิ ภาคเอเชียมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเหนือระดับพอเพียง นอก จากนี้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาคเอกชนและภาคการเงินของ ภูมิภาคมีการปรับตัวที่ดีขึ้นมาก แม้ว่าจะไม่ได้พุ่งขึ้นสู่ระดับที่ดีที่สุดก็ตาม ทำให้ภูมิภาคเอเชียมีความสามารถใน การทำกำไรและมีงบดุลที่ดีขึ้น รวมทั้งมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนลดลงและสอดคล้องตามมาตรฐานสากล นอกจาก นี้ การที่ธนาคารในภูมิภาคเอเชียได้ให้ความสำคัญกับประเด็นความเสี่ยงในการให้สินเชื่อส่งผลให้ธนาคารมี เงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 8 ขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัว ลดลงประมาณร้อยละ 10 อย่างไรก็ดี ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียประสบความคืบหน้าในระดับที่แตกต่าง กัน โดยภาคการเงินของจีน ไทย และฟิลิปปินส์ ยังคงมีความอ่อนแอแต่โดยรวมแล้ว การปรับเปลี่ยนโครง สร้างทางเศรษฐกิจมีความคืบหน้าอย่างมาก อาทิ การลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจต่างๆ ที่ช่วยหนุนเสริมให้จีดีพี ของภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ในปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่านมาก่อนช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และ ธนาคารต่างๆ เริ่มปล่อยสินเชื่ออีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อภาคครัวเรือน ทิศทางของสินเชื่อภาคครัวเรือน ด้วยนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิต) และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ ในระดับต่ำ นับเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ภาคครัวเรือนในภูมิภาคเอเชียมีการกู้ยืมมากขึ้น ซึ่งปรา กฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วในประเทศเกาหลีที่มีการกู้ยืมมากเกินไปจนทำให้เกิดวิกฤติการณ์บัตรเครดิตขึ้น ในปี 2545 อย่างไรก็ตาม การกู้ยืมสินเชื่อของภาคครัวเรือนในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดย ยังมีอัตราการออมเงินที่สูง การขยายตัวของชนชั้นกลาง เมื่อพิจารณาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า รายได้ต่อหัวโดยเฉลี่ย ของภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 5,770 เหรียญสหรัฐในปี 2541 เป็น 7,470 เหรียญสหรัฐในปี 2547 โดยรายได้ ส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการซื้อสินค้าภายในประเทศขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะ ในประเทศจีน ซึ่งมีจำนวนโทรศัพท์มือถือในทุกๆ 100 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเพิ่มขึ้นจาก 3 เครื่อง ในปี 2541 เป็น 109 เครื่อง ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนยังเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2546 ชาวจีนเดิน ทางไปท่องเที่ยว ในต่างประเทศสูงถึง 20 ล้านคน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีจำนวนสูงกว่านักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น และมีแนวโน้มที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนจะพุ่งสูงถึง 24 ล้านคนในปี 2547 แนวโน้มพฤติกรรมของประชากรวัยทำงานรุ่นใหม่ สัดส่วนของประชากรวัยทำงานในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างเด่นชัด ซึ่งแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ของโลก และเมื่อเทียบกับรุ่นบิดามารดาที่มีความประหยัดมัธยัสถ์ ประชากรรุ่น ใหม่ในภูมิภาคเอเชียจะใช้ชีวิตแบบเสรีมากขึ้น โดยแยกออกจากครอบครัวบิดามารดาเพื่อมาใช้ชีวิตอย่าง อิสระ และมีการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวและกิจกรรมยามว่างเพิ่มขึ้น การขยายตัวของสังคมเมืองที่รวดเร็ว ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกประมาณร้อยละ 40 อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง ซึ่งถือเป็น สัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับภูมิภาคละตินอเมริกาและสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการขยายตัวของชุมชนเมืองประ มาณร้อยละ 75 และ 60 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) กำลังมีการขยายตัวของสัง คมเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากมีการบริหารจัดการที่ดีแล้วจะส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวและ เพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ (Economy of scale) ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นในการสร้างผลกำไรและ รายได้สูงขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารโลก คาดการณ์ว่า ประชากรในสังคมเมืองของภูมิภาคเอเชียจะเพิ่มขึ้นถึง 500 ล้านคนในระหว่างปี 2543 – 2568 การคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีในปี 2548 ประเทศที่มีการเติบโตของจีดีพีในระดับสูง เลแมน การประมาณการของตลาดโดยรวม ความแตกต่าง บราเดอร์ส (ร้อยละ) ฮ่องกง 5.5 4.5 1 อินโดนีเซีย 5.8 4.9 0.9 ไต้หวัน 5 4.2 0.8 เกาหลีใต้ 4.9 4.1 0.8 มาเลเซีย 6 5.3 0.7 ไทย 6 5.6 0.4 จีน 8.3 8 0.3 ประเทศที่มีการเติบโตของจีดีพีในระดับปานกลาง สิงคโปร์ 4.5 4.4 0.1 ประเทศที่มีการเติบโตของจีดีพีในระดับต่ำ ฟิลิปปินส์ 3.7 4.2 -0.5 การคาดการณ์จีดีพีที่แท้จริงและดัชนีราคาผู้บริโภค* จีดีพีที่แท้จริง ดัชนีราคาผู้บริโภค (การเติบโตเทียบเป็นร้อยละปีต่อปี) (การเติบโตเทียบเป็นร้อยละปีต่อปี) ไตรมาส 3 ปี 2547 2547 2548 2549 พฤศจิกายน 2547** 2547 2548 2549 จีน 9.1 9.2 8.3 8.5 2.8 4.1 3.5 2.5 ฮ่องกง 7.2 8 5.5 4.8 0.2 -0.4 2.5 4.5 อินโดนีเซีย 5 4.9 5.8 6.5 6.2 6.2 6.4 5.5 มาเลเซีย 6.8 7 6 6 2.1 1.5 3 3.5 ฟิลิปปินส์ 6.3 5.9 3.7 4 8.2 5.9 7.5 7.5 สิงคโปร์ 7.5 8 4.5 4.3 2 1.7 1.8 1.5 เกาหลีใต้ 4.6 4.3 4.9 5.5 3.3 3.8 3.4 3 ไต้หวัน 5.3 5.7 5 5 1.5 1.9 3 2.5 ไทย 6 6 6 6 3 2.8 3 2.5 ภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) 7.1 7.2 6.5 6.7 2.9 3.4 3.5 3 * เป็นการคาดการณ์แบบ modal forecast ซึ่งเป็นการคาดการณ์ผลที่มีแนวโน้มเป็นไปได้ มากที่สุด ** ดัชนีราคาผู้บริโภคของฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นข้อมูลประจำเดือนตุลาคม Satida Sritunyatorn Media Relations Manager Aziam Burson-Marsteller Tel: 0 2252 9871 x122 Fax: 0 2254 8353--จบ--

ข่าวเลแมน บราเดอร์ส+ในต่างประเทศวันนี้

เลแมน บราเดอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ แถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน

เลแมน บราเดอร์ส จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ต่อไปต่อการสอบสวนของกรมสืบสวนคดีพิเศษ โดยจะยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาต่อกรมสืบสวนคดีพิเศษต่อไป คำชี้แจงดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่าเลแมน บราเดอร์ส ได้กระทำการทุกประการโดยชอบด้วยกฎหมาย เลแมน บราเดอร์สได้ประกอบกิจการด้วยความยึดมั่นในความสำคัญของตลาดในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ ในส่วนของการดำเนินการของบริษัทฯที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้นั้น บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า การที่บริษัทฯ เข้าซื้อสินทรัพย์ของปรส. ในปี 2541นั้น ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของไทยโดยรวม

ไรมอน แลนด์ เสนอขายหุ้นกู้แก่ เลแมน บราเดอร์ส ไรมอน แลนด์ เสนอขายหุ้นกู้แก่ เลแมน บราเดอร์ส เพื่อใช้พัฒนาโครงการ “เดอะ ริเวอร์”

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) ประกาศถึงความสำเร็จในการออกและเสนอขายหุ้นกู้วงเงิน 450 ล้านบาทให้แก่บริษัท เลแมน บราเดอร์ส (ไทยแลนด์) จำกัด หุ้นกู้ดังกล่าว...

“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

ความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางในเอเชียจะมีนโยบายแตกต่างกัน เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกเผยว่า การสะสมเงินทุนสำรองในเอเชียมากเกินไปจะไม่ส่งผลดี ทั้งนี้ ความพยายามทำให้ค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริงโดยการแทรก...

“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์” จีนและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การเติบโตที่แท้จริงของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนอ่อนตัวลงในเดือนมกราคม ...

“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

ฮ่องกงกับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เลแมน บราเดอร์ส ประเมินว่า ฮ่องกงจะมีนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนตั้งแต่ปี 2536 เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ประเมินว่า ...

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกเผยว่า ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เป็นผลดีแล้ว เอเชียก็มีการสะสมเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่...

“มิสเตอร์เยน” เข้าร่วมในคณะกรรมการที่ปรึกษาของ เลแมน บราเดอร์ส ญี่ปุ่น

นายเออิสุเกะ ซากากิบาระ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ด้านกิจการระหว่างประเทศ เข้าร่วมในคณะกรรมการที่ปรึกษาของ เลแมน บราเดอร์ส ญี่ปุ่น หลังจากที่นายฮิโรโนริ ไอฮารา อดีตรองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ป เข้าร่วม ...

เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า เศรษฐกิจเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะมีทิศทางการเติบโตที่สดใส

เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า เศรษฐกิจเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะมีทิศทางการเติบโตที่สดใส เงินสกุลเอเชียจะทวีความสำคัญเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ...

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

จีนกับระบบการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ มีความเป็นไปได้ที่จีนจะจัดทำแผนปฏิรูปการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ ขึ้นใหม่ หลังจากที่มีการรอคอยเป็นเวลานาน ...

“เลแมน บราเดอร์ส” สถาบันการเงินต่างประเทศรายแรก ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จำหน่ายตราสารอนุพันธ์นอกตลาดหลักทรัพย์ แบบครบวงจรในเกาหลี

ภายใต้การอนุมัติของคณะกรรมการกำกับและดูแลนโยบายทางการเงินของเกาหลี เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนระดับโลก เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับและดู...