บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคมครบวงจร เปิดตัวมูลนิธิสามารถในโอกาสครบรอบ 50 ปีสามารถ ในปี 2548 พร้อมเปิดตัวโครงการประกวด “ศิลปกรรมสามารถ” หวังส่งเสริมศิลปินไทยและหารายได้ช่วยเหลือผู้ด้อย โอกาสในสังคม
นายพิชัย วาศนาส่ง ประธานกรรมการ มูลนิธิสามารถ เปิดเผยความเป็นมาของมูลนิธิสามารถว่า “มูลนิธิสามารถก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 ด้วยความสำนึกในบุญคุณของแผ่นดินไทย และปณิธานอันแน่วแน่ของ คุณเชิดชัย วิไลลักษณ์ ผู้ก่อตั้ง ที่มีความตระหนักในปัญหาทางสังคม และมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ด้อยโอกาสในสังคม รวมไปถึงการปลูกฝังและสร้างรากฐานทางการศึกษาให้แก่เยาวชนไทย”
“ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิสามารถ ได้ดำเนินกิจกรรมสาธารณะประโยชน์มากมาย ทั้งกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ อาทิ โครงการทุนการศึกษา “สามารถ” เพื่อเด็กด้อยโอกาส, โครงการทุนกาศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับนักศึกษาคณะวิศวกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โครงการบริจาคคอมพิวเตอร์มือสองให้แก่โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร เป็นต้น” นายพิชัย กล่าว
นอกจากนี้นายพิชัย ได้กล่าวถึงแผนการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในปี 2548 ว่า จะยังคงมุ่งพัฒนาใน ด้านการศึกษาและการสร้างโอกาสให้กับบุคคลด้อยโอกาสเช่นเมื่อก่อตั้ง ทว่าจะเน้นที่ความเสมอภาคทางการศึกษามากขึ้น รวมถึงสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการกระจายโอกาสทางการ ศึกษาไปยังชนบท และการสนับสนุนการศึกษาสายวิชาชีพ เพื่อนำวิชาความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบอาชีพต่อไป
ภายในวันเดียวกัน บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับมูลนิธิสามารถ ประกาศผลการประกวดโครงการศิลปกรรมสามารถ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2547 เนื่องในโอกาส 50 ปี บริษัทสามารถฯ ภายใต้หัวข้อ “ความรุ่งเรืองของเมืองไทย” หวังเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยแสดงความสามารถทางงานศิลป์
นางสุกัญญา วนิชจักรวงศ์ หนึ่งในคณะผู้บริหารของกลุ่มบริษัทสามารถ เปิดเผยว่า “โครงการประกวดศิลปกรรมสามารถ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อร่วมฉลองโอกาสการครบรอบ 50 ปี ของบริษัทสามารถฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์งานศิลป์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศิลปะไทยให้ก้าวหน้ากว้าง ขวางออกไป อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดศิลปินรุ่นใหม่ในวงการศิลปะอีกด้วย”
โครงการประกวดศิลปกรรมสามารถ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2547 ในหัวข้อ“ความรุ่งเรืองของเมืองไทย” ได้เปิดโอกาสให้ศิลปินใช้จินตนาการอย่างอิสระ เพื่อสะท้อนความหมายของความรุ่งเรืองผ่านงานศิลปะ โดยไม่จำเป็นต้องมีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทสามารถฯแต่อย่างใด ซึ่งทุกผลงานจะผ่านการตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงเกียรติในวงการศิลปะ
“การประกวดครั้งนี้มีผู้ให้ความสนใจส่งผลงานเข้าประกวด รวมทั้งสิ้นกว่า 187 ผลงาน ซึ่งล้วนแต่เป็น ผลงานที่โดดเด่น สะท้อนให้เห็นจินตนาการอันกว้างไกล และฝีมือที่ดีเยี่ยมของศิลปินไทย โดยใช้เกณฑ์การตัดสิน ทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ การสะท้อนความหมายของหัวข้อการประกวด อีกทั้งความสวยงามและเทคนิคที่ใช้ในการสร้างผลงาน” นางสุกัญญา กล่าวเสริม
การประกวดครั้งนี้มีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 26 ผลงาน ซึ่งได้ถูกนำมาแสดงที่ลานแกรนด์ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอร์รี่ เซ็นเตอร์ ตั้งแต่วันที่ 23-26 ธันวาคม 2547 โดยผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเพชร คือ ผลงานที่ชื่อว่า “ด.ช. ป๋องแห่งสะพานลอยหน้าฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต” กับเทคนิคการใช้สีน้ำมันบนอะลูมิเนียม ของ นายเทอดเกียรติ หวังวัชรกุล
สำหรับรางวัลในการประกวดครั้งนี้ ประกอบด้วย
- รางวัลชนะเลิศ “รางวัลเพชร” ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ เกียรติบัตร เงินสด 300,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ “รางวัลทอง” จำนวน 12 รางวัลๆ ละ 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลชมเชย จำนวน 13 รางวัล ๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโทรศัพท์มือถือ และเกียรติบัตร
“กลุ่มบริษัทสามารถ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของมูลนิธิสามารถ นอก จากจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสแล้ว ยังอาจช่วยกระตุ้นให้ภาคเอกชนอื่นๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือสังคมมากยิ่งขึ้น” นางสุกัญญา กล่าวในตอนท้าย
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา / พรพรรณ ฉวีวรรณ
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด
โทร 0-2662-2266--จบ--