สึนามิเอเชีย ส่งผลกระทบรุนแรงเชิงสังคม แต่มีผลกระทบเล็กน้อยเชิงเศรษฐกิจ

กรุงเทพฯ--6 ม.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน–มาร์สเตลเลอร์

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส สึนามิเอเชีย ส่งผลกระทบรุนแรงเชิงสังคม แต่มีผลกระทบเล็กน้อยเชิงเศรษฐกิจ เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก สรุปผลกระทบจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ “สึนามิ” ที่ถล่มใส่ประเทศในเอเชียว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบด้านสังคมอย่างใหญ่หลวง แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชิงมหภาคเพียงเล็กน้อย โดยในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา ภูมิภาค เอเชียได้ประสบภัยพิบัติจากปรากฏการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ซึ่งวัดค่าความสั่นสะเทือนได้ 9.0 ริคเตอร์ ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ “สึนามิ” สูงถึง 10 เมตร แม้จุดที่เกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ที่น่านน้ำอินโดนีเชียบริเวณเกาะสุมาตรา แต่คลื่นยักษ์ “สึนามิ” ได้เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่อื่นๆ โดยได้สร้างความเสียหายอย่างมากแก่ประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย มาเลเซีย และมัลดีฟ ส่งผลให้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบไม่มีไฟฟ้าใช้ ตลอดจนขาดแคลนน้ำดื่ม และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นครั้งนี้ต่างจากวิกฤตการณ์โรคซาร์สซึ่งสร้างความเสียหายเป็นระยะเวลาหลายเดือน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นครั้งนี้ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณจังหวัดและหมู่บ้าน ชายฝั่งทะเล โดยที่ไม่มีรายงานความเสียหายร้ายแรงต่อเมืองใหญ่ บริเวณอุตสาหกรรมและเมืองท่าที่สำคัญแต่อย่างใด ความเสียหายเชิงเศรษฐกิจที่รุนแรงจะอยู่ที่อุตสาหกรรมประมงและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่ความเสียหายดังกล่าวมีผลกระทบเพียงระยะสั้น กล่าวคือ นักท่องเที่ยวต่างชาติต่างยกเลิก แผนการท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ ซึ่งมีตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติยกเลิกการเข้าพักที่โรงแรมและรีสอร์ตในจังหวัดชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยประมาณร้อยละ 60 แต่วิกฤตการณ์จากภัยพิบัติธรรมชาติครั้งนี้ได้ สิ้นสุดลงแล้ว คาดว่าปริมาณนักท่องเที่ยวจะกลับคืนสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 เดือน นอกจากนี้ การใช้จ่ายเพื่อการบูรณะซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติครั้งนี้จะช่วยชดเชยผลกระทบจากการสูญเสียรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการประมงได้อย่างมาก ดังนั้น ผลกระทบเชิงลบระยะสั้นต่ออุตสาหกรรมบางประเภท อาทิ การประมง การท่องเที่ยว การบิน และ การประกันภัย กลับเป็นปัจจัยเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมบางประเภท อาทิ การก่อสร้าง การทำเหมืองแร่ สาธารณสุข และสวัสดิการสังคม ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบเชิงลบต่อจีดีพี ดังตัวอย่างจากปรากฏการณ์ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนมกราคม 2538 แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบในครั้งนั้นได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 6,400 ชีวิต และก่อเกิดความเสียหายคิดเป็นมูลค่าถึง 95,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี จีดีพีของประเทศญี่ปุ่นในปี 2538 ไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากนัก เนื่องด้วยมีการทดแทนด้วยการใช้จ่ายเพื่อการบูรณะซ่อมแซมเมืองครั้งใหญ่ภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว นอกจากนี้ ยังมีรายงานการช่วยเหลือด้านการเงินจากต่างประเทศซึ่งขณะมีอย่างน้อย 24 ประเทศที่เข้าร่วมให้ความช่วยเหลือดังกล่าว สำหรับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ ประเทศไทยจะมีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ 6 ของจีดีพี ซึ่งจังหวัดภูเก็ตที่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญและได้รับผลกระทบอย่างมากในขณะนี้ โดยในปี 2545 จำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตคิดเป็นร้อยละ 14 ของจำนวน นักท่องเที่ยวทั้งหมดในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ประเทศไทยในขณะนี้กำลังดำเนินนโยบายทางการคลังเกินดุล และจะมีการเลือกตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น จึงเป็นที่คาดว่า การดำเนินการบูรณะซ่อมแซมความเสียหายน่าจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว สำหรับประเทศอินโดนีเซีย พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดคือจังหวัดอาเจะห์ ซึ่งเป็นบริเวณที่ มีนักท่องเที่ยวเพียงเล็กน้อย ขณะที่บาหลีไม่ได้รับความเสียหายใดๆ อาเจะห์เป็นแหล่งผลิตน้ำมันดิบที่สำคัญ ซึ่งภัยพิบัติครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายรุนแรงต่อบริเวณที่ขุดเจาะน้ำมัน ส่วนประเทศมาเลเซียนั้นเป็นประเทศที่ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด โดยบริเวณที่ได้รับความเสียหายเป็นเมืองและหมู่บ้านเล็กๆ ในขณะที่ปีนังและลังกาวีซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญไม่ได้รับผลกระทบเท่าไรนัก กล่าวโดยสรุป เลแมน บราเดอร์ส มีความเห็นว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในด้านสังคม อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชิงมหภาคในด้านจีดีพีมากนัก ดังนั้น เลแมน บราเดอร์ส จึงยังคงยืนยันการคาดการณ์เดิมต่อการเติบโตของจีดีพีในปีหน้าของประเทศไทย (ร้อยละ 6) ประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 5.8) และประเทศมาเลเซีย (ร้อยละ 6) โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับความเสียหาย ได้แก่ การท่องเที่ยว การบิน และการประกันภัย ขณะที่ อุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้แก่ การก่อสร้าง นอกจากนี้ เหตุการณ์ครั้งนี้อาจเป็นปัจจัยเสริมระยะสั้นต่อแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับความเสียหายในประเทศไทย ศรีลังกา และมาเลเซีย ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เช่น บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และเกาะเชบุ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยต่างมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากขึ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: อาซิแอม เบอร์สัน–มาร์สเตลเลอร์ วราพร สมบูรณ์วรรณะ / สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์ โทร 0 2252 9871--จบ--

ข่าวเลแมน บราเดอร์ส+แผ่นดินไหววันนี้

เลแมน บราเดอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ แถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน

เลแมน บราเดอร์ส จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ต่อไปต่อการสอบสวนของกรมสืบสวนคดีพิเศษ โดยจะยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาต่อกรมสืบสวนคดีพิเศษต่อไป คำชี้แจงดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่าเลแมน บราเดอร์ส ได้กระทำการทุกประการโดยชอบด้วยกฎหมาย เลแมน บราเดอร์สได้ประกอบกิจการด้วยความยึดมั่นในความสำคัญของตลาดในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ ในส่วนของการดำเนินการของบริษัทฯที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้นั้น บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า การที่บริษัทฯ เข้าซื้อสินทรัพย์ของปรส. ในปี 2541นั้น ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของไทยโดยรวม

ไรมอน แลนด์ เสนอขายหุ้นกู้แก่ เลแมน บราเดอร์ส ไรมอน แลนด์ เสนอขายหุ้นกู้แก่ เลแมน บราเดอร์ส เพื่อใช้พัฒนาโครงการ “เดอะ ริเวอร์”

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) ประกาศถึงความสำเร็จในการออกและเสนอขายหุ้นกู้วงเงิน 450 ล้านบาทให้แก่บริษัท เลแมน บราเดอร์ส (ไทยแลนด์) จำกัด หุ้นกู้ดังกล่าว...

“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

ความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางในเอเชียจะมีนโยบายแตกต่างกัน เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกเผยว่า การสะสมเงินทุนสำรองในเอเชียมากเกินไปจะไม่ส่งผลดี ทั้งนี้ ความพยายามทำให้ค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริงโดยการแทรก...

“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์” จีนและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การเติบโตที่แท้จริงของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนอ่อนตัวลงในเดือนมกราคม ...

“รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

ฮ่องกงกับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เลแมน บราเดอร์ส ประเมินว่า ฮ่องกงจะมีนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนตั้งแต่ปี 2536 เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ประเมินว่า ...

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกเผยว่า ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เป็นผลดีแล้ว เอเชียก็มีการสะสมเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่...

“มิสเตอร์เยน” เข้าร่วมในคณะกรรมการที่ปรึกษาของ เลแมน บราเดอร์ส ญี่ปุ่น

นายเออิสุเกะ ซากากิบาระ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ด้านกิจการระหว่างประเทศ เข้าร่วมในคณะกรรมการที่ปรึกษาของ เลแมน บราเดอร์ส ญี่ปุ่น หลังจากที่นายฮิโรโนริ ไอฮารา อดีตรองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ป เข้าร่วม ...

เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า เศรษฐกิจเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะมีทิศทางการเติบโตที่สดใส

เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า เศรษฐกิจเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะมีทิศทางการเติบโตที่สดใส เงินสกุลเอเชียจะทวีความสำคัญเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ...

สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

จีนกับระบบการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ มีความเป็นไปได้ที่จีนจะจัดทำแผนปฏิรูปการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ ขึ้นใหม่ หลังจากที่มีการรอคอยเป็นเวลานาน ...

“เลแมน บราเดอร์ส” สถาบันการเงินต่างประเทศรายแรก ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จำหน่ายตราสารอนุพันธ์นอกตลาดหลักทรัพย์ แบบครบวงจรในเกาหลี

ภายใต้การอนุมัติของคณะกรรมการกำกับและดูแลนโยบายทางการเงินของเกาหลี เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนระดับโลก เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับและดู...