กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานเสวนา เรื่อง "จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและไม่กระทบภาคธุรกิจ"

กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--เนคเทค

โครงการเสวนา เรื่อง “จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและไม่กระทบภาคธุรกิจ” วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม 2547 เวลา 9.00 น.–16.00 น. ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ 2 ชั้น เอ็ม โรงแรมรามา การ์เด้น จัดโดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สภาทนายความ หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย สมาคมธนาคารไทย 1. หลักการและเหตุผล สืบเนื่องจากมาตรา 28 และมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน อนึ่ง บทบัญญัติข้างต้นได้กำหนดเอาไว้เป็นเพียงหลักเกณฑ์ที่เป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเท่านั้น ยังไม่ได้มีกฎหมายมารองรับเป็นลักษณะกฎหมายทั่วไป ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดกลไกในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถประมวลผลและเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็วโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอันทันสมัย จึงมีความจำเป็นต้องตรากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นกฎหมายทั่วไป และในการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวได้ดำเนินการให้มีลักษณะความเป็นสากลอันรับกับลักษณะเฉพาะของสังคมไทยด้วย ในการยกร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว จึงได้กำหนดหลักการในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามแนวทางและมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน Guidelines Governing the Protection of Privacy and Transborder Data Flows of Personal Data ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organization for Economic Cooperation and Development หรือ OECD) อันเป็นแนวทางที่นานาประเทศต่างก็ได้ใช้เป็นกรอบหรือแนวทางในการพัฒนากฎหมายภายในของประเทศตน ประกอบกับการศึกษากฎหมายหลายประเทศในเชิงเปรียบเทียบและพิจารณาหลักการของกฎหมายไทยฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้มีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความตื่นตัวของสังคมไทยในการเล็งเห็นถึงความสำคัญของสิทธิขั้นพื้นฐานข้างต้นควบคู่ไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ได้กำหนดขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายให้ครองคลุมการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรวบรวม การประมวลผล การเก็บรักษา การแก้ไข การลบ การโอน การใช้ และการจำกัดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนั้น ยังได้กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และกำหนดกลไกในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยส่งเสริมให้มีการจัดทำนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งทำหน้าที่ในการวางนโยบาย มาตรการ และแนวทางใดๆ ในการส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยกำหนดให้มีมาตรการทางปกครองเพื่อกำหนดกลไกการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อทำหน้าที่หน่วยงานธุรการและสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในชั้นการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระบวนการนิติบัญญัติเป็นไปอย่างรอบคอบและมีเนื้อหาที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นถึงข้อดี หรือข้อบกพร่องที่จะต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในร่างพระราชบัญญัติ รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายในอนาคต ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและเป็นหลักประกันในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างแท้จริง 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2.2 เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อการปรับปรุงเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายในอนาคต 3. กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมการเสวนา ประมาณ 300 คน จากสาขาต่างๆ ดังนี้ คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ประมาณ 20 คน นักกฎหมายจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประมาณ 100 คน สื่อมวลชนและ NGO ประมาณ 80 คน นักวิศวกรรมศาสตร์ นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ - ประมาณ 100 คน เทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. รูปแบบการจัดงาน เป็นการเสวนาทางวิชาการ โดยวิทยากรทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 5. วัน เวลา สถานที่ วันพฤหัสบดี ที่ 29 กรกฎาคม 2547 เวลา 09.00–16.00 น. ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ 2 ชั้น เอ็ม โรงแรมรามา การ์เด้น 6. หน่วยงานที่จัด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สภาทนายความ หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย และสมาคมธนาคารไทย 7. กำหนดการ 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-09.15 น. กล่าวเปิดการสัมมนา โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 09.15 – 12.00 น. จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและไม่กระทบภาคธุรกิจ โดย - ผศ.ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - นายมนู อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) - ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดำเนินรายการและร่วมเสวนา โดย ศ. เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ ประธานคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ฯ 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00-16.00 น. การจัดทำ Privacy Policy และการใช้ Trust Mark เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในการทำ e-Commerce โดย - นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ผู้อำนวยกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ - นายเลิศยุทธ ทองวินิจ กรรมการผู้จัดการ hoteleasy.com ดำเนินรายการและร่วมเสวนา โดย นางสุรางคณา วายุภาพ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์--จบ-- --อินโฟเควสท์ (นท)--

ข่าวสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ+กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารวันนี้

ภาพข่าว: รมว.ไอซีที ปาฐกถาพิเศษ ในงานเปิดตัวโครงการ 'ส่งเสริมพื้นที่พิเศษสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล (Smart City)’ จังหวัดภูเก็ต

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "Phuket Smart City & Digital Economy" ในงานเปิดตัวโครงการ 'ส่งเสริมพื้นที่พิเศษสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล (Smart City)' จังหวัดภูเก็ต ภายใต้แนวคิด 'Phuket Smart City 2020 : Smile Smart and Sustainable Phuket' โดยกระทรวงไอซีที ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า จัดโครงการ 'Phuket Smart City' ขึ้นเพื่อรองรับนักลงทุนในกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียน หรือ AEC

ICDL (International Computer Driving Lice... ภาพข่าว: หนุนนโยบาย ICT ICDL สนับสนุน Phuket Smart City — ICDL (International Computer Driving License) วุฒิบัตรรับรองความสามารถคอมพิวเตอร์สากล เข้าร่วมงา...

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทค... ภาพข่าว: รมว.ไอซีที เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “SIPA Tech Startup Club” — ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื...

เจ้าภาพร่วมโดย • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ... เชิญชวนส่งผลงานเข้าประกวดโครงการ Thailand ICT Youth Challenge 2016 — เจ้าภาพร่วมโดย • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MICT) • สำนักงานคณะกรรมการการ...

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ... อีจีเอ ขอเชิญชวนร่วมโหวตเป็นกำลังใจให้กับ “แอปขวัญใจมหาชน” — กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ...

28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2559 สำนักงานส่งเสร... กระทรวงไอซีที และ ซิป้า ควงพันธมิตรเปิดตัว Incubation Network ในงาน Startup Thailand 2016 — 28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2559 สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์...

SIPA ขอเชิญบุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมฝึกอบรมและสอบมาตรฐานสากล CompTIA เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ กระทรวงไอซีที มอบหมายให้บริษัท เออาร์ไอที จำกัด เป็นผู้บริหารโครงการ...

ส.อ.ท. จับมือ กระทรวง ไอซีที จัด “โครงการส่งเสริมการจัดเก็บฐานข้อมูลกลางของสินค้า” ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งข้อมูล รับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล

สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ...