สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจร่วมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "เขียนอย่างไร ให้ได้จัดพิมพ์"

กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "เขียนอย่างไร ให้ได้จัดพิมพ์" สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์หนังสือจุฬาฯ-มหาวิทยาลัยบูรพา ขอเชิญครู อาจารย์ นักวิชาการ และผู้ที่มีโครงการจะเขียนหนังสือ เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "เขียนอย่างไร ให้ได้จัดพิมพ์" เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำแนวทางที่ได้จากการสัมมนาไปเขียนและพัฒนาตำราวิชาการได้ดียิ่งขึ้น วิทยากร แบ่งเป็น 2 สาขา สาขาสังคมศาสตร์/สาขามนุษยศาสตร์ - ศ. ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ - ศ. ปรีชา ช้างขวัญยืน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ สาขาวิทยาศาสตร์ - ผศ. มานิต รุจิวโรดม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ - ผศ. ดร.วิภูษิต มัณฑะจิตร คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา ในวันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2546 เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุม QS 2 101 - 102 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ท่านที่สนใจ สำรองที่นั่งฟรีได้ที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ- ม.บูรพา โทร. 0-38393-239 แผนกประชาสัมพันธ์ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ : เนตรนภา ปัญญามาก โทร. 0-2218-9893-4 โทรสาร 0-2218-9895 โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "เขียนอย่างไร ให้ได้จัดพิมพ์" จัดโดย มหาวิทยาลัยบูรพา สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์หนังสือจุฬาฯ - ม.บูรพา 1. หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันได้มีการผลิตหนังสือ เพื่อใช้ในการศึกษาระดับต่าง ๆ อยู่แล้วเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือที่ใช้ในระดับอุดมศึกษามีการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักพิมพ์ โครงการตำราหรือผู้สอนรายบุคคล อย่างไรก็ดีกระบวนการผลิตหนังสือจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้น กล่าวคือ การเขียน การจัดพิมพ์ และท้ายที่สุด คือ การใช้หนังสือนั้นอย่างถูกต้องเหมาะสมและคุ้มค่า ไม่ว่าหนังสือนั้นจะวางไว้ที่ห้องสมุดของสถานศึกษาหรือเป็นหนังสือส่วนตัวก็ตาม กระบวน-การที่กล่าวถึงแต่ต้นนั้นล้วนมีความสำคัญในตนเองทุกขั้นตอนและมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นลำดับ ดังนั้น การจะได้มาซึ่งหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพก็จะต้องผ่านกระบวนการในแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้องด้วย นั่นคือความมีคุณค่าทางวิชาการ ความถูกต้องทางเทคนิค ความเหมาะสมทางธุรกิจ และทางการตลาด รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ใช้หนังสือด้วย สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่อง "เขียนอย่างไร ให้ได้จัดพิมพ์" โดยมุ่งหวังจะให้คณาจารย์ตลอดจนนักวิชาการได้มีแนวทางสร้างและการใช้ตำราวิชาการ เพื่อนำไปพัฒนาการศึกษา ซึ่งย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมในวงกว้างต่อไป 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการเขียนตำราวิชาการ 2.2 เพื่อแสวงหาแนวทางเสริมสร้างคุณค่าของตำราวิชาการ 3. วิธีการจัดสัมมนา 3.1 การอภิปราย 3.2 การประชุมกลุ่มย่อย แบ่งเป็น 2 สาขา 3.2.1 สาขาสังคมศาสตร์/สาขามนุษยศาสตร์ 3.2.2 สาขาวิทยาศาสตร์ 4. ระยะเวลา วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2546 เวลา 8.30 - 12.00 น. 5. สถานที่จัดสัมมนา ณ ห้อง QS 2 101 - 102 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี 6. วิทยากร แบ่งเป็น 2 สาขา 6.1 สาขาสังคมศาสตร์/สาขามนุษยศาสตร์ - ศ. ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ - ศ. ปรีชา ช้างขวัญยืน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 6.2 สาขาวิทยาศาสตร์ - ผศ. มานิต รุจิวโรดม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ - ผศ. ดร.วิภูษิต มัณฑะจิตร คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา 7. จำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนา 200 คน 8. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา - อาจารย์ นักวิชาการ จากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ในภาคตะวันออก - ผู้ที่เขียนหนังสือ และมีผลงานทางวิชาการที่ต้องการเผยแพร่ - ผู้ที่มีโครงการจะเขียนหนังสือ แต่ไม่มีโอกาส และยังไม่เคยเขียน 9. การประเมิน จากการออกแบบสอบถาม 10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำแนวทางที่ได้จากการสัมมนาไปเขียนและพัฒนาตำราวิชาการได้ดียิ่งขึ้น 2. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ จะได้มีตำราทางวิชาการที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น 3. ผู้ร่วมสัมมนาได้ทราบแนวทางในการตรวจพิจารณาต้นฉบับที่เหมาะสม 4. ส่งเสริมการใช้หนังสือวิชาการระดับอุดมศึกษาอย่างกว้างขวางขึ้น 11. หน่วยงานที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยบูรพา สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์หนังสือจุฬาฯ - ม.บูรพา กำหนดการสัมมนา เรื่อง "เขียนอย่างไร ให้ได้จัดพิมพ์" วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เวลา 8.30 - 12.00 น. ณ ห้อง QS 2 101 - 102 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 09.10 น. กรรมการผู้อำนวยการสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับ 09.10 - 09.20 น. อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวเปิดงาน 09.20 - 10.20 น. การอภิปรายเรื่อง "เขียนอย่างไร ให้ได้จัดพิมพ์" โดย - ศ. ปรีชา ช้างขวัญยืน - ศ. ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ - ผศ. ดร.วิภูษิต มัณฑะจิตร ผู้ดำเนินการอภิปราย ผศ. มานิต รุจิวโรดม 10.20 - 10.30 น. รับประทานอาหารว่าง 10.30 - 12.00 น. ประชุมกลุ่มย่อย เรื่อง "ไขปัญหาการเขียนหนังสือวิชาการ"สาขาสังคมศาสตร์/สาขามนุษยศาสตร์ วิทยากร - ศ. ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ - ศ. ปรีชา ช้างขวัญยืน สาขาวิทยาศาสตร์วิทยากร - ผศ. ดร.วิภูษิต มัณฑะจิตร - ผศ. มานิต รุจิวโรดม รับประทานอาหารตามอัธยาศัย--จบ-- -รก-

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+สุนีย์ มัลลิกะมาลย์วันนี้

จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย"

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองทัพเรือ (ทร.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย "การจัดตั้งและขับเคลื่อนองค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" เพื่อวางรากฐานในการเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางทะเลระดับประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมี พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน จากนั้นผู้แทนจากทั้งสามหน่วยงาน ได้แก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำก... SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน" — บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไทยเ... นิทรรศการ "รัตนแห่งจุฬาฯ" 28 มีนาคม ถึง 3 เม.ย.นี้ ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ — คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไทยเบฟเวอเรจ และสามย่านมิตรทาวน์ ร...