มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนขอเชิญร่วมงานสมัชชาวิชาการชาวบ้านเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน

กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) จัดงาน สมัชชาวิชาการชาวบ้านเพื่อการพัฒนาเกษตรยั่งยืน ครั้งที่ 1 ขึ้นภายใต้ชื่อ “สานสรรค์ความรู้ สู่เกษตรยั่งยืน”: การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้จากงานวิจัยที่ดำเนินการโดยเกษตรกร องค์กรชุมชน และภาคี ในวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2546 ณ อาคารพิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โครงนำร่องฯ มีที่มาจากการที่เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกได้เข้าร่วมชุมนุมกับสมัชชาคนจนเมื่อต้นปี พ.ศ. 2540 เพื่อเรียกร้องเชิงนโยบายให้รัฐบาลสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างจริงจังตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฉบับที่ 8 ลักษณะเด่นของโครงการฯ คือ การที่องค์กรชาวบ้านในแต่ละพื้นที่มีบทบาทในการบริหารจัดการโครงการฯ และงบประมาณได้โดยตรง รวมทั้งมีบทบาทในการกำหนดแผนงานการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนที่สอดคล้องกับลักษณะทางนิเวศ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ อนึ่ง การวิจัยและพัฒนาเป็นแผนงานหนึ่งของโครงการฯ โดยนอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืนในด้านต่างๆ เพื่อนำไปแก้ปัญหาเฉพาะของแต่ละพื้นที่ และเพื่อนำความรู้ที่ได้มาจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านเกษตรกรรมยั่งยืนแล้ว ที่สำคัญก็คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านผ่านกระบวนการวิจัย ดังนั้น เกษตรกรในโครงการจึงมีบทบาทหลักในการวิจัยทั้งการคิดโจทย์วิจัย การกำหนดขั้นตอนการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ สำหรับการจัดงานสมัชชาวิชาการชาวบ้านฯ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อให้เกษตรกรและตัวแทนองค์กรชุมชนในโครงการฯ ที่ทำงานวิจัยได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และข้อคิดเห็นระหว่างกัน รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนกับหน่วยงานภายนอกอื่นๆ ทั้งในแง่กระบวนการวิจัยและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนด้านต่างๆ 2) เพื่อนำเสนอความรู้และผลที่ได้จากงานวิจัยด้านต่างๆ ในโครงการฯ สู่สาธารณะเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพยายามของเกษตรกรและองค์กรชุมชนในการแก้ปัญหาและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน และ 3) เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ในงานประกอบด้วยการปาฐกถา โดยมีองค์ปาฐกคือ ศ. (พิเศษ) ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง การสัมมนากลุ่มย่อยแบ่งตามหัวข้อการวิจัย เช่น หัวข้อการปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการพันธุกรรมพืช-สัตว์พื้นบ้าน ตลาดทางเลือก/ธุรกิจชุมชน การบริหารจัดการขององค์กรชาวบ้านเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรกรรมยั่งยืนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น รวมการอภิปรายเวทีใหญ่ในหลายหัวข้อโดยผู้นำชาวบ้าน นักวิชาการ และตัวแทนหน่วยราชการที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.ชนวน รัตนะวราหะ อ.บัณฑร อ่อนดำ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ดร.อำพน กิตติอำพน เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย การจำหน่ายหนังสือและผลผลิต/ผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตรยั่งยืน รวมทั้งการแสดงศิลปะพื้นบ้านจากพื้นที่ต่างๆ ด้วยงานครั้งนี้มีสำนักวิจัยและพัฒนา และสาขาวิชาการส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นองค์กรร่วมจัด สนใจร่วมงานโปรดติดต่อ ฝ่ายสนับสนุนและประสานงานวิจัย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) เลขที่ 912 ซ.งามวงศ์วาน 31 (ซอยย่อยที่ 7) อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์/โทรสาร 02-5911195-6, 02-9527871 และ 02-5802035 หรือ [email protected]จบ-- -สส-

ข่าวมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช+มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนวันนี้

การแข่งขันประกวดวาดภาพ หัวข้อ "มุมที่ชอบ ภาพที่ใช่ ณ อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มสธ."

การแข่งขันประกวดวาดภาพ หัวข้อ "มุมที่ชอบ ภาพที่ใช่ ณ อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มสธ." รับสมัครผู้เข้าแข่งขันประเภททีม 2 คน เป็นนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 6 ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 สิงหาคม 2566 และเข้าร่วมแข่งขันวันอังคารที่ 5 กันยายน 2566 ณ ห้องจัดนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารตรีศร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รางวัลชนะเลิศ ได้รับทุนการศึกษา 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 083 497 0312 หรือ 02 504 7736

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บร... ปตท. x มสธ. ร่วมจุดพลังนักสื่อสารรุ่นใหม่ยุคดิจิทัล ยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย — นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท...

มูลนิธิเชฟแคร์ส ร่วมกับ กรมพินิจและคุ้มคร... มูลนิธิเชฟแคร์ส - กรมพินิจฯ - มสธ.- PIM ร่วม "สานฝันปั้นเชฟ" ให้โอกาส ให้อาชีพ สร้างคนดีคืนสังคม — มูลนิธิเชฟแคร์ส ร่วมกับ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาว...

กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.)โดยสำนักพัฒนาศัก... วศ.จัดทำหลักสูตร non degree เพิ่มช่องทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต — กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.)โดยสำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ จัดประชุมหารือร่ว...