นโยบายการดำเนินธุรกิจของ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด

กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ ความสำเร็จในการฟื้นฟูโครงการ "ลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ" และนโยบายการดำเนินธุรกิจของ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด "Success Story" ความเดิม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ได้จัดงานแถลงข่าวการร่วมทุนพัฒนาโครงการลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง 3 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คือ แอล.พี.เอ็น, แสนสิริ และ ยูนิเวนเจอร์ กับบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์อีก 1 แห่ง คือ เยาววงศ์ โดยเป็นการ ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัย "วอเตอร์คลิฟ" ซึ่งหยุดการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2540 อันเกิดจากการได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงิน โดยบริษัทฯ ได้เล็งเห็นโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการอาคารชุดพักอาศัยใจกลางเมืองที่มีศักยภาพสูงด้านทำเลที่ตั้งแห่งนี้ ซึ่งในขณะนั้นบริษัทฯ คาดการณ์ว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในการพัฒนาโครงการ ประวัติความเป็นมา โครงการ "วอเตอร์คลิฟ" เป็นอาคารชุดพักอาศัย ประกอบด้วยอาคารสูง 36 ชั้น 4 อาคาร จำนวน 622 ห้องชุด พื้นที่ขายกว่า 42,000 ตรม. ตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษก-พระราม 3 อยู่ห่างจากสี่แยกรัชนนทรี หรือถนนนราธิวาสราช-นครินทร์เพียง 200 เมตร แวดล้อมด้วยห้างเซ็นทรัล (รัชดา-พระราม 3) เทสโก้ โลตัส และแม็คโคร เดิมเจ้าของโครงการคือ บริษัท ไทยเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ได้เริ่มเปิดขายและก่อสร้างโครงการตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งในช่วงปี 2537-2540 โครงการประสบความสำเร็จด้านการขายเป็นอย่างดี โดยมีลูกค้าทำสัญญาซื้อ ห้องชุด 376 ราย หรือกว่า 87% ของ 3 อาคารที่เปิดขาย มีความคืบหน้าด้านงาน ก่อสร้างกว่า 80% จนเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 รวมถึงการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง อันเป็นผลทำให้สถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อสนับสนุนโครงการ 4 แห่งใน 6 แห่ง ที่ถูกคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการไม่สามารถให้เงินกู้เพื่อ ก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จลงได้ ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้เกี่ยวข้องมากมาย ดังนี้ 1. เจ้าของโครงการ 2. ลูกค้า 3. เจ้าหนี้ผู้รับเหมา เจ้าหนี้การค้า 4. สถาบันการเงินที่เปิดดำเนินการ 2 แห่ง (ไทยธนาคาร และ บง.กรุงศรีอยุธยา) และด้วยสาเหตุของการที่โครงการมีศักยภาพสูงพอที่จะสามารถฟื้นฟูต่อได้ จึงทำให้มีผู้สนใจทั้งนักลงทุนชาวไทยและต่างชาติหลายราย ติดต่อเจ้าของเดิมเพื่อที่จะซื้อโครงการ จนกระทั่งปลายเดือนพฤศจิกายน 2544 ก็ได้เกิดนวัตกรรมใหม่ของการร่วมลงทุนใน บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด โดยได้มอบหมายให้ แอล.พี.เอ็น.ฯ เป็นแกนนำในการบริหารงานด้านการตลาด การขาย และการ ก่อสร้าง บริษัทได้ลงทุนเป็นจำนวนเงิน 320.0 ล้านบาท (ทุน 50.0 ล้านบาท เงินกู้ 270.0 ล้านบาท) ในการซื้อโครงการจากเจ้าของเดิม และยังได้รับการสนับสนุนเงินกู้เพื่อก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จอีก 240.0 ล้านบาท จากธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ" การเปิดตัวโครงการ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2545 บริษัทฯได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการขึ้น หลังจากที่ได้เริ่มงานก่อสร้างในเดือนมกราคม 2545 และเจรจากับลูกค้าเก่า ทุกรายในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม 2545 โดยในส่วนของลูกค้าเก่า บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายไว้ดังนี้ 1. กรณีลูกค้าเก่ามีความประสงค์จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด บริษัทฯ ได้เสนอส่วนลดให้ประมาณ 25% โดยขอให้ลูกค้ายกเลิกสัญญาฯ เดิมที่ทำไว้กับ เจ้าของเดิม และทำสัญญาฯใหม่กับบริษัท กำหนดโอนกรรมสิทธิ์ภายในเดือนธันวาคม 2545 2. กรณีลูกค้าเก่าไม่ประสงค์จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด บริษัทฯ ยินดีคืนเงินดาวน์เดิมที่ลูกค้าเหล่านี้ชำระไว้ให้แก่เจ้าของเดิม โดยบริษัทฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาเดิม และกำหนดจะคืนเงินให้แก่ลูกค้าทุกรายหลังจากที่ห้องชุดนั้นถูกโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อรายใหม่ หรือไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม 2546 ผลการเจรจากับบรรดาลูกค้าเก่าทั้งหมด ปรากฏว่ามีลูกค้าเก่าที่ไม่ประสงค์จะรับโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 200 ราย และรับโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 176 ราย ในเดือนพฤษภาคม 2545 บริษัทฯ ได้จัดงาน Grand Opening เปิดขายใหม่ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้านการขายเป็นอย่างดี โครงการได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปลายปี 2545 บริษัทฯได้ดำเนินงานก่อสร้างโครงการในส่วนของ 3 อาคารแรก (ABC) แล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด ลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ 1 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2545 และเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทันที ซึ่งจนถึงเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2545 บริษัทฯ ก็สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจนชำระคืนเงินกู้ 240.0 ล้านบาท แก่ธนาคารฯ ได้หมดสิ้น และในปัจจุบัน ห้องชุด 455 ยูนิต ของ 3 อาคารแรก (ABC) บริษัทฯ ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ลูกค้าหมดแล้ว โดยมีลูกค้าเข้าอยู่อาศัยแล้วมากกว่า 300 ห้องชุด ตั้งแต่ต้นปี 2546 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ 4 (D) ซึ่งมีจำนวน 165 ห้องชุด และขายหมดแล้ว ซึ่งก็จะจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด (ลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ 2) ภายในต้นเดือน กันยายน นี้ และเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ในทันที โดยคาดว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ลูกค้าได้หมดภายในเดือนธันวาคม ศกนี้ สรุป ความสำเร็จของโครงการอาคารชุดพักอาศัย "ลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ" 1. ด้านผลตอบแทนการลงทุน บริษัทฯ ขายและโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้หมด 100% ภายใน 2 ปี (เร็วกว่ากำหนด 1 ปี) มียอดขายรวมกว่า 1,450 ล้านบาท มีผลตอบแทนในการลงทุน 20% 2. แก้ปัญหาลูกค้าเก่า 2.1 ลูกค้าที่ประสงค์จะรับโอนกรรมสิทธิ์ จำนวน 176 ราย ที่รอคอยมานาน 7-8 ปี ได้รับโอนฯ ตามความประสงค์ 2.2 ลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะรับโอนกรรมสิทธิ์ จำนวน 200 ราย บริษัทฯได้คืนเงินดาวน์หมดทุกรายแล้ว เป็นเงินกว่า 120.0 ล้านบาท 3. แก้ปัญหาผู้รับเหมา เจ้าหนี้การค้า ทั้งผู้รับเหมาหลักเดิม (คริสเตียนี) ผู้รับเหมาย่อย เจ้าหนี้การค้า ต่างได้รับการแก้ปัญหาจากเจ้าของเดิมทุกราย นอกจากนี้ ผู้รับเหมาหลายรายก็ยังได้งาน ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 4. แก้ปัญหา NPL,NPA หนี้เจ้าของเดิมซึ่งเป็น NPL อยู่ (บบส.,ไทยธนาคาร,กรุงศรีอยุธยา) ได้รับการแก้ไขอย่างลุล่วง โครงการที่เป็น NPA ของสถาบันการเงินได้รับการแก้ไขอย่างเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งนับเป็นโครงการแรก และเป็น Case Study ที่ถูกนำไปเป็นกรณีศึกษาในงานสัมมนา "ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูอาคารสูงสร้างค้างของประเทศ" เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2546 5. ลดคดีความในศาล คดีความที่เกิดจากการที่ลูกค้าฟ้องร้อง (โดยตรง หรือ ผ่าน สคบ.) ผู้รับเหมาฟ้องร้อง สถาบันการเงินฟ้องร้อง ต่างก็ถอนคดีทั้งหมดแล้ว 6. สร้างงานใหม่ ด้วยมูลค่างานก่อสร้างเพื่อทำให้โครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์ ที่ต้องใช้เงิน ลงทุนอีกกว่า 420.0 ล้านบาท 7. สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เศรษฐกิจต่อเนื่องได้รับอานิสงฆ์ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหา NPL ซึ่ง 80% เป็นหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการจูงใจทางภาษีที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เป็นการกระตุ้นการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจที่เคยหยุดชะงักสามารถขับเคลื่อนต่อได้ การที่ลูกค้าเข้าอยู่อาศัย ทำให้การจับจ่ายใช้สอยในบรรดาสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ทำให้ตัว C (Consumption) ทำงานอย่างเห็นผลต่อการขยายตัวของ GDP 8. อาคารสร้างค้าง เป็นแหล่งเพาะอาชญากรรม ได้รับการแก้ไข "นโยบายในการพัฒนาโครงการ และแผนงานในอนาคต" การพัฒนาที่ดินเปล่าในโครงการลุมพินีเพลส วอเตอร์คลิฟ ซึ่งถือเป็นส่วนขยายที่ไม่อยู่ในแผนงานเดิม มีดังนี้ คือ 1. โครงการ "ลุมพินี ทาวน์โฮม รัชดา-พระราม 3" เมื่อเดือนธันวาคม 2545 บริษัทฯ ได้ซื้อที่ดินเปล่า ขนาดเนื้อที่ 1,248.7 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดิน ที่เจ้าของเดิม (THD) ได้โอนชำระหนี้ให้แก่ บบส. เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโครงการทาวน์เฮ้าส์ ขนาดหน้ากว้าง 5 เมตร สูง 4 ชั้น พร้อมชั้นลอย 5 ห้องนอน 6 ห้องน้ำ บนพื้นที่ใช้สอยกว่า 250 ตรม. จำนวน 28 ยูนิต ราคาขายเฉลี่ยยูนิตละ 10.0 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 280.0 ล้านบาท ได้เริ่มงานก่อสร้างตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคมศกนี้ โดยใช้เงินค่าซื้อที่ดินจากเงินสดอันเป็นผลประกอบการของบริษัทฯ เอง (ถึงแม้จะได้รับเงินกู้สนับสนุนโครงการจากธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 100.0 ล้านบาท บริษัทฯ ยังไม่ได้มีการเบิกใช้แต่อย่างใด) ปัจจุบันมียอดจองซื้อแล้ว 18 ยูนิต 2. โครงการอาคารชุดพักอาศัย ริมถนนรัชดา-พระราม 3 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ซื้อที่ดินแปลงที่ตั้งสำนักงานขายโครงการลุมพินี ทาวน์โฮม รัชดา-พระราม 3 ซึ่งเป็นที่ดินที่เจ้าของเดิม (THD) ได้โอนชำระหนี้ให้แก่ บบส. เช่นกัน ขนาดเนื้อที่ 614.1 ตารางวา เพื่อจะพัฒนาเป็นโครงการอาคารชุดพักอาศัย ลักษณะโครงการเป็นอาคารสูง 9 ชั้น ชั้นล่างจอดรถ ชั้น 2 เป็นส่วนบริการและพักอาศัย ชั้น 3-9 เป็นส่วนพักอาศัย ชั้นดาดฟ้าเป็นสระว่ายน้ำ ห้องชุดขนาดพื้นที่ 51-117 ตรม. รวม 53 ยูนิต รวมพื้นที่ขายประมาณ 4,800 ตรม. ราคาขายเฉลี่ย 50,000.-บาท/ตรม. มูลค่าโครงการ 240.0 ล้านบาท โดยกำหนดจะเปิดขายโครงการในเดือนกันยายนนี้ โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้ในเดือนมิถุนายน 2547 จากผลการดำเนินงานในปี 2545 และที่คาดว่าจะเกิดในปี 2546 และ 2547 จะเห็นว่า 3 โครงการที่ดำเนินการในปัจจุบันและที่อยู่ใน Pipeline แล้ว มียอดขายรวมกันดังนี้ 1. ลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ 1,450.0 ล้านบาท 2. ลุมพินี ทาวน์โฮม รัชดา-พระราม 3 280.0 ล้านบาท 3. โครงการอาคารชุดพักอาศัยแห่งใหม่ ริมถนนรัชดา-พระราม 3 240.0 ล้านบาท รวม 1,970.0 ล้านบาท นโยบายในการพัฒนาโครงการ และแผนงานในอนาคต 1. โครงการอาคารสร้างค้าง (Frozen Buildings) ที่มีศักยภาพ 2. โครงการใหม่ในเขตใจกลางเมือง "โครงสร้างผู้ถือหุ้น" บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด เนื่องจากผู้ถือหุ้นกลุ่มแสนสิริ ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ 3.125% ทั้งหมด ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มที่เหลือ 3 กลุ่ม เมื่อวันที่ 31มีนาคม 2546 จึงทำให้โครงสร้างผู้ถือหุ้น ณ ปัจจุบัน เป็นดังนี้ (ทุนจดทะเบียน 50.0 ล้านบาท) จำนวนหุ้น % 1. บมจ. ยูนิเวนเจอร์ 1,935,484 38.71 2. บจก. เยาววงศ์ 1,612,903 32.26 3. บมจ. แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ 1,290,323 25.80 4. บจก. ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเมนท์ 161,290 3.23 5,000,000 100.00 ปัจจุบัน บริษัทฯ กำลังพิจารณาปรับสัดส่วนการถือหุ้นให้ทั้ง 3 กลุ่ม ถือหุ้นในอัตราที่เท่ากัน บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งนอกจากจะมีธุรกิจหลัก (Core Business) คือผลิตและจำหน่าย Zinc Oxide แล้ว ยังมีการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา การร่วมทุนในบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงได้สร้างผลตอบแทนในการลงทุน และความพึงพอใจแก่ผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือที่ดี การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส จากเจ้าของเดิม และการดำเนินงานของกลุ่ม แอล.พี.เอ็น.ฯ ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะแกนนำในการบริหารโครงการ ทีมงาน การวางแผนงาน ตลอดจนการตัดสินใจเร่งรัดการทำงานใน 1 ปีเศษที่ผ่านมา จนทำให้บริษัทฯ ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี--จบ-- -รก-

ข่าวนอกตลาดหลักทรัพย์+โครงการลุมพินีวันนี้

นโยบายการดำเนินธุรกิจของ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด

กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ ความสำเร็จในการฟื้นฟูโครงการ "ลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ" และนโยบายการดำเนินธุรกิจของ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด "Success Story" ความเดิม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ได้จัดงานแถลงข่าวการร่วมทุนพัฒนาโครงการลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง 3 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คือ แอล.พี.เอ็น, แสนสิริ และ ยูนิเวนเจอร์ กับบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์อีก 1 แห่ง คือ เยาววงศ์ โดยเป็นการ ลงทุน

รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภ... ดีมานด์ทองคำผู้บริโภคในไทยลดลง 10% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 เมื่อเทียบเป็นรายปี — รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) ...

รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภ... ดีมานด์ทองคำประเทศไทยพุ่ง 9% ในไตรมาส 4 ของปี 2565 — รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เผยความต้องการทองคำทั่วโลกป...

รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภ... ดีมานด์ทองคำในไทยพุ่ง 40% เมื่อเทียบเป็นรายปี รับผลบวกจากการท่องเที่ยวฟื้นตัว — รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เผ...

ก.ล.ต. เตรียมปรับเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ใช่สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์ผ่านระบบ ETP ...

สยาม เลิศลุมพลีพันธุ์ ผู้บริหารคนเก่ง บริ... Gossip News: “LP GROUP” อสังหาฯ เจ้าถิ่นย่านศาลายา เตรียมเปิด “THE BALANZ” โครงการใหม่ — สยาม เลิศลุมพลีพันธุ์ ผู้บริหารคนเก่ง บริษัท แลนด์ แอนด์ พร็อพเพอ...