กรุงเทพฯ--2 เม.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)
เวิร์ม Klez ยังคงติดบัญชีดำไวรัสร้ายทางอินเตอร์เน็ต และเวิร์ม WTC Survivor ติดอันดับหนึ่งไวรัสหลอกแทน JDBGMGR โซโฟส ( Sophos ) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำ10 อันดับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต ประจำเดือนมีนาคม 2546 ไว้ดังนี้
1. W32/Klez-H (Klez variant) 15.3% ติด 10 อันดับแรกนานถึง 14 เดือน
2. W32/Sobig-A (Sobig worm) 5.2%
3. W32/Gibe-D (Gibe variant) 4.4% เข้ามาใหม่
4. W32/Avril-B (Avril variant) 3.2%
5. W32/Yaha-E (Yaha variant) 3.0%
6. W32/Avril-A (Avril worm) 2.6%
7. W32/Yaha-K (Yaha variant) 2.4%
8. W32/Bugbear-A (Bugbear worm) 2.2%
9=. JS/NoClose (NoClose Trojan) 2.0% เข้ามาใหม่
9=. W32/Lovgate-B (Lovgate variant) 2.0%
อื่นๆ 57.7%
“เวิร์ม Klez ยังคงครองอันดับหนึ่งไวรัสร้ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดเวิร์มตัวนี้ ส่วนใหญ่ยังไม่มีการอัพเดทโปรแกรมป้องกันไวรัสมานานกว่า 1 ปี ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะไม่มีข้อแก้ตัวใดๆทั้งสิ้นกับการอัพเดทโปรแกรมป้องกันไวรัส เพราะว่าการอัพเดทโปรแกรมนี้สามารถตั้งค่าให้ปฏิบัติการแบบอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าการป้องกันเวิร์ม Klez เป็นขั้นตอนที่แสนง่ายดายแต่การกำจัดและกู้ระบบให้กลับคืนมาเหมือนเดิมค่อนข้างซับซ้อนและยาก” มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ ผู้อำนวยการบริหารของบริษัทโซโฟส แอนตี้-ไวรัส กล่าว “ปัจจุบันการแลกเปลี่ยนไฟล์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้จาก เวิร์มที่เข้ามาใหม่ในอันดับสูงสุดประจำเดือนนี้คือ เวิร์ม Gibe ซึ่งแพร่กระจายผ่านเครือข่าย KaZaA ดังนั้นในธุรกิจทั้งหลายจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงการป้องกันระบบขององค์กรให้ปราศจากโปรแกรมดังกล่าว”
โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้ค้นพบไวรัส เวิร์ม และโทรจัน ฮอร์สใหม่ๆ ถึง 883 ตัวในเดือนมีนาคม รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 80,962 ตัว ที่ซอฟต์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องได้
โซโฟสได้จัดอันดับ10 อันดับไวรัสหลอกประจำเดือนมีนาคม 2546 ไว้ดังต่อไปนี้
1. WTC Survivor 22.4% เข้ามาใหม่เป็นอันดับ 1
2. JDBGMGR 15.5%
3. 030303 7.5% เข้ามาใหม่
4. Hotmail hoax 5.9%
5. Meninas da Playboy 5.3%
6. Bonsai kitten 4.9%
7=.Budweiser frogs screensaver 4.8%
7=.A virtual card for you 4.8%
9. Bill Gates fortune 2.9%
10. BUDDYLYST.ZIP 2.6%
อื่นๆ 23.4%
“ไวรัสหลอก WTC Survivor เป็นไวรัสที่เตือนภัยหลอกเกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 11 เดือนกันยายน ซึ่งขึ้นอันดับ 1 เป็นครั้งแรกในปีนี้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ได้รับอีเมลตัวนี้ ควรจะลบมันทิ้งไปจากคอมพิวเตอร์ โดยอย่าส่งต่อไปเตือนเพื่อนๆ หรือคนรู้จักอื่นๆ เพราะว่าไวรัสหลอกก็สามารถสร้างความยุ่งยากไม่แพ้ไวรัสจริง โดยมันก่อให้เกิดปัญหาติดขัดใน เซิร์ฟเวอร์ของอีเมล และยังสร้างความสับสนวุ่นวายโดยไม่จำเป็นอีกด้วย” มร.คัสซิ่นส์ กล่าว
โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซด์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ทันต่อเหตุการณ์อย่างสม่ำเสมอ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ http://www.sophos.com/virusinfo/infofeed/
ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่
www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten
ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่
www.sophos.com/safecomputing
ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos:
โซโฟส เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัสระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ สินค้าของโซโฟส ได้ถูกจำหน่ายไปยังที่ต่าง ๆ มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้โซโฟส แอนตี้-ไวรัสยังเป็นโปรแกรมที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรใหญ่ ๆ อาทิ ธนาคาร รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลอีกด้วย
ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com
สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ หรือ คุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / คุณธัชพล โภคาชัยพัฒน์
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore
โทร.0-2260-5820 ต่อ 119 โทรสาร.0-2260-5847 ถึง 8
Tel: +65 429 0060 Email: [email protected]
Email: [email protected]
Web Site: www.sophos.com-- จบ--
-พห-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit