สำนักการระบายน้ำ กทม. แถลงนโยบายการดำเนินงาน ปี 2546

กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--กทม. เมื่อวานนี้ (24 ก.พ.46) เวลา 11.00 น. ที่ห้องรับรองกรุงเทพมหานคร นายสนั่น โตทอง รองปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายนารา เทวคุปต์ นายธีรเดช ตังประพฤทธิ์กุล และนายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ ร่วม แถลงข่าว เรื่องนโยบายการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมปี 2546 และความคืบหน้าแผนงานการก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสียของกทม. รวมถึงร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. … ของสำนักการระบายน้ำ เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปี 2546 รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครโดยสำนักการระบายน้ำ มีแผนและนโยบายในการดำเนินงานปี 2546 เกี่ยวกับการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คือ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ ตรวจสภาพและดำเนินการบำรุงท่อระบายน้ำ อาคารสูบน้ำ แนวกำแพงกั้นน้ำ คูคลองที่ใช้เป็นทางการระบายน้ำที่สำคัญ ซึ่งทางสำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขตจะร่วมกันดำเนินการล้างท่อระบายน้ำ ความยาวประมาณ 3,650 กม. โดยดำเนินงานในช่วงเดือนธันวาคม 2545 - พฤษภาคม 2546 ความยาวประมาณ 2,750 กม. และช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2546 ความยาวประมาณ 900 กม. ทั้งนี้โดยใช้แรงงานของกทม.และการจ้างกรมราชทัณฑ์มาดำเนินการ นอกจากนี้ทางสำนักการระบายน้ำจะดำเนินการลอกคูคลอง เปิดทางน้ำไหลประมาณ 152 คลอง ความยาวรวมประมาณ 491 กม. โดยจะดำเนินการในคลองหลักที่สำคัญให้แล้วเสร็จก่อนเข้าสู่หน้าฝน ทั้งนี้โดยใช้แรงงานของหน่วยงาน สำหรับสถานีสูบน้ำสำคัญประมาณ 106 แห่ง ที่สำนักการระบายน้ำดูแลนั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ฝั่งพระนคร 67 สถานี อยู่ฝั่งธนบุรี 39 สถานี กำลังสูบระบายน้ำรวมประมาณ 1.201 ลบ.ม./วินาที จะมีการตรวจแก้ไขเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ในหน้าฝนที่จะมาถึง นอกจากนี้ยังมีบ่อสูบน้ำขนาดเล็กและเครื่องสูบน้ำชนิดนำไปแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจอีกจำนวนมากกว่า 850 เครื่อง ในส่วนของประตูระบายน้ำ 162 แห่งนั้น แห่งใดที่ชำรุดหรือไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะดำเนินการซ่อมแซมให้คงสภาพการใช้งานได้ทันที พร้อมกันนี้ได้มีการจัดเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่จำนวน 875 เครื่อง แบ่งเป็นเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า 585 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำชนิดเครื่องยนต์ดีเซล 290 เครื่อง เพื่อเป็นการสนับสนุนการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และมีการติดตั้งเพิ่มเครื่องสูบน้ำ ที่บ่อสูบน้ำ และสถานีสูบน้ำ จำนวน 18 จุด ด้านการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาคลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อป้องกันน้ำท่วมจากน้ำเหนือและน้ำทะเลหนุนความยาวทั้งสิ้น 86 กม. สร้างแล้วเสร็จ 59 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 27 กม. ส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จมีการทำแนวป้องกันชั่วคราวด้วยการเรียงกระสอบทราย เช่น ที่สถานีดับเพลิงสามเสนใกล้ถนนขาว (เขตดุสิต) ถนนพระราม 3 (เขตยานนาวา และเขตบางคอแหลม) ถนนสุขสวัสดิ์ (เขตราษฎร์บูรณะ) จัดทำระบบทำนายน้ำท่วมล่วงหน้า คาดแล้วเสร็จในปี 48 นอกจากนี้ทางสำนักการระบายน้ำยังมีแผนที่จะจัดทำระบบทำนายน้ำท่วม คือ ทำนายฝนล่วงหน้าทุกชั่วโมงไม่น้อยกว่า 6 ช.ม. ในพื้นที่กทม.ทั้งหมด ทำนายบริเวณที่อาจเกิดน้ำท่วมล่วงหน้าประมาณ 3 ช.ม. ในพื้นที่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และได้จัดทำแบบจำลองด้านการบริหารน้ำท่วมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการผันน้ำที่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติประกวดราคา คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2548 เดินหน้าโครงการบำบัดน้ำเสียอีก 2 แห่ง นายชาญชัย กล่าวว่า การดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในคูคลองพื้นที่กรุงเทพฯ ในปี 2546 สำนักการระบายน้ำกำลังดำเนินการก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสีย ขนาดใหญ่ 2 โครงการ คือ โครงการบำบัดน้ำเสีย รวม ระยะที่ 1 (โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง) บริเวณข้างศาลาว่าการกทม. 2 เขตดินแดง และโครงการบำบัดน้ำเสียรวม ระยะที่ 4 ที่ซอย อินทามระ 35 เขตจตุจักร สำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่ 1 ที่ดินแดงนั้น สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 350,000 ลบ.ม./วัน พื้นที่บริการ 37 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่เขตป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน ราชเทวี และพื้นที่บางส่วนของเขตพระนคร พญาไท และดินแดง ความก้าวหน้าของโครงการในปัจจุบัน 95.18 % คาดว่าจะสามารถเดินระบบได้ประมาณปลายปี 2546 และจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนมีนาคม 2547 ส่วนโครงการบำบัดน้ำเสียรวม ระยะที่ 4 ที่จตุจักร นั้น สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 150,000 ลบม./วัน ครอบคลุมพื้นที่เขตจตุจักร และบางส่วนของเขตดินแดง พญาไท และห้วยขวาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความก้าวหน้า 17 % คาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถเดินระบบได้ในปี 2548 ทั้งนี้ ในปัจจุบัน โรงบำบัดน้ำเสียของกทม.ที่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และดำเนินการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ต่าง ๆ อยู่ขณะนี้มี 4 แห่ง ได้แก่ โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 30,000 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ 2.7 ตร.กม. , โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี (ยานนาวา) มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 200,000 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ 28.5 ตร.กม., โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 40,000 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ 4.142 ตร.กม. โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุ (ราษฎร์บูรณะ) มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 65,000 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ 42 ตร.กม. และโรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 157,000 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ 44 ตร.กม. เตรียมสร้างโรงบำบัดน้ำเสียอีก 3 โครงการ ครอบคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ กทม.มีแผนที่จะก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสียเพิ่มอีก 3 โครงการ คือ โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 520,000 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ 51 ตร.กม. โครงการกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเหมาะสม โดยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลฝรั่งเศส, โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 480,000 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ 71 ตร.กม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ ในวงเงินงบประมาณ 8,300 ล้านบาท ซึ่งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากครม. ก็จะดำเนินการประกวดราคาก่อสร้างต่อไป , โครงการบำบัดน้ำเสียหนองบอน มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 125,000 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ 55 ตร.กม. เป็นโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 5 และ 6 ซึ่งจะได้เริ่มดำเนินการต่อไป รวมทั้ง 3 โครงการ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 1,125,000 ลบ.ม./วัน อนึ่ง เมื่อกทม. ทำการก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสียแล้วเสร็จทุกโครงการตามแผนแล้ว จะมีกำลังในการบำบัดน้ำเสียกว่า 2 ล้านลบ.ม./วัน ซึ่งเท่ากับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน เตรียมร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย นายนารา กล่าวว่า ทางสำนักการระบายน้ำได้ดำเนินการยกร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียพ.ศ… เสนอให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา ซึ่งทางสภาฯกทม.ได้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญขึ้นพิจารณารายละเอียดก่อนจะรับหลักการ ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างข้อบัญญัติ คือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียในเขตพื้นที่บริการต้องชำระค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ประกาศเขตพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสีย และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียไม่เกินอัตราที่กำหนดแนบท้ายข้อบัญญัติ (อาจยกเว้นหรือลดหย่อน ค่าธรรมเนียมได้) ซึ่งทางสำนักฯ มีความจำเป็นต้องจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย เพราะการดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายในการเดินระบบและบำรุงรักษามากกว่า 700 ล้านบาท/ต่อปี ทั้งนี้โดยหลักสากลจะถือแนวคิดที่ว่า "ผู้ใดก่อให้เกิดมลภาวะ ผู้นั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำบัดมลภาวะนั้น" และในประเทศต่าง ๆ รวมถึงเทศบาลบางแห่งในไทย ก็ได้มีการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียแล้ว--จบ-- -นห-

ข่าวธีรเดช ตังประพฤทธิ์กุล+ชาญชัย วิทูรปัญญากิจวันนี้

กทม. เดินเครื่องระบบบำบัดน้ำเสียระยะที่ 4 จตุจักร เดือน มี.ค. 48 นี้

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสุกิจ ก้องธรนินทร์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบบำบัดน้ำเสีย ระยะที่ 4 โดยมีนายธีรเดช ตังประพฤทธิ์กุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ นายพรพจน์ กรรณสูต ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ และผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 48 ที่โรงบำบัดน้ำ

กทม. เชิญชมรายการ “เมืองหลวงของเรา” ศุกร์นี้ ทาง สทท. 11

กองประชาสัมพันธ์ กทม. ขอเชิญชมรายการเมืองหลวงของเราทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 วันศุกร์ที่ 10 ก.ย. 2547 เวลา 11.05 – 12.00 น.โดย นายธีรเดช ตังประพฤทธิ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักระบายน้ำ จะสนทนาในประเด็นการจัดการน้ำใน กทม. เช่น สา...

รองผู้ว่าฯ สหัส ตรวจงานก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย

กรุงเทพฯ--17 ก.พ.--กทม. นายสหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครห่วงใยประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และริมคลองบางกอกน้อยซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนในช่วงฤดูฝน...

สำนักการระบายน้ำ กทม. แถลงนโยบายการดำเนินงาน ปี 2546

กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--กทม. เมื่อวานนี้ (24 ก.พ.46) เวลา 11.00 น. ที่ห้องรับรองกรุงเทพมหานคร นายสนั่น โตทอง รองปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายนารา เทวคุปต์ นายธีรเดช ตังประพฤทธิ์กุล และนายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ ร่วม ...

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชั... ภาพข่าว: RP มอบเงินสมทบทุนโครงการ "สานพลัง...พลิกฟื้นชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง" — ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี (กลาง) ให้เกียรติ เป็นประธา...

คณะกรรมการบริษัทท่าเรือราชาเฟอร์รี่จำกัด ... บมจ.ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ (RP) ตั้งศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ เป็นประธานบอร์ดคนใหม่ — คณะกรรมการบริษัทท่าเรือราชาเฟอร์รี่จำกัด ได้จัดการประชุมกรรมการ เป็นครั้...

บริษัท ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน)(... ภาพข่าว: RP จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2559 — บริษัท ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน)(RP) จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2559 โดยมี § นายธีรเดช ตังป...

ภาพข่าว: RP เทรดวันแรกเหนือจอง

นายธีรเดช ตังประพฤทธิ์กุล (คนที่2จากขวา) นายอภิชาติ ชโยภาส (ขวา) บมจ.ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ (RP) นางเกศรา มัญชุศรี(กลาง) นายประพันธ์ เจริญประวัติ (กลางซ้าย) ร่วมด้วยดร.พิชิต อัคราทิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เอเชีย เวลท์ ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่าย ...

ภาพข่าว: “RP เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ วันแรก”

เกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ แสดงความยินดีกับ ธีรเดช ตังประพฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ และอภิชาติ ชโยภาส กรรมการผู้จัดการ บมจ. ท่าเรือราชาเฟอร์รี่...

ภาพข่าว: “RP” เคาะราคา IPO 12 บาท เปิดจอง 4-6 พ.ย.นี้

นายธีรเดช ตังประพฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ (กลางซ้าย) นายอภิชาติ ชโยภาส กรรมการผู้จัดการ และกรรมการบริหาร (กลาง) บมจ.ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ (RP) ร่วมด้วย นางสาวปิ่นมณี เมฆมัณฑนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริปเปิ้ล เอ พลัส แอดไวเซอรี่ จำกัด ...