ศธ.เดินหน้าแก้ปัญหา "แป๊ะเจี๊ยะ" เปิดศูนย์ "ฮอตไลน์สายพ่อแม่" รับฟังปัญหาผู้ปกครอง

กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--สกว. ทีมวิจัยเงิน "แป๊ะเจี๊ยะ" เปิดศูนย์ฮอตไลน์สายพ่อแม่ 0-2615-2660-1 รับฟังปัญหาเรื่องเงินแป๊ะเจี๊ยะหรือเงินนอกระบบจากพ่อ แม่ ผู้ปครอง ครู และผู้บริหารสถานศึกษา วอนผู้เกี่ยวช่วยให้ข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป พร้อมเปิดเวทีเสวนาบ่ายวันที่ 21 พ.ค. นี้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำวิจัยเรื่อง "ศึกษาภาวะค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง" ของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบันรัฐบาลมีเงินอุดหนุนรายหัวเพื่อให้สิทธิและโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทยเท่าเทียมกันยิ่งขึ้น แต่ต้องยอมรับว่ายุคนี้การศึกษาดีๆนั้นราคาไม่ถูก เนื่องจากต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆประกอบด้วยเช่น เรื่องภาษา หรืออินเตอร์เน็ตเป็นต้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของแต่โรงเรียนสูงตามไปด้วย ประกอบกับปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ รัฐอาจจัดสรรค่าใช้จ่ายรายได้ไม่เพียงพอจึงก่อให้เกิดปัญหาการรับเงินนอกระบบของโรงเรียนหรือเงิน"แป๊ะเจี๊ยะ" ขึ้น ด้วยปัญหาดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตั้งโจทย์วิจัยเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่ามีการรับเงินนอกระบบกันในลักษณะไหนอย่างไร ในโรงเรียนลักษณะใด และจะมีทางออกสำหรับปัญหานี้อย่างไร ทั้งนี้เพราะปัจจุบันโรงเรียนทุกเรียนจะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวอยู่แล้ว หากผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาคงจะต้องลดน้อยลง แต่ปัจจุบันผู้ปกครองกลับต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจุดนี้แย้งกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ส่วนกรณีเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะนั้น ผศ.ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวคิดว่าโรงเรียนแต่ละแห่งต้องมีเสถียรภาพทางการเงินพอสมควร ลำพังค่าบำรุงการศึกษาอย่างเดียวคงไม่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับแต่ละโรงเรียนได้ โดยหลายโรงเรียนหาทางออกด้วยการหาเงินนอกระบบ เงินบริจาคจากผู้มีอุปการะคุณ ฯลฯ ซึ่งบางโรงขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบจึงก่อให้เกิดปัญหาความไม่โปร่งใสตามมาอย่างที่เป็นข่าวในขณะนี้ ฉะนั้นจึงต้องมีการเก็บข้อมูลในส่วนนี้ด้วย "จริงๆแล้วโรงเรียนแต่ละแห่งก็น่าจะมีโควค้าผู้มีอุปการะคุณได้แต่ทำให้ชัดเจนโปร่งใส และประเด็นสำคัญคือน่าจะมีโควต้าสำหรับเด็กที่เรียนดีแต่ไม่สตางค์ สิ่งที่อยากเห็นในขณะนี้คือโรงเรียนใหญ่ๆหลายโรงที่มีขีดความสามารถในการระดมทุนทั้งของรัฐและเอกชนน่าจะมีการแบ่งสัดส่วนโควต้าตรงนี้ให้ชัดเจน โดยแบงเป็นโควต้าสำหรับผู้มีอุปการะคุณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ และอีก 15-20 เปอร์เซนต์สำหรับคนที่ไม่มีสตางค์แต่มีสมอง" ดร.อมรวิชช์ กล่าวต่อว่า งานวิจัยที่จะทำขณะนี้คือศึกษาในเรื่องค่าใช้จ่ายรายหัวที่รัฐอุดหนุนให้ว่าเพียงพอหรือไม่อย่างไร จะมีทางเพิ่มหรือปรับตรงไหนอย่างไรและจะมีช่องทางระดมทุนทางอื่นไหม ซึ่งขณะนี้มีตัวอย่างแล้วว่า มี อบจ. อบต.และบริษัทห้างร้านบางแห่งที่เข้ามาอุปถัมภ์โรงเรียน หากโรงเรียนแต่ละแห่งสามารถดึงหน่วยงานต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการศึกษาได้ก็จะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายปฏิรูปการศึกษาที่กล่าวว่า "การศึกษาไม่ใช่เรื่องของรัฐ ผู้เรียน และโรงเรียนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการระดมทุนทั้งสังคม" ซึ่งโจทย์นี้เป็นอีกเรื่องที่ทีมวิจัยพยายามหาคำตอบอยู่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทีมวิจัยต้องการมากที่สุดในขณะนี้คือเสียงจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารสถานศึกษาให้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลด้วย ซึ่งขณะนี้ทีมวิจัยกำลังทำแบบสอบถามไปยังโรงเรียนทั่วประเทศที่สุ่มตัวอย่างขึ้นมาประมาณ 2,000 แห่งในโรงเรียนทุกระดับทุกขนาด นอกจากนี้ยังมี ศูนย์ฮอตไลน์สายพ่อแม่ เพื่อรับฟังปัญหาที่พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู หรือผู้บริหารโรงเรียนประสบอยู่ โดยสามารถโทร.เข้ามาได้ที่หมายเลข 0-2615-2660-1 หรือที่ ตู้ ปณ 2 ปณฝ.สนามเป้า กรุงเทพฯ 10406 หรือที่ [email protected] โดยข้อมูลที่ได้จะนำมารวบรวมและนำเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการเพื่อหาทางแก้ปัญหานี้ต่อไปนอกจากนี้ในวันพุธที่ 21 พฤษภาคมนี้ ทางทีมวิจัยได้จัดมีการเสวนาเรื่อง "พ่อแม่กับแป๊ะเจี๊ยะ" ขึ้นที่ห้องประชุมนานาชาติ 1 ตึก 3 ชั้น 4 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 13.00 - 16.30 น. โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองมาร่วมการเสวนาประมาณ 50 คน เพื่อร่วมกับแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาต่อไป "เครือข่ายพ่อแม่" ขอเชิญผู้ปกครองและสื่อมวลชน เข้ารับฟังการเปิดเผยข้อมูลจากผู้ปกครองที่มีต่อการเก็บค่าแป๊ะเจี๊ยะ ซึ่งได้จากการ "ศูนย์ Hotline สายพ่อแม่" และเปิดประเด็นทาง จส.100 รวมถึงการเสวนาในหัวข้อ"พ่อแม่กับแป๊ะเจี๊ยะ" โดยนักวิชาการ สถานศึกษา และตัวแทนผู้ปกครอง ในวันพรุ่งนี้ (วันพุธที่ 21 พ.ค.) นี้ ณ ห้องประชุมนานาชาติ 1 ตึก 3 ชั้น 4 คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ระหว่างเวลา 13.00-16.00 น.--จบ-- -พห-

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+กระทรวงศึกษาธิการวันนี้

อธิการบดีจุฬาฯ พบรัฐมนตรีศึกษาฯ กัมพูชา ศิษย์เก่าครุศาสตร์ กระชับความสัมพันธ์และบูรณาการความรู้เพื่อเยาวชนในภูมิภาค

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตอกย้ำบทบาทผู้นำด้านการศึกษาระดับภูมิภาคด้วยการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับกัมพูชา ในวันที่ 17 มกราคม 2568 คณะผู้บริหารจุฬาฯ นำโดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ ดร.ฮัง ชวน นารอนรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเป็นศิษย์เก่าหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ การประชุมครั้งนี้มุ่ง

เปิดชมฟรี 5 วันเต็ม "รมว.ปุ๋ง" ชวนเที่ยวช... เปิดชมฟรี 5 วันเต็ม งานฉลอง 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 23 - 27 เม.ย.นี้ — เปิดชมฟรี 5 วันเต็ม "รมว.ปุ๋ง" ชวนเที่ยวชมสัมผัสเสน่ห์พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน รื่นเริงก...

ทีทีบี จับมือ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรพิเศษ Wea... ทีทีบี จับมือ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรพิเศษ Wealth Empowerment Program สำหรับกลุ่มลูกค้า Wealth — ทีทีบี จับมือ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรพิเศษ Wealth Empowerment Progr...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาค... จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชา...

บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำก... SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน" — บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...