อังกฤษ-ไทยร่วมมือทำวิจัยระยะยาวในเด็กไทย เน้นศึกษาภาวะโภชนาการที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง

กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--สกว. นักวิจัยอังกฤษ ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเจ้าของผลงานโภชนาการของทารกตั้’แต่อยู่ในครรภ์ สัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ร่วมทำงานกับนักวิจัยไทยในโครงการ “วิจัยระยะยาวในเด็กไทย” ตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 24 ปี หวังได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชนและครอบครัวไทยอย่างเป็นระบบ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ดำเนินงานโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีและจะมีการมอบรางวัลเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้จะมีการประกาศผลผู้ได้รับรางวัลประมาณต้นเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นการดำเนินงานปีที่ 11 สำหรับการพิจารณารางวัลจะแบ่งออกเป็น 2 รางวัลคือ รางวัลสาขาการแพทย์มอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงานหรือมีผลงานวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์ และรางวัลสาขาสาธารณสุขมอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงานดีเด่นทางด้านสาธารณสุขที่เป็นประโยชน์แก่สุขอนามัยของมนุษยชาติ สำหรับในปีนี้เป็นที่น่ายินดีที่มีผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าเมื่อปี 2543 คือ ศ.เดวิด บาร์เกอร์ ที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของมารดาขณะตั้งครรภ์กับความสัมพันธ์ของการเกิดโรคเรื้อรังในประชากรวัยผู้ใหญ่หลายประเทศเช่น ชิลี เนเธอร์แลนด์ อินเดีย จีน และในอีกหลายๆรัฐในสหราชอาณาจักร ได้มาร่วมทำงานวิจัยกับพญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ศ.นพ.วิจารณ์กล่าวต่อว่า ศ.เดวิด บาร์เกอร์ ได้ทำการศึกษาภาวะโภชนาการของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์และในช่วงเริ่มต้นชีวิตสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ความดันโลหิตสูง และเบาหวานเป็นต้น สำหรับแนวทางที่ ศ.เดวิดใช้ทำการศึกษาคือจะใช้น้ำหนักทารกแรกเกิดและความยาวของลำตัวทารก(วัดจากศรีษะถึงปลายเท้า) เป็นตัวบ่งชี้ธรรมชาติ พบว่าทารกแรกเกิดที่มีน้ำน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(เฉลี่ย 2500 กรัม) และมีความยาวลำตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(เฉลี่ย 50 เซนติเมตร) จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันสูงกว่าทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักและความยาวของลำตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ผลการศึกษาประชากรในประเทศฟินแลนด์ พบว่าทารกเพศหญิงที่มีความยาวลำตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 1 เซนติเมตรจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มขึ้น 10.2 % ขณะที่ทารกเพศชายอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคจะสัมพันธ์กับน้ำหนักแรกเกิดและความยาวลำตัวเมื่อแรกเกิด กล่าวคืออัตราเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น 14% เมื่อน้ำหนักแรกเกิดและความยาวลำตัวลดลงหนึ่งหน่วย และยังพบความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงคือทุกๆ 1 กก.ของน้ำหนักแรกเกิดที่ลดลงจะส่งผลให้แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น 2.7 มิลลิเมตรปรอท และเมื่อศึกษาติดตามการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์จนกระทั่งอายุ 6 ปี พบว่าเด็กเหล่านี้เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเด็กปกติทั่วไป ส่วนมารดาขณะตั้งครรภ์หากกินอาหารน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารกโดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ทารกจะปรับตัวให้เจริญเติบโตช้าลง ส่งผลให้อวัยวะที่สำคัญคือ หัวใจ ระบบสมอง ปอด กระดูก ตับ และไต มีการทำงานผิดปรกติ ส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่อีกหลายโรคเช่น โรคอ้วน คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง กระดูกพรุนและภาวะมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดเป็นต้น นอกจากนี้ ศ.เดวิดยังพบว่าอีกว่าโรคเรื้อรังที่กล่าวถึงนี้มีอุบัติการการเกิดโรคและมีความรุนแรงในประชากรกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ผู้ด้อยโอกาสหรือผู้มีรายได้ต่ำ เมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มที่มีการศึกษาหรือกลุ่มที่มีรายได้สูง โรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นในประชากรกลุ่ม ผู้ใช้แรงงาน ผู้ด้อยโอกาสหรือผู้มีรายได้ต่ำ เหล่านี้มักเกิดจากความไม่รู้และสภาวะบีบบังคับทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคได้ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังเหล่านี้ควรเริ่มต้นโดยการให้ความรู้ทางโภชนากร สุขอนามัย การปฏิบัติต่างๆตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งคลอด เพื่อลดอุบัติการการเกิดโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งจากความรู้ที่ ศ.เดวิดค้นพบนี้เป็นที่น่ายินดีว่าจะมีการนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาประมวลเข้ากับงานวิจัยระยะยาวในเด็กไทยเพื่อให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้เนื้อหาชัดเจนมากขึ้น โดยเมื่อเร็วๆนี้ ศ.ดร.เดวิด บาร์เกอร์ได้ร่วมทำวิจัยภาคสนามที่ภาคใต้ และที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เพื่อร่วมเก็บข้อมูลและร่วมวางแผนงานวิจัยร่วมกับทีมงานด้วย สำหรับโครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทยนี้ถือเป็นงานวิจัยครั้งแรกของประเทศที่มีการทำวิจัยติดตามเด็กไทยอย่างต่อเนื่องในระยะยาวตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาแรกคลอดและติดตามเป็นระยะๆจนอายุ 24 ปี โดยจะศึกษาพัฒนาการและการเติบโตของเด็ก ความสัมพันธ์ต่างๆซึ่งเกี่ยวโยงกับปัจจัยแวดล้อมภายนอกทั้งครอบครัว สิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมวัฒนธรรมของไทย โดยโครงการวิจัยดังกล่าวได้แบ่งการศึกษาเป็น 5 พื้นที่ในประเทศไทยได้แก่ ภาคกลาง (อ.พนมทวน) ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ (อ.เทพา) และกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลเป็นระยะต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ จนกระทั่งเด็กคลอด และติดตามต่อเนื่องเป็นระยะตามอายุคือ 1 ปี 3 ปี 5 ปี 7 ปี 9 ปี 11 ปี 13 ปี 15 ปี 18 ปี 21 ปีและ 24 ปี โดยขณะนี้ เด็กในโครงการวิจัยชุดแรกที่เก็บข้อมูลตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์นั้น มีอายุ 1 ปี โดยโครงการวิจัยระยะยาวนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชนและครอบครัวทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้องค์ความรู้ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความเป็นจริงของสภาพสังคมไทยอันจะเกิดประโยชน์มหาศาลต่อไปในอนาคต--จบ-- -ศน-

ข่าวมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล+รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลวันนี้

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และกระทรวงการต่างประเทศ

แถลงข่าว ผลการตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2567 วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2567) เวลา 13.30 น. ศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ และศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ กลุ่มเลี้ยงไหมอีรี่ ต.แซร์ออ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ณ ศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มไหมอีรี่ และกองทุนกลุ่มไหมอีรี่ บ้านแผ่นดินเย็น หมู่ 9ตำบลแซร์ออ...

รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ป และ ศูนย์ประชุมพีช ได้รับเกียรติให้เป็นสถานที่ ในการจัดประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2557

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จัดขึ้นโดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ...

สมเด็จพระเทพฯ ทรงย้ำทุกภาคส่วนรวมพลังต้านโรคติดเชื้อในการประชุมวิชาการรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล

การประชุมนานาชาติรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) นับเป็นการประชุมระดับนานาชาติด้านสุขภาพที่ทั่วโลกยอมรับ เนื่องจากมีนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานระดับนานาชาติเข้าร่วมประชุม และเสนอประเด็นน...

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เชิญร่วมพิธีเปิดการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2012“ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: เร่งพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ”

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์กรสุขภาพระดับโลก อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) ธนาคารโลก (World...

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเปิดการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเปิดการประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เวทีแลกเปลี่ยนความคิดด้านสุขภาพ ร่วมกับผู้เข้าประชุมกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ในหัวข้อ...

การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2012 “ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: เร่งพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ”

การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2012“ก้าวสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: เร่งพัฒนาระบบการเงินสุขภาพ” (Moving towards Universal Health Coverage: Health Financing Matters)...

ปฏิทินข่าวหน่วยงานราชการประจำวันนี้(14 ธันวาคม 2554)

วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2554 11.00 น. กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดงานแถลงข่าว ประจำสัปดาห์ ณ กระทรวงการต่างประเทศ 13.30 น. มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จัดงานแถลงข่าวการ ประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับพระราชทานรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล...

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จัดงานแถลงข่าวการประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2554

วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2554 เวลา13.30 น. 1) เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จ...