ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายแก่กรมการปกครอง วันที่ 24 ตุลาคม 2545 [1]

28 Oct 2002

กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--กองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดเผยว่า นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ นายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ได้มาตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายในการบริหารราชการตามแนวทางปฏิรูประบบราชการ ให้แก่ข้าราชการกรมการปกครองเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2545 เวลา 10.00 น.

สำหรับภารกิจของกรมการปกครองภายหลังการปฏิรูประบบราชการ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วน ราชการกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2545 มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายในประเทศ การอำนวยความเป็นธรรม การปกครองท้องที่ การอาสารักษาดินแดน และการทะเบียน เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัย ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และให้เกิด ความสงบสุขในสังคมอย่างยั่งยืน ในการนี้ อธิบดีกรมการปกครอง และคณะผู้บริหารกรมการปกครอง ได้บรรยายสรุปภารกิจ งานเน้นหนักของกรมการปกครองที่จะสามารถตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะการสนองตอบต่อนโยบาย "บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม" มีดังนี้

1. เรื่อง บทบาทฝ่ายปกครอง / นายอำเภอในวันข้างหน้า

  • นายอำเภอจะต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์ รู้เรื่องราวเศรษฐกิจ ที่มองปัญหาในพื้นที่อย่าง องค์รวม เป็นนักบูรณาการงานทุกส่วนของอำเภอ สามารถดึงนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย ไปสู่การปฏิบัติและรู้จักปรับ / แปลง ให้เหมาะสมกับพื้นที่
  • นายอำเภอจะต้องดูแลด้านการบริการประชาชนจากสิ่งที่ทำได้ง่าย แล้วขยายวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะด้านการทะเบียน การอำนวยความยุติธรรม การร้องเรียน การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
  • นายอำเภอจะต้องเข้ามาดูแลการจัดระเบียบสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเมืองน่าอยู่
  • ต้องให้ "อำเภอ" เป็นศูนย์บริการ และศูนย์การแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน
  • นายอำเภอจะต้องเป็นตัวแบบ แบบอย่างที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม นำชาวบ้านให้ชาวบ้าน ศรัทธาให้ได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ นโยบายเชิดชูคุณธรรม

2. เรื่อง กรมการปกครองจะมุ่งดูแลงานบริการประชาชน เพื่อให้ชาวบ้านเห็นว่า หลังปฏิรูปราชการแล้ว ประโยชน์สุขตกแก่ประชาชนอย่างไร ให้ประชาชนเห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และตอบคำถามชาวบ้านได้

-- กรมการปกครองได้ทำเรื่องเสนอ โครงการปรับขยายเวลาการให้บริการประชาชนของกระทรวงมหาดไทย โดยขอได้เพิ่มการบริการให้กับประชาชนใน 2 ประการก่อน คือ การเพิ่มเวลา ทำงาน และการขยายวันทำงาน โดยจะให้บริการเพิ่มเวลาช่วงเที่ยง / ไม่หยุดพัก และขยายวันทำงาน ในวันเสาร์อีก 1 วัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีเวลาใช้บริการเพิ่มอีก 1 ชั่วโมงต่อวัน เป็นอย่างน้อย และ 50 วันต่อปี

2.1 ด้านมิติเวลาในการบริการ

  • ในการให้บริการงานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน ปัจจุบันมีสำนัก ทะเบียนที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 505 แห่ง (46%) ยังเหลือ สำนักทะเบียนที่ส่งไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์อีก 572 แห่ง ทั้งนี้ โดยในจำนวน 505 แห่งแรก แยกเป็น 2 ประเภท คือ

1) ประเภท 211 แห่งแรก ซึ่งรวมใน กทม. กลุ่มนี้มีความพร้อมทั้งระบบ สามารถทำบัตรประชาชนได้ภายใน 7 นาที นับแต่ยื่นคำร้อง (จะไม่เกิน 15 นาที) สามารถอำนวยความสะดวกด้านทะเบียนราษฎร ได้เช่นกัน

2) และอีก 294 แห่ง เป็นสำนักทะเบียนที่ Online แต่ให้บริการ ทะเบียนราษฎรได้ไม่เกิน 30 นาที (พวกแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ แก้ไขรายการฯ)

ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายแก่กรมการปกครอง วันที่ 24 ตุลาคม 2545 [2]

2.2 ด้านการเปรียบเทียบเวลาในการให้บริการ

  • กรมการปกครอง จะผลักดันสำนักทะเบียนปกติที่ยังไม่เข้าสู่ระบบ Online ให้ทั่วถึง ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล และจะโยงไปสู่การบริการภาครัฐ ในเรื่องอื่น ๆ ด้วย
  • ยกตัวอย่าง ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบปกติที่ยังไม่ Online ทำบัตรฯ 7 นาที 45 วัน แจ้งย้ายปลายทาง 5 นาที 15 วัน แก้ไขรายการทะเบียนบ้าน 5 นาที (แล้วแต่จำนวนผู้ใช้บริการ) จดทะเบียนฯ 10 นาที (แล้วแต่จำนวนผู้ใช้บริการ)

2.3 ด้านบริการเบ็ดเสร็จ (ขยายผล)

  • กรมการปกครอง กำลังก้าวไปสู่ One Stop Service เป็น "สำนักงานบริการ" เป็นศูนย์ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลด้าน บริการด้วยตนเอง เช่น ข้อมูลด้านทะเบียนราษฎร ทะเบียนนิติกรรมอื่น ๆ
  • ในอนาคตจะให้การขอติดตั้งเปลี่ยนแปลง การใช้ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ผ่านสำนักงานบริการแห่งนี้ได้ โดยจะเริ่มในจังหวัดศูนย์ภาค 8 แห่งก่อน

3. เรื่อง สภาพภูมิทัศน์ ทัศนียภาพ ความสะอาด ความเป็นระเบียบของที่ว่าการอำเภอ

-- การให้บริการที่ดี ภูมิทัศน์ และสถานที่ราชการจะต้องน่าอยู่ ที่สำคัญต้องสะอาด จะปรับให้ใกล้เคียงกับภาคเอกชน อย่างน้อยให้ผู้มาติดต่อชื่นใจ มีความสะดวกต่อประชาชนที่มาขอรับบริการ

4. เรื่อง การแก้ไขปัญหาความยากจน

-- นายอำเภอต้องจับปัญหาหลัก ๆ การแก้ปัญหาโดยมีข้อมูล นอกจากส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้แล้ว จะต้องหาทางลดรายจ่ายด้วย ทั้งในครอบครัว และระบบการผลิต่อหน่วย จะต้องบอกได้ว่า ปีนี้ได้ลดต้นทุนการทำนาต่อไร่ เป็นเงินเท่าไร ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าไร

-- ความเป็นนักบูรณาการ จึงต้องเชื่อมโยง + กระตุ้น + ต่อยอด เชิงนโยบายไม่ว่า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กองทุนหมู่บ้าน พักชำระหนี้ ลดภาระหนี้ ธนาคารประชาชน นายอำเภอ จะต้องเข้าไปสนับสนุน ส่งเสริม และเชื่อมโยงแก้ปัญหาใช้กระบวนการประชาคม ไม่เข้าไปก้าวก่าย แต่ไป กระตุ้นส่งเสริม

5. เรื่อง การแก้ไขปัญหายาเสพติด

-- กรมการปกครองได้มีแนวทางมอบหมายให้จังหวัด / อำเภอ ดำเนินการอย่าง ครบวงจร ทั้งในด้านการป้องกัน การปราบปราม การบำบัดรักษา และการประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้ทำโครงการด้านนี้กระจายไปทั่ว ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ โดยยึดหลักการให้ พลังแผ่นดิน เพื่อเอาชนะยาเสพติด

-- ทั้งนี้ กรมการปกครองมีเป้าหมายให้อำเภอเป็นหน่วยงานหลัก ตามแผนการแก้ไข ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติด โดยจะกำหนดเป้าหมายภารกิจและเกณฑ์ชี้วัด ก่อน มีผู้ซื้อ ผู้ค้า ผู้เสพ จำนวนเท่าไร หลัง จากการทำงานในระยะเวลาหนึ่งแล้ว มีจำนวนลดลงเท่าไร มีเพิ่มกี่ % ลดกี่ % ในระยะเวลาเท่าใด

-- นายอำเภอต้องเน้นและเป็นหลักในการดำเนินงานด้านยาเสพติด โดยใช้ทรัพยากร ทั้งหมดในพื้นที่ที่มีอยู่ ส่วนราชการอื่น ๆ ทหาร ตำรวจ สาธารณสุข ครู / นักเรียน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมน NGO องค์กรเอกชน / ประชาชน กองร้อย อส. , สถานที่ฝึกอบรม ปค.

-- กรมการปกครองจะเตรียมประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ภายในกรมและสำรวจ จังหวัด / อำเภอ ที่ประสบความสำเร็จว่า มีวิธีการอย่างไร ซึ่งแต่ละภาคจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน จากนั้น จะนำมาทำเป็น Model ให้กับอำเภออื่น ๆ เพื่ออำเภอเหล่านั้นจะได้พัฒนาปรับปรุงเป็นรูปแบบของตนเอง

กองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

โทร. (02) 222-4131 ถึง 2, 222-1141-55 ต่อ 50533--จบ--

-ศน-