กรุงเทพฯ--5 ก.ย.--PPTS PROGRAM
หลักสูตร
"การจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐ"
พัฒนาโดย
ศูนย์การค้านานาชาติ (International Trade Center)
บทนำ
การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรอย่างยิ่งองค์กรที่มีการวางระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพมักจะเป็นองค์กรที่สามารถลดต้นทุนการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน ในทางตรงกันข้าม หากองค์กรใดขาดการวางระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ องค์กรดังกล่าวก็มักจะประสบปัญหาการใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ควรจะเป็น นำไปสู่ความขาดทุน และสูญเสียโอกาสในการแข่งขัน ในทางธุรกิจในที่สุด
ในประเทศกำลังพัฒนา การจัดซื้อจัดจ้างเป็นหัวใจในการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศ ประเทศที่มีระบบการจัดซื้อจัดจ้างทีเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ และสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้เสนอขาย มักจะเป็นประเทศที่สามารถดึงการลงทุนจากต่างประเทศได้มาก ในทางตรงกันข้ามประเทศที่มีระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่ขาดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเลือกปฏิบัติ ก็มักจะเป็นประเทศที่ต่างประเทศมักขาดความมั่นใจในการลงทุน และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนในประเทศนั้นเนื่องจากภาวะความเสี่ยงสูงซึ่งจะส่งผลให้ประเทศดังกล่าวขาดเงินทุนหมุนเวียนในประเทศ และก้าวไปสู่การขาดเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจในที่สุด
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญในการวางรากฐานการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นระบบมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ประเทศที่กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย อเมริกาและอาฟริกา ศูนย์การค้านานาชาติ ( International Trade Center) ภายใต้การสนับสนุนขององค์การค้าระหว่างประเทศ (WTO) และ UNCTAD จึงได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมาภิบาลในภาครัฐขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างในประเทศกำลังพัฒนาทุกภูมิภาคทั่วโลก
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาที่มีหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงให้กับประเทศไทย เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการริเริ่มสร้างระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพให้กับสังคมไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็งต่อองค์กรและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จึงได้ประสานงานกับศูนย์การค้านานาชาติ ในการนำหลักสูตรการฝึกอบรมการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมภิบาลในภาครัฐ มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ให้กับสังคมไทย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดซื้อจัดจ้าง
2. เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดทำระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้กับบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
3. เพื่อพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพ
4. เพื่อพัฒนาจริยธรรมและคุณธรรมของบุคลากรที่รับผิดชอบเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
เนื้อหาของหลักสูตร
หลักสูตรการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐ มีทั้งสิ้น 4 ชุดวิชา คือ
ชุดที่ 1 มี ชื่อว่า "Public Procurement Operations" ชุดวิชานี้มีสาระสำคัญที่จะทำการฝึกอบรม 7 ด้านคือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ (Overview of Public Buying) การวางแผนและกำหนดความต้องการในการจัดซื้อจัดจ้าง (Planning and Specifying Requirements) การสรรหาผู้จัดจำหน่าย (Identifying Suppliers) กลยุทธ์ในการจัดหา (Possible Supply Strategies) การเจรจาต่อรองราคา (Negotiation) การบริหารสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง (Managing the Contract) และ การสร้างมาตรการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง (Anti-Corruption Considerations)
ชุดวิชาที่ 2 มีชื่อว่า "Improving Operations Understanding" ชุดวิชานี้จะเน้นการสร้างความเข้าใจในเรื่องการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานที่ปฏิบัติอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สาระที่ทำการอบรมมี 7 ด้าน คือ การปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีคุณภาพดีขึ้น (Better Procurement Systems) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง (Introduction To Contract Law) เทคนิคการวิเคราะห์ราคาและต้นทุน (Cost And Price Analysis Techniques) การทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างโดยเน้นผลการดำเนินงาน (Performance BasedContracting) การทำสัญญาจัดจ้างบริการ (Services Contracting) การทำสัญญาจัดจ้างการก่อสร้าง (Construction Contracting) และเทคนิคการจัดซื้อจัดจ้างระหว่างประเทศ (International Procurement Techniques)
ชุดวิชาที่ 3 มีชื่อว่า "Public Procurement Policies And Practices" ชุดวิชานี้เน้นการศึกษานโยบายและวิธีปฎิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง สาระสำคัญที่อบรมมี 6 ด้าน คือ นโยบายการค้าและกฎหมายระหว่างประเทศ(International Legal And Trade Policies) การวิเคราะห์ผู้รับจ้างและผู้จัดจำหน่าย (Analysing A Supplier Base) การแก้ข้อร้องเรียนของผู้จัดจำหน่าย (Resolving Supplier Complaints) การบริหารระบบ Loigistic พื้นฐาน (Basic Logistics Management) ระบบ Logistic ระหว่างประเทศ (International Logistics Systems) การทบทวนกระบวนการปฏิบัติการการจัดซื้อจ้าง(Streamlining Procurement Process Operations)
ชุดวิชาที่ 4 มีชื่อว่า "Public Buying for Good Governance Course" ชุดวิชานี้เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมาภิบาลในภาครัฐ
คณาจารย์ผู้ดำเนินการฝึกอบรม
รองศาสตราจารย์ ดร. บุญทัน ดอกไธสง
รองศาสตราจารย์ ดร. ไชยวัฒน์ ค้ำชู
รองศาสตราจารย์ ดร. วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์
รองศาสตราจารย์ พิพัฒน์ ไทยอารี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาวดี มิตรสมหวัง
อาจารย์ ดร. พงษ์พิสิษฐ์ วิเศษกุล
อาจารย์ ดร. อัครเดช ไชยเพิ่ม
อาจารย์ ดร. พรรณไทย ไทยชน
พตท. ดร. ศิริพงษ์ เศาภาวยน
อาจารย์ เยาวณี ตุลยะเสถียร
และ วิทยากรรับเชิญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
การอบรมตลอดหลักสูตรจะใช้เวลาโดยประมาณ 22-24 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็น 3 Phase แต่ละ Phase จะ ใช้เวลาเรียน 7-8 สัปดาห์ ๆ ละ 8 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 56 ชั่วโมง การอบรมจะดำเนินการในวันเสาร์หรืออาทิตย์เป็นหลัก สำหรับ Phase แรกจะเริ่มอบรมทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2545 ถึง วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2545 เวลา 8.30 - 17.30 น. ผู้รับการอบรมจะต้องเข้าอบรมไม่ต่ำกว่า 80% ของการเรียน
คุณสมบัติของผู้สมัคร
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา หรือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างน้อย 1 ปี
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
กลุ่มละประมาณ 40-45 คน
ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการอบรม
ผู้สมัครจะเสียค่าลงทะเบียน คนละ 35,000 บาทสำหรับแต่ละชุดวิชา ค่าลงทะเบียนจะรวมค่าหนังสือค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน ค่าวัสดุสำหรับการทำกรณีศึกษา ค่ากระเป๋าเอกสารประจำหลักสูตรและค่าลงทะเบียนสอบ ผู้สมัครที่เป็นข้าราชการสามารถเบิกค่าลงทะเบียนฝึกอบรมได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังจากหน่วยงานต้นสังกัด
วิธีการฝึกอบรม
การฝึกอบรมประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ภาคทฤษฎีจะใช้เวลาในการเรียนประมาณสัปดาห์ละ 4-5 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ ซึ่งจะเน้นการทำกรณีศึกษาจะมีกิจกรรมสำหรับการฝึกอบรมสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
ภาคทฤษฎีจะดำเนินการสอนโดยวิทยากรรับเชิญจากคณะรัฐศาสตร์และสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคปฏิบัติจะดำเนินการสอนโดยวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรงจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยตรงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมตลอดจนตัวแทนจากหน่วยงานระหว่างประเทศทีดำเนินธุรกิจในประเทศไทย การฝึกอบรมจะใช้ภาษาไทยเป็นหลัก
สถานที่ที่ใช้ในการฝึกอบรม
ห้อง GM Hall อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
เอกสารประกอบการฝึกอบรม
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับเอกสารซึ่งพัฒนาโดยศูนย์การค้านานาชาติทุกชุดวิชาซึ่งจะประกอบ ด้วยส่วนที่เป็นเนื้อหาเชิงทฤษฎีและแบบฝึกหัดสำหรับการฝึกปฏิบัติโดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงว่าจะไม่นำเอกสารการฝีกอบรมนี้ไปทำสำเนา หลักฐานประกอบการสมัคร
ใบแสดงคุณวุฒิการศึกษา สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน /บัตรข้าราชการ/ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจรูปถ่าย 1 1/2 2รูป
วุฒิบัตร
ผู้ผ่านการฝึกอบรมครบทั้ง 3 Phase จะได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสอบเพื่อรับวุฒิบัตรจาก ศูนย์การค้านานาชาติ (International Trade Center) ซึ่งเป็นวุฒิบัตรระดับสากล เป็นที่ยอมรับทั่วโลก โดยองค์การค้าระหว่างประเทศ (World Trade Organization) และ UNCTAD ให้การยอมรับ มีฐานะเทียบเท่ากับ ใบรับรองมาตรสากลหรือ ISO 9000 และได้รับวุฒิบัตรจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นบางชุดวิชาตามความสนใจ จะได้รับวุฒิบัตรจากคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความชัดเจน รวดเร็วและโปร่งใสให้กับหน่วยงาน
2. สามารถพัฒนาทักษะในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
3. สามารถสร้างจริยธรรมและตุณธรรมการจัดซื้อจัดจ้างให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้
4. สามารถลดการ ทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างได้ในอนาคต
สถานที่ติดต่อ
สำนักงานโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมาภิบาลในภาครัฐ ห้อง 614 อาคารศศนิเวศ สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
โทร 0-2979-2128 และ/หรือ โทร. 0-2216-8424 ต่อ 614 ในเวลาราชการ
หรื่อ [email protected]
หรือ www.pptsprogram.com
รายละเอียดวิชาที่ฝึกอบรม
(ฉบับร่าง)
ชุดที่ 1:
PUBLIC PROCUREMENT OPERATIONS
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ(Overview Of Public Buying) [5 -3]
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะงานจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ องค์ประกอบพื้นฐานของงานการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ อำนาจและความรับผิดชอบในงานการจัดซื้อจัดจ้าง การวิเคราะห์บริบทของการจัดซื้อจัดจ้าง เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในงานการจัดซื้อจัดจ้าง จริยธรรมและหลักธรรมาภิบาลในการจัดซื้อจัดจ้าง
การวางแผนและการกำหนดความต้องการในการจัดซื้อจัดจ้าง (Planning And Specifying Requirements) [ 5 - 3 ]
ศึกษาวิธีการวิเคราะห์ความต้องการในการจัดซื้อจัดจ้าง การวางแผนและการจำแนกข้อกำหนดรายละเอียดและมาตรฐานที่จะใช้ในการกำหนดรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆในการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น ปริมาณสิ่งของหรือบริการ ข้อกำหนดในการการส่งมอบและการบริการให้บริการหลังการขาย เป็นต้น กระบวนการกำหนดความต้องการและการวางแผนในการจัดหา
การสรรหาผู้จัดจำหน่าย (Identifying Suppliers) [5 - 3]
ศึกษาการใช้ข้อกำหนดรายละเอียดในการสรรหาผู้จัดจำหน่าย ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทและแหล่งของผู้จัดจำหน่าย วิธีการรวบรวมข้อมูล การวิจัยตลาด กระบวนการจัดเตรียมการจัดซื้อจัดหา วิธีการประเมิน ข้อเสนอราคา
กลยุทธ์ในการจัดหา (Possible Supply Strategies) [5 - 3]
ศึกษาขอบเขตและวัตถุประสงค์ในการจัดหา วิธีการและรูปแบบในการจัดหา ความสัมพันธ์และลักษณะของสัญญาที่จะทำกับผู้ขาย รายละเอียดและข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการจัดหา วิธีการขจัดอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการจัดหา
การแก้ไขวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในการจัดหา และการซื้อขายผ่านตลาดล่วงหน้าและวิธีเก็งราคา
การเจรจาต่อรองราคา (Negotiation) [5 - 3 ]
ศึกษาเทคนิคการเจรจาต่อรองราคาในสถานการณ์ต่าง ๆ เทคนิค การหาข้อมูลและการทำความเข้าใจข้อเท็จจริงประกอบการเจรจาต่อรองราคา การกำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ในการต่อรองราคา ขั้นตอนการประชุมเพื่อการเจรจาต่อรองราคา และการติดตามผลการปฎิบัติตามสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง (Managing the Contract) [5 - 3 ]
ศึกษาองค์ประกอบของสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง การจัดทีมงานบริหารสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง วิธีการจัดเตรียมสัญญาให้สอดคล้องกับนโยบายและระเบียบปฏิบัติของการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะต้องระบุไว้ในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินและควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติตามสัญญาจัดซื้อจัดจ้างของผู้จัดจำหน่าย หลักปฏิบัติในการปรับปรุงแก้ไขสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
การสร้างมาตรการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง (Anti-Corruption Considerations) [4-4]
วิเคราะห์สถานการณ์การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างเปรียบเทียบภายในประเทศและระหว่างประเทศ ระหว่างองค์กร และระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การกำหนดมาตการการต่อต้านการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง การวิเคราะห์จุดที่เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง และการวางมาตรการการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
ชุดที่ 2: IMPROVING OPERATIONS UNDERSTANDING
การปรับปรุงระบบการจัดหาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (Better Procurement Systems) [5-3]
ศึกษาเกี่ยวกับ เครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ แนวทางการจัดทำระบบป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการจัดซื้อจัดจ้าง การวิเคราะห์ประเมินคุณค่าในการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละขั้นตอน แนวคิดเรื่องวิศวกรรมคุณค่า การสร้างระบบการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ความเสี่ยงอันเกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างภายในองค์การตามระเบียบการจัดทำระบบตรวจสอบภายในของสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2544
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง (Introduction To Contract Law) [5-3]
ศึกษา เกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจและอำนาจในการจัดทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง หลักการและองค์ประกอบของสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมาตรฐานสากล
เทคนิคการวิเคราะห์ราคาและต้นทุน (Cost And Price Analysis Techniques) [5 - 3 ]
ศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดราคาให้เป็นธรรมและเหมาะสม การศึกษาปัจจัยการตลาดที่มีผลกระทบต่อการกำหนดราคา นโยบายการกำหนดราคา การวิจัยและการสอบราคาตลาด การวิเคราะห์ต้นทุน ศึกษาเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน การประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหา แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและราคา
การทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างโดยเน้นผลการดำเนินงาน (Performance Based Contracting) [5-3]
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างโดยเน้นผลการดำเนินงาน วิธีการเขียนข้อกำหนดเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่ต้องการระบุไว้ในสัญญา การกำหนดระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ (Acceptable Quality Level) การวางมาตรการตรวจสอบคุณภาพ การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของผู้จัดจำหน่วยที่เป็นคู่สัญญา การประเมินการสนองตอบต่อข้อกำหนดในสัญญา ของผู้จัดจำหน่ายที่เป็นคู่สัญญา การประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการสัญญาที่เน้นผลการดำเนินงาน
การทำสัญญาจัดจ้างบริการ (Services Contracting) [5 - 3 ]
ความหมายของการทำสัญญาจัดจ้างบริหารตามหลักธรรมาภิบาล การร่างสัญญาจัดจ้างบริการ ข้อพิจารณาในการร่างสัญญาการจัดจ้างบริการ กระบวนการหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการ เทคนิคที่ใช้ในการสรรหาผู้ให้บริการที่มีการศึกษาตัวอย่างขั้นตอนในการดำเนินการคัดเลือกผู้ให้บริการ และการใช้ Best Value Evaluation ในการสรรหาผู้ให้บริการ
การทำสัญญาจัดจ้างการก่อสร้าง (Construction Contracting) (5- 3)
ศึกษาการวางแผนและเตรียมการทำสัญญาจัดจ้างก่อสร้าง การร่างสัญญาจัดจ้างการก่อสร้าง ข้อพึ่งพิจารณาในการร่างสัญญาจัดจ้างการก่อสร้าง กระบวนการควบคุมการดำเนินการก่อสร้าง กระบวนการในการยุติการจัดซื้อจัดจ้าง การแก้ปัญหาอันเนื่องจากข้อพิพากจากการว่าจ้าง เทคนิคการกำหนดราคาและการจ่ายค่าจ้าง
เทคนิคการจัดซื้อจัดจ้างระหว่างประเทศ (International Procurement Techniques) [5 - 3]
ศึกษาเกี่ยวกับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อจัดทำโครงการขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ทำความเข้าใจในความคาดหวังของหน่วยงานที่เป็นผู้ให้ทุน แนวนโยบายและการปฏิบัติ ที่หน่วยงานที่เป็นผู้ให้ทุนกำหนด การจัดทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลจากต่างประเทศการจัดทำเอกสารเพื่อกำหนดข้อเสนอทางเทคนิคการจัดเตรียมเอกสารประกอบการประมูล เทคนิคและวิธีการพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค แบบมืออาชีพ และเทคนิคการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างกับบรรษัทข้ามชาติ
ชุดที่ 3: PUBLIC PROCUREMENT POLICIES AND PRACTICES นโยบายการค้าและกฎหมายระหว่างประเทศ (International Legal And Trade Policies) [ 5-3]
ให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายการค้าและกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญๆ และมีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งนโยบายการค้าและกฏหมายที่เกี่ยวกับการทำการค้ากับต่างประเทศของประเทศไทย การปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติในการจัดซื้อจัดจ้าง
การวิเคราะห์ผู้รับจ้างและผู้จัดจำหน่าย (Analysing A Supplier Base) [5 -3]
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของผู้จัดจำหน่ายเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการ ตลาดทำความเข้าใจตลาดของสินค้าและบริการที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้าง วิเคราะห์ภาวะการแข่งขันในตลาด วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการแข่งขันทางการตลาดของผู้จัดซื้อจัดจ้าง เทคนิคการคาดการณ์ตลาดของผู้รับจ้างและผู้จัดจำหน่าย การจำแนกตลาดตามสภาพภูมิศาสตร์ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ และช่องทางการจัดหา และข้อมูลที่นำมาสนับสนุนตลาดของผู้จัดจำหน่าย
การแก้ข้อร้องเรียนของผู้จัดจำหน่าย (Resolving Supplier Complaints) [3-5]
ศึกษาถึงกระบวนการเกิดข้อร้องเรียนภายหลังการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดขึ้นในสังคมไทย วิธีการจัดการกับข้อร้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ข้อร้องเรียน
การบริหารงาน Loigistic พื้นฐาน (Basic Logistics Management) [5-3]
ศึกษาระบบงาน logistic
ระบบ Logistic กับ การสร้างเครือข่ายการสั่งซื้อสินค้า กระบวนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การใช้ INCOTERMS ปฏิบัติการรับและกระจายสินค้าและบริการ ระบบคลังพัสดุเครื่องและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำระบบ Logistic
ระบบ Logistic ระหว่างประเทศ (International Logistics Systems) [5-3]
ศึกษาพัฒนาการและวิธีการดำเนินงานของผู้ให้บริการระดับโลก (World Class Supply Practices) บทบาทเชิงกลยุทธ์ของระบบ Logistic
ระบบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าและบริการ ระบบการประกันสินค้าที่นำเข้า การใช้ INCOTERMS ในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การรับสินค้า การผ่านพิธีการศุลกากรและการกระจายสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
การปรับปรุงวิธีปฏิบัติในการจัดซื้อจ้าง (Streamlining Procurement Process Operations)
เทคนิคการวิเคราะห์สถานการณ์การจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงาน การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการจัดซื้อจัดจ้าง การเตรียมความพร้อมให้กับผู้เกี่ยวข้องในองค์กร และการวางแผนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การนำเอาระบบการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในองค์กร และเทคนิคการบริหารแรงต้านในองค์กร
การจัดซื้อจัดจ้างตามหลักธรรมาภิบาลของภาครัฐ (Public Buying for Good Governance Course) [5-3]
ศึกษากระบวนการปฏิรูปการจัดซื้อจัดจ้าง แนวทางในการพัฒนาคนให้มีสำนึกในการจัดซื้อจัดจ้างโดยยึดหลักความโปร่งใส การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการขจัดทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
สำนักงานโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
อาคารศศินิเวศ ห้อง 614
โทร: 02 216 8844 ต่อ 614
02 997 2128
แฟกซ์: 02 253 8050
www.pptsprogram.com-- จบ--
-ศน-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit