ซีอีโอแห่งไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สเปิดตัวคัมภีร์สำหรับนักบริหารสร้างศรัทธานักลงทุนแนะองค์กรปฏิรูปวิธีจัดทำรายงานแบบโปร่งใส

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--เอ็มดีเค คอนซัลแทนส์ (ประเทศไทย) ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เปิดตัวคัมภีร์นักบริหารเล่มใหม่ "Building Public Trust: The Future of Corporate Reporting" เผยวิสัยทัศน์เรื่องการยกระดับความโปร่งใสและความรับผิดชอบขององค์กรต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน พร้อมเสนอแนวทางปฏิรูประบบการจัดทำรายงานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชน แซมมวล เอ ดิเพียซซ่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และโรเบิร์ต จี เอ็คเคิลส์ ผู้บริหารของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส และอดีตอาจารย์ด้านธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ร่วมกันแต่งหนังสือ Building Public Trust: The Future of Corporate Reporting เพื่อเผยแพร่ความรู้และข้อคิดที่สั่งสมมานานนับทศวรรษจากประสบการณ์ทางด้านการวิจัย วิเคราะห์ และบทสนทนากับผู้นำธุรกิจที่รวบรวมโดยทีมนักคิดระดับหัวกะทิ พร้อมทั้งเสนอแนวทางปฏิรูปการจัดทำรายงานผลประกอบการ เพื่อผลักดันให้มีการยกระดับความโปร่งใสและความรับผิดชอบขององค์กรต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน ตอบรับกระแสวิกฤติความเชื่อมั่นในตลาดโลก และแรงกดดันของคณะกรรมการกำกับควบคุมตลาดหลักทรัพย์แห่งสหรัฐอเมริกา ตลอดจนกระแสความสนใจเรื่องกฎระเบียบและหน่วยงานควบคุมกฎระเบียบทั่วโลก วิสัยทัศน์สำคัญสี่ประการของผู้เขียนในหนังสือเล่มนี้ ได้แก่ หลักการของการวางหลักประเมิน รูปแบบการเปิดเผยข้อมูลองค์กร ความรับผิดชอบร่วมกันของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเทคโนโลยี่ มร. ดิเพียซซ่า กล่าวว่า "รูปแบบการรายงานขององค์กรในอนาคตจะต้องยึดหลักความโปร่งใสมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความล้มเหลวและเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการตบแต่งบัญชีของบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ถือหุ้น ที่เคยตั้งอยู่บนพื้นฐานของห่วงโซ่อุปทานการรายงานผลงานบริษัท (Corporate Reporting Supply Chain) ซึ่งผู้บริหาร คณะกรรมการบริหาร ผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ นักวิเคราะห์บุคคลที่สาม และสื่อด้านการเงินและธุรกิจ ต่างก็มีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่านักลงทุนจะได้รับข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น" ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ผู้วางกฎระเบียบในเอเชียต่างก็เน้นความสำคัญของมาตรฐานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ และบางรายได้วางกฎระเบียบด้านงานบัญชีที่เข้มงวดยิ่งขึ้น หลังจากวิกฤติทางการเงินในเอเชียแปซิฟิกเมื่อปี พ.ศ. 2540-2541 เอียน ริคเวิร์ด ประธาน ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สภาคพื้นเอเซีย กล่าวว่า "ในขณะที่ตลาดทุนก้าวสู่ความเป็นโลกาภิวัฒน์มากขึ้น ธุรกิจทุกประเภทจำเป็นต้องรักษามาตรฐานด้านการกำกับดูแลกิจการและการทำรายงานให้สูงขึ้น มิเช่นนั้น ตลาดเงินก็จะไม่สามารถยืนหยัดต่อไปได้อีก ขณะนี้เอเซียกำลังจับตามองธุรกิจต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา บริษัทในเอเชียสามารถเรียนรู้จากบทเรียนของความล้มเหลวระดับโลกได้อย่างแน่นอน ซึ่งทำให้พวกเขาจำเป็นต้องฝึกฝนหลักการกำกับดูแลกิจการและการจัดทำรายงานที่ดีเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของนักลงทุน" มร. ดิเพียซซ่า และมร. เอ็คเคิลส์ ยืนยันว่ามาตรฐานบัญชีระดับสากลในอนาคตจะเน้นหลักการแทนที่จะเป็นกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดในการยุติข้อพิพาทเกี่ยวกับกฎระเบียบที่ได้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา นับตั้งแต่การล่มสลายของบริษัท เอนรอน คอร์ปอเรชั่น และเรื่องอื้อฉาวที่กำลังวนเวียนอยู่กับบริษัท เวิลด์คอม ผู้เขียนทั้งสองแนะนำให้หลีกเลี่ยงการปฏิรูปแบบไม่จริงจัง และแนะให้เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับหลักการบัญชี และชี้ว่าผลเสียของการละเลยหลักการบัญชีระดับสากลมีสูงมาก การเข้าถึงตลาดทุนของโลกยังคงเป็นเรื่องยากลำบากและมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติและผู้บริหารของบริษัทคู่แข่งยังขาดความเชื่อถือในการเปรียบเทียบข้อมูลของบริษัทในประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ หลักการบัญชีที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในระดับโลก (Global Generally Accepted Accounting Principles) จะช่วยลดความเสี่ยงด้านข้อมูลแก่ทุกฝ่ายและปรับปรุงการจัดสรรเงินทุนทั่วโลก สรุปเนื้อหาสำคัญ ในหนังสือ Building Public Trust: The Future of Corporate Reporting ผู้แต่งได้นำเสนอ แม่แบบความโปร่งใสสามระดับสำหรับองค์กร ดังนี้คือ - สนับสนุนหลักการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในระดับโลก (Global GAAP) โดยเน้นมาตรฐานการจัดทำรายงานบนพื้นฐานของหลักการ มิใช่กฎเกณฑ์ - จัดมาตรฐานการวัดผลและรายงานข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับธุรกิจประเภทต่างๆ และนำมาประยุกต์ใช้อย่างสม่ำเสมอ - จัดทำแนวทางการนำเสนอข้อมูลเฉพาะของบริษัท ซึ่งรวมไปถึง กลยุทธ์ แผนงาน การบริหารความเสี่ยง นโยบายทดแทน การกำกับดูแลกิจการที่ดี และมาตรการวัดผลงานด้านอื่น ๆ องค์ประกอบสำคัญเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชน 3 ประการ - จิตวิญญาณแห่งความโปร่งใส ความโปร่งใสหมายถึงการระบุและรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจแก่นักลงทุนอย่างเต็มที่ มิใช่เพียงเพื่อทำตามกฎระเบียบพื้นฐานเท่านั้น - วัฒนธรรมแห่งความรับผิดชอบ การแจ้งข้อมูลโดยยึดมั่นในปณิธานและความรับผิดชอบของผู้ที่มีส่วนร่วมทุกฝ่ายในห่วงโซ่อุปทานการจัดทำรายงานบริษัท - บุคลากรที่ซื่อสัตย์ ความโปร่งใสและความรับผิดชอบขึ้นอยู่กับบุคลากรที่ซื่อสัตย์ขององค์กร โดยเน้น "การทำสิ่งที่ถูกต้อง" ไม่เพียงแต่สิ่งที่เหมาะสมหรือสิ่งที่ได้รับการอนุญาตเท่านั้น "สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือนักลงทุนจะต้องสามารถไว้วางใจในความโปร่งใสของรายงานที่บริษัทจัดทำและความซื่อสัตย์ของผู้นำธุรกิจและผู้ออกกฎระเบียบ ในช่วงเวลาที่เอเซียกำลังฟื้นตัวนี้ นักลงทุนจะเลี่ยงไม่ทำธุรกิจกับหน่วยงานและตลาดที่ไม่ปรับตัวให้เหมาะสมตามกาลเวลา" มร. ริคเวิร์ด กล่าว สื่อสารผลลัพธ์ ในอนาคตการจัดทำรายงานบริษัทจะมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นทางด้านความโปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีการรายงานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า เอ็กซ์บีอาร์แอล (Extensible Business Reporting Language-XBRL) ซึ่งใช้มาตรฐานและหลักปฏิบัติด้านการรายงานทางการเงินที่ได้รับการยอมรับ เพื่อแปลรายงานทางการเงินเป็นข้อมูลที่นักลงทุนทุกประเภทสามารถเข้าถึงและนำมาวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจลงทุนได้ทันที มร. เอ็คเคิลส์ กล่าวว่า "เอ็กซ์บีอาร์แอลจะมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในเรื่องความโปร่งใสขององค์กร และจะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นอย่างมาก โดยนักลงทุนสามารถขอข้อมูลจากซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลขององค์กร ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลที่ต้องการและแปรเปลี่ยนเป็นการวิเคราะห์แบบเอ็กซ์บีอาร์แอลภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที นอกจากนี้ ประโยชน์ด้านการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลยังสร้างความเสมอภาคให้แก่นักลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทด้วย "ในอนาคต ผู้ตรวจสอบบัญชีและสมาชิกทุกหน่วยแห่งห่วงโซ่อุปทานการจัดทำรายงานบริษัทจะต้องก้าวขึ้นมามีบทบาทและแสดงความรับผิดชอบมากขึ้น โดยอาศัยการสนับสนุนของผู้จัดมาตรฐานและผู้ออกกฎระเบียบของตลาด" นักลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทจะพร้อมรับผิดชอบการตัดสินใจของพวกเขาอย่างเต็มใจมากขึ้นถ้าข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจผ่านการตระเตรียม ได้รับการอนุมัติ และผ่านการตรวจสอบ ภายใต้หลักการด้านความโปร่งใส ความเชื่อมั่นของสาธารณชนไม่ได้เกิดจากผลลัพธ์ของการตัดสินใจ แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่นำไปสู่การตัดสินใจนั้น ๆ ทั้งนี้องค์กรต่างๆ ยังมีโอกาสที่จะแก้ไขและปรับปรุงวิธีการทำงานของตลาดเงินทุนครั้งใหญ่เพื่อประโยชน์ของนักลงทุนและสังคมส่วนรวม สนใจค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ www.buildingpublictrust.com ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส www.pwcglobal.com เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจระดับโลก ที่รวบรวมความรู้และความชำนาญของพนักงานกว่า 150,000 คน ใน 150 ประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยลูกค้าแก้ปัญหาธุรกิจที่ซับซ้อนและเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างมูลค่า บริหารความเสี่ยงและปรับปรุงผลประกอบการในโลกอินเตอร์เนต ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส คือสมาชิกขององค์กร ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ทั่วโลก--จบ-- -นห-

ข่าวไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์+มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดวันนี้

ซีอีโอแห่งไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สเปิดตัวคัมภีร์สำหรับนักบริหารสร้างศรัทธานักลงทุนแนะองค์กรปฏิรูปวิธีจัดทำรายงานแบบโปร่งใส

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--เอ็มดีเค คอนซัลแทนส์ (ประเทศไทย) ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เปิดตัวคัมภีร์นักบริหารเล่มใหม่ "Building Public Trust: The Future of Corporate Reporting" เผยวิสัยทัศน์เรื่องการยกระดับความโปร่งใสและความรับผิดชอบขององค์กรต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน พร้อมเสนอแนวทางปฏิรูประบบการจัดทำรายงานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชน แซมมวล เอ ดิเพียซซ่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และโรเบิร์ต จี เอ็คเคิลส์ ผู้บริหารของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส และอดีตอาจารย์ด้านธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ร่วมกัน

PwC Middle East เตรียมเปิดตัวศูนย์บริการระดับภูมิภาคใหม่ล่าสุดในบาห์เรน

ศูนย์บริการในบาห์เรนถือเป็นความสำเร็จครั้งใหม่สำหรับภาคบริการทางการเงินในราชอาณาจักร ศูนย์แห่งใหม่นี้คาดว่าจะสร้างงาน 250 ตำแหน่งให้กับชาวบาห์เรน บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ตะวันออกกลาง หรือ PwC Middle East ...

PwC ประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวผลสำรวจแนวโน้มเศรษฐกิจและการเติบโตของรายได้ในมุมมองซีอีโออาเซียนปี 59

PwC ประเทศไทย (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) เครือข่ายบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายและภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าว...

นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษ... ภาพข่าว: สัมมนา “COSO” — นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ให้การต้อนรับนางวารุณี ปรีดานนทหุ้นส่วน สายงาน...

สมศักดิ์ จิตติพลังศรี ประธานบริษัท ซัยโจ ... ภาพข่าว: ซัยโจ เด็นกิรุกตลาดญี่ปุ่น — สมศักดิ์ จิตติพลังศรี ประธานบริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ขวาสุด) พร้อมด้วย มร.โนบุมิชิ อิซุมิ...