สศก.แจ้งการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรและมาตรการดำเนินงาน

กรุงเทพฯ--19 ส.ค.--สศก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อจัดระบบการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการใช้ทรัพยากรการผลิตให้มีความเหมาะสม โดยอาศัยพระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจไป แล้วทั้งสิ้น 13 ชนิด ประกอบด้วย อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ปอตากแห้ง กาแฟ ฝ้าย มันสำปะหลัง หอมหัวใหญ่ หอมแดง ปาล์มน้ำมัน หน่อไม้ฝรั่ง พริกไทย กระเทียม และไก่เนื้อ สำหรับอ้อยโรงงาน และปาล์มน้ำมันได้มีการปรับปรุง และประกาศใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 แต่เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมายังขาดมาตรการสนับสนุนและจูงใจให้กับเกษตรกร จึงทำให้เกษตรกรขาดความสนใจในการปลูกพืชให้ตรง กับเขตเกษตรเศรษฐกิจที่ได้มีการประกาศไว้ สาระสำคัญของการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรนั้น ดำเนินการโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) วิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ โดยมีสินค้าที่พร้อมประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจ จำนวน 12 ชนิด ได้แก่ 1. ข้าวนาปี มีพื้นที่ 57 ล้านไร่ 71 จังหวัด (664 อำเภอ 5,673 ตำบล) 2. ข้าวนาปรัง มีพื้นที่ 8 ล้านไร่ 28 จังหวัด (143 อำเภอ 1,327 ตำบล) 3. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ 7.5 ล้านไร่ 32 จังหวัด (171 อำเภอ 1,064 ตำบล) 4. มันสำปะหลัง มีพื้นที่ 6.7 ล้านไร่ 33 จังหวัด (179 อำเภอ 1,232 ตำบล) 5. สับปะรดโรงงาน มีพื้นที่ 0.5 ล้านไร่ 8 จังหวัด (27 อำเภอ 126 ตำบล) 6. ถั่วเหลือง มีพื้นที่ 1.5 ล้านไร่ 28 จังหวัด (138 อำเภอ 811 ตำบล) 7. ยางพารา มีพื้นที่ 12 ล้านไร่ 34 จังหวัด (237 อำเภอ 1,592 ตำบล) 8. ทุเรียน มีพื้นที่ 0.86 ล้านไร่ 12 จังหวัด (42 อำเภอ 287 ตำบล) 9. ลำไย มีพื้นที่ 0.65 ล้านไร่ 6 จังหวัด (30 อำเภอ 225 ตำบล) 10. กาแฟ มีพื้นที่ 0.4 ล้านไร่ 8 จังหวัด (30 อำเภอ 170 ตำบล) 11. ปาล์มน้ำมัน มีพื้นที่ 1.86 ล้านไร่ 13 จังหวัด (77 อำเภอ 489 ตำบล) 12. อ้อยโรงงาน มีพื้นที่ 6 ล้านไร่ 35 จังหวัด (181อำเภอ 1,310 ตำบล) เพื่อเป็นการสนับสนุนและจูงใจให้เกษตรกรมีการผลิตสินค้าตามเขตเกษตรเศรษฐกิจที่ได้มีการประกาศดังกล่าวนั้น จึงได้กำหนดมาตรการดำเนินงานสำหรับสินค้าเกษตร โดยจะต้องดำเนินการควบคู่กันไป ดังนี้ มาตรการสำหรับพื้นที่ในเขตเกษตรเศรษฐกิจ ด้านการผลิต ได้แก่การจดทะเบียนเกษตรกร การถ่ายทอดเทคโนโลยีการ ผลิต การจัดสร้างปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต เช่น ระบบชลประทาน ลานตาก เครื่องลดความชื้น สนับสนุนด้านปัจจัย การผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ดี และปุ๋ย เป็นต้นและการสนับสนุนการประกันภัยพืชผล ด้านการแปรรูป ได้แก่การสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ด้านการบริหารการจัดการ หน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด สำหรับการช่วยเหลือด้านการตลาดจะให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ผลิตภายในเขตเป็นลำดับแรก และในระยะต่อไปจะมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเขตเกษตรเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนให้มีการปลูกพืชให้ตรงกับเขตที่ได้ มีการประกาศไว้ มาตรการสำหรับพื้นที่นอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ สนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรของสินค้าให้ ตรงตามเขตเกษตรเศรษฐกิจ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่เกษตรกรในการผลิตสินค้าทดแทน และสำหรับพืชยืนต้น จะมีระยะเวลาการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น 3-5 ปี สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับนั้น หากเกษตรกรทำการเกษตรในเขตเกษตรเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ จะช่วยให้ทำการผลิตได้ตรงกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสินค้านั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง และมีปริมาณผลผลิตและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และยังช่วยให้การสนับสนุนของรัฐเป็นไป อย่างสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐอีกด้วย--จบ-- -สส-

ข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์+เศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...

หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคต... ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ — หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ... TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา" — ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...