กรุงเทพฯ--14 พ.ค.--กทม.
เขตสะพานสูง นายวันชัย ทิวัฑฒานนท์ ผู้อำนวยการเขตสะพานสูง กทม. เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 16 มิ.ย. 45 และกำหนดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพ-มหานคร ระหว่างวันที่ 13-17 พ.ค. 45 นั้น เมื่อวานนี้ (13 พ.ค. 45) ซึ่งเป็นวันแรกของการรับสมัครฯ เขตฯ ได้เตรียมพร้อมการรับสมัครฯ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 มีผู้สนใจได้มาลงทะเบียนรับสมัครก่อนเวลาราชการ (เวลา 08.00 น.) จำนวน 2 คน ครั้นถึงเวลา 08.00 น. นายศิริปัญญา ตุงคะสมิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต ทำหน้าที่ประธานการรับสมัครได้กล่าวต้อนรับผู้สมัคร และเหล่ากองเชียร์ของผู้สมัคร พร้อมแจ้งให้ผู้สมัครทั้ง 2 ได้ทราบหลักเกณฑ์การยื่นใบสมัครก่อนเวลา และให้ทำความตกลงกันว่าผู้สมัครผู้ใดจะได้ยื่นใบสมัครก่อนหลัง แต่ผู้สมัครทั้ง 2 ทำความตกลงกันไม่ได้ ประธานฯ จึงแจ้งให้ทั้ง 2 จับสลาก 2 ครั้ง ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้สมัครทั้ง 2 ได้ยื่นใบสมัครพร้อมได้เลขหมายประจำตัวผู้สมัครตามลำดับดังนี้ หมายเลข 1 นายประสิทธิ์ มะหะหมัด ผู้สมัครสังกัดพรรคไทยรักไทย หมายเลข 2 นายสมพร ฉิมวิเศษ ผู้สมัครสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบเอกสารเสร็จภายในเวลาครึ่งชั่วโมง จนกระทั่งเวลา 09.20 น. ได้มีนายอมร พิกุลงาม มายื่นใบสมัครในนามกลุ่มมดงาน และได้หมายเลข 3 และนายพิพัฒน์พงษ์ จันทร์ดี สังกัดพรรคประชากรไทย ได้หมายเลข 4
ผู้อำนวยการเขตสะพานสูง กล่าวต่อไปว่า ผู้อำนวยการเขตจะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานคุณสมบัติของผู้สมัครทั้ง 4 คน และผู้สมัครหลังจากนี้ทุกคนให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ปิดการรับสมัคร และจะประกาศรับรองผู้สมัครและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครอย่างเป็นทางการต่อไป อนึ่ง เขตฯ ยังคงเปิดรับสมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 17 พ.ค. 45 จึงขอเชิญชวนผู้สนใจสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสะพานสูง ได้ในวันดังกล่าว ระหว่างเวลา 08.00-16.00 น. เขตบางกะปิ นายชัยวัธน์ อังกิตานนท์ ผู้อำนวยการเขตบางกะปิ กทม. เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (13 พ.ค.45) ซึ่งเป็นวันเปิดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตบางกะปิ เป็นวันแรก โดยในช่วงเช้าได้มีผู้สมัครจากพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง นำหลักฐานมายื่นใบสมัครพร้อมกองเชียร์อย่างคึกคัก จำนวน 3 พรรค 1 กลุ่ม โดยได้มาลงทะเบียนก่อนเวลา 08.00 น. ซึ่งผู้อำนวยการเขต ได้เชิญผู้สมัครฯ มาทำความตกลงกันว่าผู้ใดจะเป็นผู้ยื่นหลักฐานการสมัครรับเลือกตั้งก่อนหลัง (เนื่องจากผู้สมัครฯ ที่มาถึงก่อนเวลารับสมัคร 08.00 น. จะถือว่ามาถึงสถานที่สมัครพร้อมกัน) แต่ผู้สมัครฯ ตกลงกันไม่ได้ ผู้อำนวยการเขตจึงได้จัดให้มีการจับสลาก 2 ครั้ง ผลการจับสลากผู้สมัครได้หมายเลข ดังนี้ นายสมพงษ์ ประมูลชัย พรรคประชากรไทย หมายเลข 1 นายซาฟีอี อรุณพูลทรัพย์ กลุ่มมดงาน หมายเลข 2 นายชัยวุฒิ จริยวิโรจน์กุล พรรคไทยรักไทย หมายเลข 3 น.ส.วันเพ็ญ วันทนาศิริ พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 4
ผู้อำนวยการเขตบางกะปิ กล่าวต่อไปว่า ผู้อำนวยการเขตจะตรวจสอบหลักฐานคุณสมบัติของผู้สมัครให้แล้วเสร็จภายในเวลา 7 วัน นับแต่วันปิดการรับสมัคร เมื่อเรียบร้อยแล้วจะประกาศรับรองผู้สมัครและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครอย่างเป็นทางการต่อไป ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายปกครอง หรือศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง ส.ก.เขตบางกะปิ ได้ในวัน เวลาราชการ
เขตบึงกุ่ม นายนิคม บุญพิทักษ์ ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่ม กทม. เปิดเผยว่า เขตฯ เปิดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 13-17 พ.ค. 45 ณ ชั้น 2 อาคารสำนักงานเขตบึงกุ่ม โดยในวันแรก (13 พ.ค. 45) มีผู้ที่ยื่นความจำนงในการสมัครฯ จำนวน 5 ราย คือ นายวินัย เกตุโสภิต ผู้สมัครสังกัดพรรคประชากรไทย นายจันทรแรม อินทร์สนอง ผู้สมัครสังกัดพรรคชาติไทย นายวินัย พุกรักษา ผู้สมัครสังกัดพรรคไทยรักไทย นางอุไรวรรณ เงินยวง ผู้สมัครสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ นายสมเกียรติ ลิ้มประสิทธิ์วงค์ ผู้สมัครสังกัดกลุ่มมดงาน
ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่ม กล่าวต่อไปว่า ในเวลา 08.00 น. เป็นการจับสลากเลือกหมายเลขของผู้สมัครฯ โดยมีผู้อำนวยการเขต และผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต ทั้ง 2 ท่าน เป็นประธานและรองประธานในการจับสลากฯ ท่ามกลางสักขีพยานจากหัวหน้าฝ่ายทุกฝ่ายของสำนักงานเขตบึงกุ่ม และประชาชนผู้มาให้กำลังใจแก่ผู้สมัครฯ ซึ่งในการจับสลากครั้งนี้มีผู้ที่ได้หมายเลขเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้ นายสมเกียรติ ลิ้มประสิทธิ์วงค์ ได้หมายเลข 1 นายวินัย เกตุโสภิต ได้หมายเลข 2 นายวินัย พุกรักษา ได้หมายเลข 3 นายจันทรแรม อินทร์สนอง ได้หมายเลข 4 นางอุไรวรรณ เงินยวง ได้หมายเลข 5
ทั้งนี้ผู้อำนวยการเขตจะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานคุณสมบัติของผู้สมัครให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันปิดการรับสมัคร และจะประกาศรับรองผู้สมัครและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครอย่างเป็นทางการต่อไป “สำหรับการเลือกตั้ง ส.ก. ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 16 มิ.ย. 45 เวลา 08.00-15.00 น. จึงขอให้ข้าราชการและลูกจ้างของเขตทุกคน รวมทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด และขอให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่เขตบึงกุ่มที่มีสิทธิเลือกตั้งเตรียมตัวเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ ในวันและเวลาดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน” นายนิคมฯ กล่าว
เขตจตุจักร นายประเสริฐ ทองนุ่น ผู้อำนวยการเขตจตุจักร กทม. เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (13 พ.ค. 45) เขตฯ ได้เปิดรับสมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เป็นวันแรก โดยรับสมัครรวม 2 เขตเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 (ฝั่งตะวันตกของ ถ.พหลโยธิน) และเขตเลือกตั้งที่ 2 (ฝั่งตะวันออกของ ถ.พหลโยธิน) ปรากฏว่าได้มีผู้สมัครจากกลุ่มและพรรคการเมืองต่างๆ มาแสดงความจำนงเป็นผู้สมัคร และได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนลงเวลา ตั้งแต่ก่อนเวลา 07.00-08.00 น. รวมจำนวน 5 คน คือ เขตเลือกตั้งที่ 1 จำนวน 3 คน และเขตเลือกตั้งที่ 2 จำนวน 2 คน และผู้สมัครได้ทำความตกลงกันจับสลากเพื่อจัดลำดับการยื่นใบสมัคร ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 พ.อ.พิบูลย์ศักดิ์ นาคีรักษ์ จากพรรคชาติไทย จับได้ลำดับที่ 1 นายธีรวัชร์ อุดมสิน จากกลุ่มมดงาน จับได้ลำดับที่ 2 นายวรรโณ ขอประเสริฐ จากพรรคประชาธิปัตย์ จับได้ลำดับที่ 3 สำหรับเขตเลือกตั้งที่ 2 นายอนันตชาติ บัวสุวรรณ์ จากพรรคชาติพัฒนา จับได้ลำดับที่ 1 และ น.ส.วิลาวัลย์ ธรรมชาติ จากพรรคประชาธิปัตย์ จับได้ลำดับที่ 2
ต่อมาหลังเวลา 08.00 น. ได้มีผู้สมัครเพิ่มเติมอีก ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายวิสูตร แป้นประหยัด ผู้สมัครอิสระ สมัครลำดับที่ 4 และนายประพนธ์ เนตรรังษี จากพรรคไทยรักไทย สมัครลำดับที่ 5 สำหรับเขตเลือกตั้งที่ 2 น.ส.กัลยารัตน์ เผือกเจียม ผู้สมัครอิสระ สมัครลำดับที่ 3 นางวรรณา สีแสด ผู้สมัครอิสระ สมัครลำดับที่ 4 และนายอภิชาติ หาลำเจียก จากพรรคไทยรักไทย สมัครลำดับที่ 5 รวมผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจตุจักร ในวันที่ 13 พ.ค. 45 เขตเลือกตั้งที่ 1 จำนวน 5 คน เขตเลือกตั้งที่ 2 จำนวน 5 คน
เขตพระนคร นายกิตตินันท์ ขาวสุทธิ์ ผู้อำนวยการเขตพระนคร กทม. เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (13 พ.ค. 45) เป็นวันแรกของการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต สำหรับการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) มีผู้สมัครฯ จากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยรักไทย และผู้สมัครไม่สังกัดพรรค มายื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง ก่อนเวลา 08.00 น. โดยนายพินิจ ทวีสุข สังกัดพรรคไทยรักไทย จับสลากได้หมายเลข 1 ได้ยื่นใบสมัครเป็นรายแรก รายที่ 2 ได้แก่ นายแก้ว แห้วสันตติ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และรายที่ 3 ได้แก่ นายบุญลือ ฤกษ์ดี ผู้สมัครไม่สังกัดพรรค
ผู้อำนวยการเขตพระนคร กล่าวต่อว่า ส่วนการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) นั้น ผู้สมัครหมายเลข 1-7 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้แก่ ผู้สมัครหมายเลข 1 นายอนันต์ชัย เตชะพิทักษ์ศาสน์ หมายเลข 2 นายสุติพงศ์ ธนโกเศศ หมายเลข 3 นางจรรยา ใจจุ้ย หมายเลข 4 นายพิชิตชัย แซ่จึง หมายเลข 5 นายทวีพร อนุตรพงษ์สกุล หมายเลข 6 นายวิรัช หยกเล็ก หมายเลข 7 นายพสธร ศิริเบญจวรรณ และหมายเลข 8-14 สังกัดพรรคไทยรักไทย ได้แก่ หมายเลข 8 นายสุขพัฒน์เกษม จงพิพัฒน์ยิ่ง หมายเลข 9 นางรวี เรืองกิจไพศาล หมายเลข 10 นายณัฐวัฒน์ เกียรติศักดิ์ หมายเลข 11 นายนรฤทธิ์ อนะมาน หมายเลข 12 นายสุนทร สังขกุญชร หมายเลข 13 นายสุรินทร์ รอซซากี และหมายเลข 14 นายมนัสชัย เที่ยงธรรม
สำหรับการกำหนดเลขหมายประจำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต นั้น จะต้องตรวจสอบหลักฐานคุณสมบัติผู้สมัครภายใน 7 วัน นับแต่วันปิดรับการรับสมัคร แล้วจึงประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
เขตบางรัก นายวรพจน์ อินทุลักษณ์ ผู้อำนวยการเขตบางรัก กทม. เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (13 พ.ค. 45) ซึ่งเป็นวันแรกของการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต ปรากฏว่ามีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) จำนวน 3 พรรค และ 1 กลุ่มอิสระ ได้แก่ พรรคประชากรไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยรักไทย และกลุ่มมดงาน สำหรับการรับสมัครฯ สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้ง จำนวน 2 พรรค คือ พรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์
ผู้อำนวยการเขตบางรัก กล่าวต่อไปว่า ในการรับสมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต เขตบางรัก นั้น จะต้องมีการตรวจสอบหลักฐานการสมัคร และคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยจะประกาศหมายเลขผู้สมัครอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 พ.ค. 45
เขตพญาไท นายวีระศักดิ์ ส่งเสริมสกุล ผู้อำนวยการเขตพญาไท กทม. เปิดเผยว่า วันแรกของการรับสมัครฯ ส.ก. และ ส.ข.เขตพญาไท ผู้สมัครให้ความสนใจจำนวนมาก และมีประชาชนมาให้กำลังใจผู้สมัครอย่างคับคั่ง โดยก่อนเวลา 08.00 น. มีผู้มายื่นใบสมัครฯ ส.ก. 4 ราย ยื่นใบสมัคร ส.ข. 28 ราย ซึ่งถือว่าผู้สมัครฯ มาถึงสถานที่รับสมัครฯ พร้อมกัน ผู้สมัครทั้งหมดจึงได้ทำการจับสลาก 2 ครั้ง เพื่อให้ได้ลำดับที่การรับสมัคร ปรากฏว่าผู้สมัคร ส.ก. หมายเลข 1 ได้แก่ นายอนุสรณ์ ศิวะกุล กลุ่มประชากรกรุงเทพ หมายเลข 2 นางวัจนา สุทัศน์ ณ อยุธยา กลุ่มมดงาน หมายเลข 3 นายพีรพล กนกวลัย พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 4 นายกวี ณ ลำปาง พรรคไทยรักไทย
สำหรับผู้สมัคร ส.ข. หมายเลข 1-7 กลุ่มมดงาน ได้แก่ นางสมบัติ จันทโชติ นางองอาจ อมรกูล พ.ต.ต.ถาวร สอนธรรม นายนัคเดช ทรงวรวิทย์ นางสุวรรณา นาอุดม นายสวัสดิ์ เจริญวรชัย นายมนู ฮับหลี หมายเลข 8-14 พรรคประชาธิปัตย์ นายนิเวศน์ เอกเลิศล้ำตระกูล นายมานะ อภินันท์รัตนกุล นายทวีรัชฎ์ รัชไชยบุญ นางพิมพา แก้วมณี นายพิชัย ฉิมขันธ์ นายวศิน วนะภูมิ นายทวิช สมหวัง หมายเลข 15-21 กลุ่มประชากรกรุงเทพ ได้แก่ นางวนิดา สุขศรี น.ส.นันทลี ศิวะกุล นางจริยา ธัญญานิธิวัฒน์ ว่าที่ร้อยตรีโยธิน ทองชาวนา นายสุวิวัฒน์ มูลพันธ์ น.ส.เครือวรรณ วรรณพาหุล น.ส.สดับพิณ แตรณรงค์ชัย หมายเลข 22-28 พรรคไทยรักไทย ได้แก่ นายทรงศักดิ์ ทัพพันธุ์ นายอดิศร รักษาวงค์ นางศรีสุรางค์ ลิ้ม นางสุรีย์ พรประดิษฐ์ นางนราพรรณ เด่นนะหลี นางกนกทัพ รุ่งจิรดากานต์ นายอรรณพ วัฒนสารวิชช์
ทั้งนี้ผู้อำนวยการเขตจะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานคุณสมบัติของผู้สมัครให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันปิดการรับสมัคร และจะประกาศรับรองผู้สมัครและหมายเลขประจำตัวผู้สมัครอย่างเป็นทางการต่อไป “สำหรับการเลือกตั้ง ส.ก. ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 16 มิ.ย. 45 เวลา 08.00-15.00 น. จึงขอให้ข้าราชการและลูกจ้างของเขตทุกคน รวมทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด และขอให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่เขตพญาไทที่มีสิทธิเลือกตั้งเตรียมตัวเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ ในวันและเวลาดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน”
ผู้อำนวยการเขตพญาไท กล่าวอีกว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับชาวกรุงเทพ-มหานครมากที่สุด จึงขอให้ผู้เลือกตั้งให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งและไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 16 มิ.ย. 45 ให้มากที่สุด โดยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือ เป็นบุคคลสัญชาติไทย มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ หรือเกิดก่อนวันที่ 3 ม.ค. 27 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 90 วัน ดังนั้นในช่วงนี้หากไม่จำเป็นอย่าย้ายทะเบียนบ้าน เนื่องจากจะทำให้หมดสิทธิการเลือกตั้ง--จบ--
-นห-