พิธีเปิด หอศิลป์ มูลนิธิ–ของ ช่วง มูลพินิจ วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2545 เวลา 16.00 น.

กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--สยาม พีอาร์ คอนซัลแตนท์ ช่วง มูลพินิจ ศิลปินผู้มีฝีมือโดดเด่นทั้งจิตรกรรมลายเส้นอันอ่อนหวานอลังการและประติมากรรมอันไพจิตร ขอเชิญร่วมงานเปิด “หอศิลป์ มูลพินิจ” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวในบริเวณบ้าน ซึ่งเก็บรวบรวมผลงานของเขาไว้แสดงเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาและจะเปิดให้เข้าชมโดยไม่คิดมูลค่าใด ๆ ทั้งสิ้น โดยพิธีเปิด ดังกล่าวได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติ อาจินต์ ปัญจพรรค์ เป็นประธานในพิธี ณ บ้านเลขที่ 79/629-630 ซอย 8/1 หมู่บ้านธารารมณ์ ถนนรามคำแหง 150 (สุขาภิบาล 3) และผู้ที่พลาดโอกาสสามารถเข้าชมได้จนถึงวันที่ 30 มีนาคม ศกนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.ผู้สนใจเข้าชมผลงานสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2372-0961 ช่วง มูลพินิจ เกิด 7 ธันวาคม 2483 สมุทรสงคราม ที่อยู่ 79/629-630 หมู่บ้านธารารมณ์ ซอย 8/1 ถนนรามคำแหง 150 แขวง / เขตสะพานสูง กท. 10400 โทรศัพท์ 0-2372-0961 โทรสาร 0-2728-0758 การศึกษา พ.ศ. 2503 จบโรงเรียนศิลปศึกษา (เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร) พ.ศ. 2505 จบอนุปริญญาคณะจิตรกรรม และประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร อาชีพ ศิลปินอิสระ ประวัติการแสดงงาน นิทรรศการเดี่ยว พ.ศ. 2513 มินิ-เมนิ สยามสแควร์ พ.ศ. 2519 สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน พ.ศ. 2523 สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน พ.ศ. 2530 หอศิลปแห่งชาติถนนเจ้าฟ้า พ.ศ. 2530 โรงแรมอิมพีเรียล พ.ศ. 2543 ห้องแสดงศิลปกรรมสยาม จังหวัดภูเก็ต นิทรรศการกลุ่ม พ.ศ. 2524-2543 ในประเทศ และต่างประเทศ (จีน, ฝรั่งเศส,เยอรมัน, อเมริกา) ผลงานศิลปะทางพุทธศาสนา พ.ศ. 2524 ออกแบบพระประธานพระธรรมกาย วักพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2525 ออกแบบและปั้นพระพุทธอภัยมงคลสมังคีที่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชทรงสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อนำไปพระราชทานแก่ทุกจังหวัดในวโรกาสเฉลิมฉลองรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 ออกแบบและควบคุมภาพปั้นนูนต่ำ ขนาด 12x27 เมตร 2 ภาพ (ภาพปฐมเทศนาและภาพมารผจญ) ประดับพระมหาเจดีย์วัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 กรุงเทพฯ พ.ศ. 2528 ออกแบบและควบคุมภาพปั้นนูนต่ำปฏิปทาของท่านพระอาจารย์ วัน อุตตโม โดยรอบพิพิธภัณฑ์ของพระอาจารย์ วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2532 ออกแบบอุโบสถวัดเขาดินวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร พ.ศ. 2534 ออกแบบพระพุทธประธานที่มีรูปลักษณ์เหมือนคนจริง ให้บริษัทบุญรอดบริเวอรี่ พ.ศ. 2535 ออกแบบเจดีย์ที่ระลึก หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย พ.ศ. 2536 ออกแบบพระพุทธวิสุทธิธรรมกายนิมิตร วัดราชโอรส พ.ศ. 2539 ออกแบบจิตรกรรมฝาผนังภายใน โดมมหาวิหาร พระไตรปิฎกหินอ่อน พุทธมณฑล พ.ศ. 2541 ออกแบบและควบคุม การปั้นหล่อพระนาคปรกจอมปลวก เศียรเดียว ขนาด 2 เท่าของคนจริงผลงานอื่นๆ พ.ศ. 2534 ออกแบบภาพปูนปั้นนูนต่ำ “นักรบที่แท้จริง” ขนาด 6x2 เมตร ติดตั้งที่หน้าอาคารสำนักงานใหญ่ หนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2538 ออกแบบและควบคุมการปั้น “สิงโตคู่” ปฏิมากรรมโลหะสำริด ติดตั้งที่สำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทย (ขนาด 3.50 เมตร กว้าง 2.50 เมตร น้ำหนัก 5 ตัน) หลังจากจบชั้นมัธยมที่บ้านเกิดจังหวัดสมุทรสงคราม ช่วง มูลพินิจ ได้เข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนศิลปศึกษา (ช่างศิลป์) 2 ปี หลังจากนั้น ก็เข้ามาเป็นนักศึกษา คณะจิตรกรรมปละปฏิมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ขณะเรียนก็ทำงานรับจ้างทำฉากภาพยนต์ เขียนภาพฝาผนังและงานศิลป์ต่างๆ เพื่อนำเงินมาใช้จ่าย จนจบอนุปริญญา จิตรกรรมปฏิมากรรม เขาเริ่มต้นทำงานที่ศูนย์ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตำแหน่งช่างออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่นี่ได้รับการชักชวนจาก สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ให้มาเขียนภาพลายเส้นประกอบในหนังสยามสมัย ซึ่งทำให้เขาเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นขึ้นมา และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ด้วยผลงานเขียนลายเส้นฟรีแฮนด์ที่มีแบบฉบับเฉพาะตัว และต่อมาได้เขียนภาพปกและภาพประดับในหนังสือและนิตยสารต่างๆ เช่น ช่อฟ้า ชาวกรุง เฟื่องนคร สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ช่วง มูลพินิจ ทำงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ 9 ปี ก็ลาออกจากราชการมาทำงานที่บริษัทโฆษณาอยู่ 3 ปี หลังจากนั้นก็ออกมาเป็นศิลปินอิสระ ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีอีกประเภทหนึ่งของช่วงคือ งานออกแบบตัวหนังสือชื่อเรื่อง และโปสเตอร์ภาพยนต์ไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องในแนววรรณคดี หรือเรื่องพื้นบ้านไทยสมัยเก่า เช่น แผลเก่า เลือดสุพรรณ เพื่อน-แพง ไกรทอง กากี พระรถ-เมรี โดยเฉพาะงานโปสเตอร์หนังเรื่องเพื่อน-แพง ได้รับเลือกเป็นโปสเตอร์ที่งามที่สุดในโลก ในการส่งเข้าประกวดที่สถาบันโรงภาพยนต์แห่งชาติ กรุงลอนดอน เมื่อปี พ.ศ.2526 งานของช่วงในระยะแรกเริ่ม เป็นภาพวาดลายเส้นที่ประยุกต์ความอ่อนช้อยของลายไทย เข้ากับรูปทรงแบบเหมือนจริงได้อย่างกลมกลืน ต่อมาจึงได้พัฒนามาใช้เทคนิคสีน้ำและสีน้ำมัน แต่ยังคงเอกลักษณ์เรื่องลายเส้นอ่อนช้อยผสมผสานเข้ากับศิลปะสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ความงามของงานศิลปะที่ช่วงได้เนรมิตขึ้น แสดงถึงความสนใจในวิถีของธรรมชาติและวิถีของพุทธศาสนา จากพื้นฐานชาวเกษตรกรของเขาแต่ดั้งเดิม งานส่วนใหญ่ของเขา แสดงเรื่องราวของดอกไม้ แมลง สัตว์ มนุษย์ ทั้งในแง่อีโรติค จนกระทั่งถึงนัยการมองเห็นในวัฏสงสารของชีวิต ช่วง มูลพินิจได้ผนึกเรื่องราวทางอุดมคติกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกันอย่างงดงาม แนบเนียน และลงตัว บางครั้งเขาก็นำเรื่องราวจากศาสนา และวรรณคดีมาสรางจินตนาการใหม่ ทำให้ง่รศิลปะของเขมีรูปแบบหลากหลายจนอยากที่จะให้คำจำกัดความว่างานของเขาจัดอยู่ในประเภทใด บางคนบอกว่างานของเขาเป็นแนวไอเดียลลิสติค ผสมผสานกับแฟนตาซี งานลายเส้นขาวดำ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของช่วง มูลพินิจ นั้น บางคนก็บอกว่าคล้ายกับงานลายเส้นของ ออเบรย์ เบียตสลีย์ ศิลปินสมัยวิคตอเรียน วงษ์ วงศืสวรรค์ นักเขียนผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งของเมืองไทย ให้ฉายาเขาว่า จิตรกรผู้มองเห็นมดยิ้มสวย--จบ-- -อน-

ข่าวอาจินต์ ปัญจพรรค์+ศิลปินแห่งชาติวันนี้

TK Reading Club ตอน เหมืองแร่

TK Reading Club ถือเป็นหนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่รวบรวมสาวกนักอ่านตัวยง ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ จากการสร้างมิตรภาพของกลุ่มคนนักอ่านผ่านมุมมองที่แตกต่าง ชวนนักอ่านมาร่วมเจาะลึก แลกเปลี่ยนแนวคิดกับหนังสือที่ได้รับรางวัล ชวนนักอ่านสัมผัสเสน่ห์ของเรื่องราวชีวิตชาวเหมืองแร่ ชนชั้นแรงงานหาเช้ากินค่ำที่ผูกพันกันตั้งแต่หัวหน้างานจนถึงแรงงานรายวัน สัมผัสคุณค่าของชีวิตและความเป็นมนุษย์แบบปักษ์ใต้ 50 ปีก่อน จนกลายเป็นเรื่องสั้นอันทรงคุณค่า "เหมืองแร่" ผลงานของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ พร้อมแขกรับเชิญสุดพิเศษ วีระยศ

มูลนิธิอมตะ จัดพิธีมอบรางวัล “นักเขียนอมตะ”ครั้งที่ ๗ ประจำพุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อเป็นเกียรติแด่ อาจินต์ ปัญจพรรค์

คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนร่วม พิธีมอบรางวัล “นักเขียนอมตะ”ครั้งที่ ๗ ประจำพุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อเป็นเกียรติแด่ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ใน วันอังคารที่ ๒๘ เมษายน...

คำประกาศเกียรติคุณ นายอาจินต์ ปัญจพรรค์ ผู้ได้รับรางวัล “นักเขียนอมตะ” ประจำพุทธศักราช ๒๕๕๗

“อาจินต์ ปัญจพรรค์” คือนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่รังสรรค์ผลงานจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง กล่าวได้ว่าเป็นผู้แปรเปลี่ยนความล้มเหลวให้เป็นพลัง “เขียนชีวิตด้วยชีวิต” จุดประกาย ทางปัญญา มีคุณูปการและให้โอกาสแก่นัก...

เปิดเส้นทางวรรณกรรมของอาจินต์ ปัญจพรรค์ สนับสนุนให้คนกรุงเทพฯรักการอ่าน

นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดนิทรรศการบนเส้นทางวรรณกรรมของอาจินต์ ปัญจพรรค์ โดยมี ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ คุณแน่งน้อย ปัญจพรรค์ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ คุณสุเทพ วงศ์คำแหง และนัก...

เรื่องย่อ: เสน่ห์บางกอก

บทประพันธ์โดย : อาจินต์ ปัญจพรรค์ / วิจิตร คุณาวุฒิ บทโทรทัศน์โดย : ระฆังเงิน กำกับการแสดงโดย : พนม นพพร / ชัยวุฒิ เทพวงษ์ ผลิตโดย : นพพรโปรโมชั่น แอนด์ พิคเจอร์ ออกอากาศทุกวัน เวลา 18.45 น. ทางช่อง 7 สี เรื่องย่อ เสน่ห์บางกอก มนต์ขลังแห่งมหานคร ที่ใครต่อใครต่างพากันใฝ่ฝันที่...

ปิดเทอม ชวนน้องดูหนัง...ฟรี @TK park

อุทยานการเรียนรู้ TK park ชวนน้อง ๆ สมาชิก และผู้สนใจมาดูหนัง...ฟรี ในวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม เรื่อง มหา'ลัยเหมืองแร่ ผลงานกำกับของ จิระ มะลิกุล นำเสนอเรื่องราวของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ วัย 22 ปี นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกรี...

แฮปปี้ สนับสนุนภาพยนตร์ “มหา’ลัยเหมืองแร่”

แฮปปี้จากดีแทค สนับสนุนภาพยนตร์ไทย “มหา’ลัยเหมืองแร่” โดยจิระ มะลิกุล จากบทประพันธ์ของอาจินต์ ปัญจพรรค์ พร้อมออกบัตรเติมเงินมหา’ลัยเหมืองแร่ และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ลูกค้าแฮปปี้ได้ร่วมชมภาพยนตร์คุณภาพโดยคนไทย นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร...

รายการ “มุมใหม่ไทยแลนด์”ออกอากาศสด วันศุกร์ที่ 6 พ.ค. 2548 เวลา 22.05-22.35 น. ช่อง 11

แด่...ผู้พลาดหวังจากเอนทรานซ์ “มุมใหม่ไทยแลนด์”ศุกร์นี้ เปิดเบื้องหลัง “มหาลัยเหมืองแร่” ...กำลังใจแห่งชีวิต รายการ มุมใหม่ไทยแลนด์ ศุกร์นี้ แด่ผู้คนส่วนใหญ่ที่พลาดหวังจากเอนทราซ์ ร่วมเปิดบันทึกเบื้องหลัง “มหาลัย...

พิธีเปิด หอศิลป์ มูลนิธิ–ของ ช่วง มูลพินิจ วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2545 เวลา 16.00 น.

กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--สยาม พีอาร์ คอนซัลแตนท์ ช่วง มูลพินิจ ศิลปินผู้มีฝีมือโดดเด่นทั้งจิตรกรรมลายเส้นอันอ่อนหวานอลังการและประติมากรรมอันไพจิตร ขอเชิญร่วมงานเปิด “หอศิลป์ มูลพินิจ” พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวในบริเวณบ้าน ซึ่ง...

ศาลาเฉลิมกรุงจัดรายการ "คอนเสิร์ตหน้าม่าน ครูแจ๋ว 77"

กรุงเทพ--11 ธ.ค.--เฉลิมกรุงมณีทัศน์ ศาลาเฉลิมกรุง ร่วมกับ 3 ศิลปินแห่งชาติ สุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร), ชาลี อินทรวิจิตร และอาจินต์ ปัญจพรรค์ จัดรายการเพลงผลงานครูแจ๋ว-สง่า อารัมภีร เพื่อระลึกถึง สง่า อารัมภีร-ครูแจ๋ว ในโอกาสครบรอบ 77 ปี ของครูแจ๋ว ...