เรื่องย่อรายการสำรวจโลกเดือนมี.ค.ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

กรุงเทพฯ--20 มี.ค.--เนกซ์ สเตป "NG Special : Panama Wild" ป่าเขตร้อนแห่งปานามา ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 4 และอังคารที่ 5 มีนาคม 2545ในความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนของชีวิตในป่าเขตร้อน นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากทั่วโลกเดินทางไปยังเกาะ บาโร โคโลราโด้ ใน ปานามา มันเป็นการเดินทางสำรวจเข้าไปยังธรรมชาติของชีวิตเขตร้อนบนโลก เกาะแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1914 เมื่อคลองปานามาถูกขุดจากป่าลึกในคอคอดปานามา หลังจากที่ได้รับการประกาศให้เป็นป่าสงวนในปี 1923 เกาะแห่งนี้ก็ตกอยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันวิจัยเขตร้อน สมิธโซเนี่ยน ในปี 1946 จนถึงทุกวันนี้ ในฐานะป่าสงวนที่เก่าแก่ที่สุดของเขตร้อน เกาะได้ถูกใช้เป็นสถานีวิทยาศาสตร์เพื่อเผยถึงความหลากหลายและสายสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของพืชและสัตว์ที่อยู่ในระบบนิเวศน์อันน่าทึ่งแห่งนี้ เราจะพาคุณผู้ชมเดินทางไปกับนักชีววิทยาบนเกาะ บาโร โคโลราโด้ เพื่อทำความเข้าใจถึงวิธีการทำงานของระบบนิเวศน์ที่สุดแสนพิเศษแห่งนี้ "Mission Wild : Borneo's Orangutans" ความช่วยเหลือเพื่ออุรังอุตัง ออกอากาศวันพุธที่ 6 มีนาคม 2545ผู้เชี่ยวชาญบางคนคำนวณว่า ในอัตราการลดลงของจำนวนลิงอุรังอุตัง ณ ปัจจุบันนี้ สายพันธุ์นี้จะสูญพันธุ์ไปภายใน 20 ปี แต่ก็อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่า นิต้า โบสตานี่ สามารถช่วยได้ ด้วยเงินสนับสนุนจากสมาคมโลกเพื่อการพิทักษ์สัตว์ นิต้าและทีมช่วยเหลืออุรังอุตังของเธอใน วานาริเสท บอร์เนียว ได้ให้การช่วยเหลืออุรังอุตังที่บาดเจ็บและป่วย โดยมีเป้าหมายในการปล่อยพวกที่แข็งแรงแล้วกลับสู่ป่า และทีมก็ต้องพบความยุ่งเหยิงกว่าที่เคย ป่าที่ลดน้อยลงทุกที ทำให้ที่อยู่ของอุรังอุตังลดลง ซึ่งสร้างความลำบากให้กับลิงเหล่านี้ ซึ่งเรามีดีเอ็นเอเหมือนกับพวกมันมากถึง 98% เมื่อนิต้าและทีมงานมาพบคู่อุรังอุตังที่ถูกจับและกำลังจะขาดอาหารท่ามกลางป่าเสื่อมโทรม ความช่วยเหลืออยู่อีกไม่ไกล สำหรับนิต้า มันก็เป็นแค่งานในอีกวันหนึ่งของเธอเท่านั้น "The Private Life of Plants 5" โลกอันเร้นลับของพืช 5 ออกอากาศ วันพฤหัสบดีที่ 7 และศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2545เดวิด แอทเทนโบโร จะมาเปิดเผยความลับของพืชในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ภาพที่แสดงให้เห็นว่า พืชก็มีอันตรายเช่นกัน แต่ละตอนจะกล่าวถึงปัญหาแต่ละอย่างของชีวิตพืช นับตั้งแต่การเจริญเติบโต การหาอาหาร การขยายพันธุ์ และวิธีการต่างๆ ที่พืชได้วิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อใช้แก้ไขปัญหาเหล่านั้น ถ่ายทำจากมุมมองของพืช โดยใช้คอมพิวเตอร์ แอนิเมชั่น, เทคโนโลยีใยแก้วนำแสง และภาพเหลื่อมเวลา สารคดีชุดที่ชนะเลิศรางวัลไวลด์สกรีน อวอร์ด, เอ็มมี่ อวอร์ด และอันดับสองประเภทสารคดีทางโทรทัศน์ที่ดีที่สุด รวมถึง ถ่ายภาพยอดเยี่ยม และเนื้อความสารคดีเชิงวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม ที่เทศกาล อินเตอร์เนชั่นแนล ไวลด์ไลฟ์ "NG Special : Foxes of The Kalahari" นักล่าแห่งคาลาฮารี ออกอากาศ วันจันทร์ที่ 11 และอังคารที่ 12 มีนาคม 2545ขณะที่ทะเลทรายคาลาฮารีแห้งลงหลังจากฝนตก และ แอนทีโล้ป เคลื่อนย้ายออกไปหาความเขียวขจี ณ ที่แห่งใหม่ สุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวยังคงอยู่ในทะเลทรายแห่งนี้ มันเป็นสมาชิกตระกูลสุนัขชนิดเดียวที่กินแมลง มันจะพยายามปกป้องทรัพยากร รอคอยจนกว่าความแห้งแล้งจะผ่านพ้นไป และฝนตกลงมาอีกครั้ง เรื่องราวนี้ติดตามชะตากรรมของสุนัขจิ้งจอกทะเลทรายฝูงหนึ่ง ในยามที่มันต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อดำรงชีวิตในดินแดนที่แสนโหดร้าย "Mission Wild : Australia's Marsupials" การเผชิญอันตรายของนัมแบ็ท ออกอากาศวันพุธที่ 13 มีนาคม 2545มันเป็นวันที่ยิ่งใหญ่สำหรับ เจ้าพีช - ตัวนัมแบ็ท เมื่อ โทนี่ เฟรนด์ และเพื่อนร่วมงานจากโครงการอนุรักษ์ เวสเทิร์นชิลด์ ติดปลอกคอวิทยุให้ใหม่ เจ้านัมแบ็ทขนปุยตัวน้อย หรือที่เรียกว่า ตัวกินมดลาย อาจจะไม่ชอบความสนใจนี้มากนัก แต่ท้ายที่สุด ความอยู่รอดของมันก็อาจจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับมัน นัมแบ็ทใกล้จะสูญพันธุ์ในปี 1970 และโทนี่ก็จำเป็นต้องหาสาเหตุว่าทำไม ? ฆาตกรก็คือ สุนัขจิ้งจอกแดงพันธุ์ยูโรเปี้ยน สายพันธุ์ที่ไม่ใช่สัตว์ท้องถิ่นของออสเตรเลียชนิดนี้ ดูจะชื่นชอบรสชาติของตัวนัมแบ็ท และการกินของมันก็ทำให้ปริมาณนัมแบ็ทลดน้อยลงไปมาก สัตว์กระเป๋าหน้าท้องชนิดอื่นๆ เช่น วัลลาบี้ และแบนดิคู้ท ก็ต้องพบเจออันตรายมากมายในชีวิตประจำวัน นับตั้งแต่ สุนัขจิ้งจอก แมวบ้าน จนถึงรถยนต์ ต้องขอบคุณบุคคลเช่น โทนี่ เฟรนด์ ที่อุทิศตัวเพื่อทะนุถนอมสมดุลอันเปราะบางในออสเตรเลียเอาไว้ พีชและสัตว์ประเป๋าหน้าท้องอื่นๆ ก็อาจมีโอกาสในการอยู่รอดต่อไป "The Private Life of Plants 6" โลกอันเร้นลับของพืช 6 ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 14 และศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2545เดวิด แอทเทนโบโร จะมาเปิดเผยความลับของพืชในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ภาพที่แสดงให้เห็นว่า พืชก็มีอันตรายเช่นกัน แต่ละตอนจะกล่าวถึงปัญหาแต่ละอย่างของชีวิตพืช นับตั้งแต่การเจริญเติบโต การหาอาหาร การขยายพันธุ์ และวิธีการต่างๆ ที่พืชได้วิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อใช้แก้ไขปัญหาเหล่านั้น ถ่ายทำจากมุมมองของพืช โดยใช้คอมพิวเตอร์ แอนิเมชั่น, เทคโนโลยีใยแก้วนำแสง และภาพเหลื่อมเวลา สารคดีชุดที่ชนะเลิศรางวัลไวลด์สกรีน อวอร์ด, เอ็มมี่ อวอร์ด และอันดับสองประเภทสารคดีทางโทรทัศน์ที่ดีที่สุด รวมถึง ถ่ายภาพยอดเยี่ยม และเนื้อความสารคดีเชิงวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม ที่เทศกาล อินเตอร์เนชั่นแนล ไวลด์ไลฟ์ "NG Special : Great Lakes, Fragile Seas" ที่ราบลุ่มแห่งวัฒนธรรม ออกอากาศวันจันทร์ที่ 18 และอังคารที่ 19 มีนาคม 2545ที่ราบลุ่ม เกรท เลคส์ คือแหล่งหลอมรวมของประเพณีและประวัติศาสตร์ น่านน้ำแห่งเดียวกันนี้ได้หล่อเลี้ยงสัตว์ป่าของพื้นที่ และวัฒนธรรมของคนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ จากกลุ่มที่หลากหลาย คนเหล่านี้มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ ความอยู่รอดของอารยธรรมของพวกเขาซึ่งเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ทะเลสาบ "Mission Wild : Thailand's Elephants" อรุณรุ่งแห่งช้างไทย ออกอากาศวันพุธที่ 20 มีนาคม 2545เมื่อวันช้างแห่งชาติครั้งแรกซึ่งมีขึ้นในเดือนมีนาคม ปี 1999 ช้างเอเซีย 12 เชือกได้ท่องเข้าไปในป่าเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่เส้นทางสู่อิสรภาพของมันช่างแสนลำบากยากเข็ญ การกำจัดการทำไม้เถื่อนทำให้ช้างหลายตัวที่ถูกฝึกเพื่อการค้าไม้ซุงในประเทศไทย ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่สามารถดูแลตัวเองได้ในป่า เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ศูนย์อนุรักษ์ช้างที่จังหวัดลำปาง ประเทศไทย จึงได้ช่วยดูแลสัตว์โดยมีเป้าหมายในการปล่อยพวกมันกลับเข้าไปในเขตคุ้มครอง แล้วคอยดูแลความเป็นอยู่โดยใช้ปลอกคอวิทยุ ประโยชน์จากความพยายามของศูนย์ก้าวไปไกลกว่าช้างที่พวกเขาเคยช่วยมา ผ่านภารกิจที่หนักหนา พวกเขาทำให้สัตว์เหล่านี้มีชีวิตใหม่ และทำให้ประชากรช้างในป่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย ด้วยงานของพวกเขาแล้ว มันคืออรุณรุ่งของยุคใหม่สำหรับช้างเอเซียในประเทศไทย "Life in The Freezer 1 - 2" ชีวิตภายใต้จุดเยือกแข็ง 1 - 2 ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 21 และศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2545ถ่ายทำด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ตลอดระยะเวลากว่า 14 เดือน ที่อุณหภูมิติดลบ 60 องศาเซลเซียส พายุที่รุนแรง และคลื่นยักษ์ซึ่งโถมกระหน่ำ ธรรมชาติวิทยาของ แอนตาร์กติก้า มาจากดินแดนที่งดงามที่สุด แต่ก็โหดร้ายที่สุดบนโลกด้วยเช่นกัน เดวิด เเอทเทนโบโร ได้เข้าไปพบกับ เพนกวินนับล้านๆ ตัว วาฬเป็นจำนวนพันๆ ตัว และประชากรแมวน้ำกว่าครึ่งโลก รวมถึงนกทะเลนานาชนิด สารคดีที่ชนะเลิศรางวัล เอ็มมี่ อวอร์ดนานาชาติ, เคเบิ้ลเอซ, ไวลด์สกรีน จูรี่ ไพรซ์, โกลเด้น เกตส์, สองรางวัล มิสโซล่า อวอร์ด และรางวัลแบฟต้า "NG Special : Wilds of Madagascar" หลากชีวิตแห่งมาดากัสการ์ ออกอากาศวันจันทร์ที่ 25 และอังคารที่ 26 มีนาคม 2545สัตว์ป่าที่หายาก และน่ามหัศจรรย์ ทำให้มาดากัสการ์ ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก เป็นสุดยอดปรารถนาที่นักอนุรักษ์อยากจะปกป้องและรักษาแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติอันเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วแห่งนี้ ที่ประกอบไปด้วยสัตว์ที่มีความแปลก เช่น ลีเมอร์ พังพอน และจระเข้ "Mission Wild : Africa's Wild Dogs" โครงการหมาไนคืนถิ่น ออกอากาศวันพุธที่ 27 มีนาคม 2545หมาไนแห่งแอฟริกามีความแตกต่างในฐานะสัตว์กินเนื้อที่ใกล้จะสูญพันธุ์มากที่สุด แม้ว่าครั้งหนึ่งจะเคยมีอยู่ในประเทศแอฟริกา 33 แห่ง ทุกวันนี้ หมาไนกลับเหลืออยู่แค่ใน 15 ประเทศ และคาดว่าเหลืออยู่ไม่ถึง 4 พันตัวในป่า ครั้งหนึ่งมันเคยถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายในสายตาของนักบุกเบิกชาวยุโรป จึงได้ถูกสังหารไปมาก แม้ถึงวันนี้ พวกมันก็ยังไม่ได้รับการดูแลโดยนักอนุรักษ์ มีบุคคลเพียงไม่กี่คนและไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เกรก รัสมุสเซ่น นักนิเวศน์วิทยา และผู้อำนวยการโครงการหมาไนในซิมบับเว และ ดร. มาคุส ฮอฟไมเยอร์ นักนิเวศน์วิทยาภาคสนาม และสัตวแพทย์สำหรับเขตป่าสงวน มาดิกเว ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกาใต้ มาคุสนำทีมในการนำหมาไนคืนถิ่น และบัดนี้ทำงานร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครที่ช่วยตรวจสอบตำแหน่งและพฤติกรรมของพวกหมาไน ผ่านการอุทิศตัวและการทำงานหนักของบุคคลเช่น มาคุส หมาไนแห่งแอฟริกาอาจจะมีวันที่เฟื่องฟูอีกครั้ง "Life in The Freezer 3 - 4" ชีวิตภายใต้จุดเยือกแข็ง 3 - 4 ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 28 และศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2545ถ่ายทำด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ตลอดระยะเวลากว่า 14 เดือน ที่อุณหภูมิติดลบ 60 องศาเซลเซียส พายุที่รุนแรง และคลื่นยักษ์ซึ่งโถมกระหน่ำ ธรรมชาติวิทยาของ แอนตาร์กติก้า มาจากดินแดนที่งดงามที่สุด แต่ก็โหดร้ายที่สุดบนโลกด้วยเช่นกัน เดวิด เเอทเทนโบโร ได้เข้าไปพบกับ เพนกวินนับล้านๆ ตัว วาฬเป็นจำนวนพันๆ ตัว และประชากรแมวน้ำกว่าครึ่งโลก รวมถึงนกทะเลนานาชนิด สารคดีที่ชนะเลิศรางวัล เอ็มมี่ อวอร์ดนานาชาติ, เคเบิ้ลเอซ, ไวลด์สกรีน จูรี่ ไพรซ์, โกลเด้น เกตส์, สองรางวัล มิสโซล่า อวอร์ด และรางวัลแบฟต้า ข้อมูลเพิ่มเติม คุณรัฐพล โทร. 0 - 2735 - 1000--จบ-- -สส-

ข่าววิทยาศาสตร์+การเดินทางวันนี้

สคทช. จับมือ สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีรับรองพื้นที่ปลอดการตัดไม้ รองรับกฎ EUDR ดันแพลตฟอร์มตรวจสินค้าโภคภัณฑ์ก่อนส่งออก EU

(วันที่ 17 เมษายน 2568) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคารวิจัยโยธี ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือสำหรับตรวจสอบ และรับรองพื้นที่ตามระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัด

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่น... สอวช. ผนึก มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ — สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบาย...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรี คว้า 7 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี มทร.ธัญบุรี เผยว่า ผลงานจาก มทร.ธัญบุรี ผ่านการคัดเ...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...