รวมพลังหาร 2 เปิดตัวตู้เย็นประหยัดพลังงาน 4 รุ่น ประหยัดไฟฟ้าได้มากกว่าเดิม15-35% พร้อมประกาศใช้ได้ปี47

กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--สพช. โครงการรวมพลังหาร 2 จัดทำต้นแบบตู้เย็นประสิทธิภาพพลังงาน 4 รุ่น พัฒนาแล้วสามารถประหยัดไฟฟ้าได้มากกว่าเบอร์ 5 ถึง 15-35% เริ่มประกาศใช้เป็นมาตรฐานในปี 47 คาดประหยัดเกินคุ้ม ดร.พงษ์พิสิฏฐ์ วิเศษกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) กล่าวว่า สพช. ได้ร่วมมือกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ และกลุ่มอุตสาหกรรมตู้เย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำการศึกษาและจัดทำต้นแบบตู้เย็นประสิทธิภาพสูง เพื่อเป็นต้นแบบให้บริษัทผู้ผลิตในประเทศได้ใช้เป็นมาตรฐานในการผลิตและจำหน่ายต่อไป โดยมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานไฟฟ้าขั้นต่ำสำหรับตู้เย็น ได้เสนอให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายนั้นได้เสนอไว้ 2 ระดับ โดยมาตรฐานระดับแรกจะประหยัดกว่าของเดิม 15% ให้มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2547 และมาตรฐานระดับที่สองจะประหยัดขึ้นอีก 15% ให้มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) รับไปดำเนินการกำหนดให้เป็นมาตรฐานสำหรับตู้เย็นที่ผลิตขายภายในประเทศ และตู้เย็นที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วยในส่วนของเทคนิคการพัฒนาตู้เย็นให้ประหยัดพลังงานที่ สพช.ได้ดำเนินการอยู่นั้น ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ภายนอกเลย แต่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบภายในเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน เช่น เพิ่มความยาวของแผงระบายความร้อน (Condenser Tube) การใช้คอมเพรสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การปรับความยาวของท่อลดความดันให้เหมาะสม และเพิ่มความหนาของฉนวนกันความร้อน เป็นต้น โดยขณะนี้ได้จัดทำต้นแบบเสร็จแล้ว พร้อมที่จะให้ผู้ผลิตนำไปผลิตขายในท้องตลาดได้ สำหรับการจัดทำตู้เย็นประสิทธิภาพสูงนี้ ได้เลือกจัดทำตู้เย็นรุ่นและขนาดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในครัวเรือน 2 ประเภท จำนวน 4 รุ่น โดยประเภทแรก เป็น ตู้เย็น 1 ประตูแบบละลายน้ำแข็งกึ่งอัตโนมัติ 2 รุ่น คือ ขนาดความจุ 5 คิวและ 7 คิว ประเภทที่ 2 เป็นตู้เย็นแบบ 2 ประตูแบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ มี 2 รุ่นคือ ขนาดความจุ 10 คิว และ 15 คิว จากการทำการศึกษาตู้เย็นต้นแบบโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า รุ่นประตูเดียว ก่อนการพัฒนาจะกินไฟวันละ 0.70 หน่วย หลังการพัฒนากินไฟวันละ 0.58 หน่วย ประหยัดขึ้น 17% หรือปีละ 109 บาท/ปี ขณะที่จะมีต้นทุนสูงขึ้น 200-500 บาท ซึ่งใช้ภายใน 2 ปีก็จะคุ้มทุน ส่วนในประเภท 2 ประตู ก่อนการพัฒนาจะกินไฟวันละ 1.74 หน่วย หลังการพัฒนากินไฟวันละ 1.13 หน่วย ประหยัดขึ้น 35% หรือปีละ 556 บาท/ปี ขณะที่จะมีต้นทุนสูงขึ้น 500-1,000 บาท ซึ่งใช้ภายใน 2 ปีก็จะคุ้มทุนเช่นกัน นอกจากนี้สถาบันไฟฟ้าฯ ได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต และประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมชี้ให้เห็นว่า มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคในทุกๆ ขั้นของมาตรฐาน กล่าวคือผู้บริโภคจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่าต้นทุนราคาที่เพิ่มขึ้น โดยประมาณ 2 ปีก็จะคุ้มทุน ขณะที่อายุการใช้งานของตู้เย็นประมาณ 15 ปี สำหรับผลกระทบต่อผู้ผลิตนั้น มาตรฐานฯ ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 จะส่งผลต่อผู้ผลิตบ้างไม่มาก ด้านผลประโยชน์โดยรวม ตามกรณีศึกษา ตั้งแต่มาตฐานขั้นที่ 1 มีผลบังคับใช้ในปี 2547 ถึงปี 2554 พบว่าจะสามารถช่วยให้ประเทศประหยัดค่าเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 0.6-1.1 พันล้านบาท ช่วยลดความต้องการไฟฟ้าได้ถึง 80-160 เมกกะวัตต์ และช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 3-6 แสนตัน อนึ่งสำหรับการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานไฟฟ้าขั้นต่ำของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้กำหนดไว้ 6 ประเภท จะมีการทยอยประกาศใช้โดย สมอ. ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ บัลลาส(สำหรับหลอดฟลูออเรสเซ็นต์) หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ และหลอดคอมแพคหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2 โทรศัพท์ 0 26121555 ต่อ 201-5 โทรสาร 0 2612 1368121/1-2 ถ.เพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 www.nepo.go.th-- จบ-- -อน-

ข่าวกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ+สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยวันนี้

บอร์ด ปตท. เคาะแนวทางช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง ยึดมั่นธรรมาภิบาลต่อทุกภาคส่วน

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเทียบเท่า 6,000 ล้านบาท มุ่งช่วยเหลือประชาชน มั่นใจไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่มกราคม เมษายน 2566) และขอความร่วมมือ ปตท

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลั... สนพ. จัดกิจกรรมสัมมนา “สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนPDP 2018” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา — กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัม...

กิจกรรมสัมมนา “การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผน PDP 2018 " ภาคตะวันออก

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัมมนา "การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (Power Development Plan : PDP 2018) ภาคตะวันออก" ซึ่งแผนดังกล่าวได้ผ่านความ...

หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน... นักลงทุนข้ามชาติ ห่วงรัฐไม่เร่งต่อสัญญา SPPกระทบอุตสาหกรรม ฉุด EEC สะดุด — หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 9 สิงหาคม 2561 ระบุว่า ...

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ...

กพช. รับทราบแนวทางการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นอายุ

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีวาระรับทราบในหลักการการบริหารจัดการ...

กกพ. ย้ำหลักการตามนโยบายการกำหนดโครงสร้างค่าฟ้าฟ้าใหม่ ปี 61

"กกพ."ย้ำชัด "ปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่" รอบล่าสุด ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษา เพื่อดูผลกระทบให้รอบด้านอย่างสมดุล พร้อมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนก่อนประกาศใช้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า...