กรุงเทพ--21 พ.ค.--แสนสิริ
ฝ่ายวิจัยแสนสิริ สรุปผลวิจัยแนวโน้มที่อยู่อาศัยช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบความต้องการขยายตัวต่อเนื่อง จากนโยบายกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล พร้อมอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ผลักดันให้เกิดการตัดสินใจซื้ออย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
นางสาววิรานี ปัจจักขภัติ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวิจัย บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มความต้องการที่อยู่อาศัย ดังนี้
สรุปภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยช่วงเดือนตุลาคม 2543 - มีนาคม 2544
สภาวะตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยที่ยอดขายรวมและปริมาณการก่อสร้างยังคงมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น นโยบายตรึงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำสามารถกระตุ้นการตัดสินใจซื้อบ้านได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้และเงินออมสูง ในขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการเองก็มีความเชื่อมั่นต่อภาวะของตลาดเพิ่มขึ้น โดยได้ทยอยเปิดตัวโครงการใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดมากขึ้น
อุปทาน - จำนวนบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์เหลือขายในตลาด
จากการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนมีนาคม 2544 พบว่าจำนวนที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์เหลือขายในตลาดมีจำนวนลดลงจากช่วงเดือนกันยายน 2543 ที่ผ่านมา โดยมีจำนวนบ้านเหลือขายรวมทั้งสิ้น 10,196 หน่วย จาก 131 โครงการที่ได้ทำการสำรวจในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือคิดเป็นจำนวนบ้านเหลือขายเฉลี่ยโครงการละประมาณ 78 หน่วย และบ้านเดี่ยวยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากกว่าที่อยู่อาศัยแบบอื่นๆ โดยมีสัดส่วนกว่า 80% ของจำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายทั้งหมดในปัจจุบัน จังหวัดปทุมธานี และเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ยังคงเป็นทำเลที่มีปริมาณที่อยู่อาศัยเหลือขายและมีการแข่งขันมากที่สุด โดยมีจำนวนบ้านเหลือขายทั้งสิ้น 2,846 และ 2,420 หน่วยตามลำดับ ทั้งนี้บ้านสร้างเสร็จก่อนขาย หรือบ้านพร้อมอยู่ยังคงเป็นนโยบายหลักของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ โดยปริมาณบ้านดังกล่าวมีสัดส่วนประมาณ 3% ของจำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายทั้งหมดเช่นเดียวกับในช่วงเดือนกันยายน
นอกเหนือจากบ้านเหลือขายในปัจจุบันแล้ว โครงการส่วนมากยังคงมีที่ดินเหลืออยู่ และพร้อมที่จะเปิดดำเนินการเฟสใหม่หรือโครงการต่อเนื่องได้ทันทีที่บ้านเหลือขายในปัจจุบันหมดลง ทั้งนี้จำนวนบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ที่พร้อมจะนำเข้าสู่ตลาดในอนาคตมีจำนวนอีก 6,770 หน่วย และในจำนวนนี้ประมาณ 83% จะถูกพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวตามความต้องการของตลาด
อุปสงค์ - ปริมาณความต้องการบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์
ความต้องการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนกันยายน 2543 ประมาณ 6% โดยโครงการทั้ง 131 โครงการสามารถขายบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์รวมกันได้ทั้งสิ้น 785 หน่วย คิดเป็นยอดขายเฉลี่ยโครงการละ 6 หน่วยต่อเดือน เปรียบเทียบกับ 5 หน่วยต่อเดือนในเดือนกันยายน 2543
โดยเขตจังหวัดปทุมธานีนับได้ว่าเป็นย่านที่มีความต้องการสูงสุดในช่วงที่ผ่านมาโดยสามารถขายได้ถึงประมาณ 12 หน่วยต่อโครงการต่อเดือนโดยเฉลี่ย ทั้งนี้บ้านเดี่ยวยังคงมีปริมาณความต้องการสูงสุด โดยที่ 51% หรือประมาณ 400 หน่วยของจำนวนบ้านที่ขายไปทั้งหมดเป็นบ้านเดี่ยว
ภาวะการก่อสร้าง - ภาพสะท้อนของอุปสงค์
ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จำนวนบ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีทั้งสิ้นประมาณ 2,907 หน่วย จาก 131 โครงการ ซึ่งคิดเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10% จากช่วงเดือนกันยายน 2543 ทั้งนี้ปริมาณการก่อสร้างในเขตปริมณฑลและกรุงเทพฯ มีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน โดยมีจำนวนก่อสร้างเฉลี่ยต่อโครงการประมาณ 23 และ 21 หน่วยต่อโครงการต่อเดือน ตามลำดับ สำหรับราคาที่อยู่อาศัย พบว่าในเกือบทุกทำเลยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันยายน 2543 กลุ่มบ้านเดี่ยวราคา 1.0 - 3.5 ล้านบาทยังคงเป็นที่ต้องการสูงสุดทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในขณะเดียวกัน บ้านเดี่ยวราคาแพงก็มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงก่อน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่บ้านในกลุ่มราคาตั้งแต่ 7.51 ล้านบาทขึ้นไปมีความต้องการมากขึ้นเป็นอันดับสอง
ตารางสรุปสภาพตลาดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
กรุงเทพฯ ปริมณฑล
จำนวนโครงการที่ทำการสำรวจ (131 โครงการ) 66
65
จำนวนบ้านเหลือขาย
3,966 หน่วย, เฉลี่ย 59 หน่วย/โครงการ
6,230 หน่วย, เฉลี่ย 91 หน่วย/โครงการ
จำนวนบ้านเดี่ยวเหลือขาย 3,400 หน่วย
4,751 หน่วย
จำนวนทาวน์เฮาส์เหลือขาย
566 หน่วย 1,479 หน่วย
ยอดขายใน 1 เดือน
278 หน่วย 507 หน่วย
จำนวนบ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
เฉลี่ย 21 หน่วย/โครงการ/เดือน
เฉลี่ย 23 หน่วย/โครงการ/เดือน
ที่มา: ฝ่ายวิจัย บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน), เมษายน 2544--จบ--
-อน-
แนวโน้มแม้ว่าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่จะสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศก็ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวตามกระแสเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้สืบเนื่องจากความผันผวนของทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าตัวเลข GDP จะมีแนวโน้มที่ลดลง จาก 4 - 4.5% เหลือ 3 - 4.5% และอัตราเงินเฟ้อจะลดลงเหลือราว 2.2% จาก 2.7% ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของทั้งกำลังซื้อภายในประเทศ และประสิทธิภาพในการผลิต สำหรับดอกเบี้ยเงินฝาก คาดว่ายังคงทรงตัวในระดับต่ำที่ประมาณ 2 - 3% ต่อปี และอัตราเงินกู้อยู่ที่ประมาณ 7 - 8% ต่อปี ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผลดีต่อการฟื้นฟูโครงสร้างหนี้ และเป็นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศไปในเวลาเดียวกัน ถึงแม้แนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมข้างต้นยังไม่เห็นเป็นบวกอย่างชัดเจน แต่ปริมาณความต้องการที่อยู่อาศัยในตลาดคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับช่วงปัจจุบัน โดยกลุ่มที่คาดว่าจะถูกกระทบน้อยที่สุดได้แก่กลุ่มบ้านเดี่ยวราคาปานกลางค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการแข่งขันต่ำ อย่างไรก็ดี กลุ่มบ้านเดี่ยวราคาต่ำจะยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุดเช่นเคย แต่อาจจะมีสัดส่วนที่ลดลงเนื่องจากเป็นกลุ่มที่จะถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากที่สุด ทั้งนี้บ้านสร้างเสร็จก่อนขาย ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ผู้บริโภคใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อบ้าน รวมทั้งจะเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้ภาวะการก่อสร้างในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้ามีบรรยากาศคึกคักไม่แตกต่างจากปัจจุบัน นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่วิภาวริศ เกตุปมาเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อาวุโสบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)โทรศัพท์
201-3328 โทรสาร 201-3904e-mail address: [email protected]
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit