แนะประชาชน ไม่ควรซื้อยาเองเพื่อป้องกันการได้ยาปลอม โดยเฉพาะยาที่นิยมใช้

กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ผลสำรวจพบว่าคนไทยนิยมซื้อยารับประทานเองมากถึงร้อยละ 50-60 เป็นช่องโหว่ให้ยาปลอมระบาด ยาที่ถูกปลอมแปลงมักเป็นยาที่นิยมใช้กันมาก แม้แต่ยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศยังถูกปลอมจึงมีการซื้อยากันนอกคลินิกและโรงพยาบาล ร.ศ.ดร. จุฑามณี สุทธิสีสังข์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล แนะวิธีป้องกันการได้ยาปลอมว่า "เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ขอให้ไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยากินเอง โดยเฉพาะกรณีต้องใช้ยาที่นิยมกัน เนื่องจากมีผลสำรวจของนักวิจัยหลายแห่ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่นิยมซื้อยามารับประทานเองมากถึง 50-60% ของการใช้ยา โดยมักจะซื้อจากร้านขายยาทั่วไป และมีค่านิยมที่จะซื้อตามกระแส ซื้อตามๆ กัน เพราะเห็นคนอื่นใช้ แล้วก็ใช้ตาม" "ประชาชนควรดูแลระวังสุขภาพของตัวเอง เมื่อป่วยก็ควรรู้ว่าเป็นโรคอะไร ต้องรู้ว่าได้รับยาใด เพราะบางครั้งรูปลักษณะยาเหมือนกัน แต่อาจเป็นตัวยาคนละตัว และยาชนิดเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะได้ผลเหมือนกันในทุกคน จึงไม่ควรใช้ตามเพื่อน ไม่ควรซื้อยาด้วยวิธีบอกสี บอกลักษณะว่า เป็นยาเม็ดสีนั้น กลมๆ เกลี้ยงๆ เพราะผลสำรวจพบว่าเฉพาะยาเม็ดสีขาวๆ ขนาดเท่าๆ กัน มีมากมายหลายชนิด" ในกรณีที่ซื้อยาเอง เพราะแพทย์ให้ใช้ต่อเนื่องก็ตาม ควรจะมีการพบแพทย์เป็นช่วงๆ เพื่อปรับการใช้ยาให้เหมาะกับอาการของโรคแต่ละระยะ เช่น ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานไขมันสูง เป็นต้น ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย ควรให้แพทย์ตรวจร่างกายว่ามีความจำเป็นต้องใช้ยาหรือไม่ บางครั้งต้องพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง และประการสำคัญ ควรปรับวิถีชีวิตในแต่ละวัน ให้สมดุลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ควรได้อาหารถูกส่วน ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น รศ. ดร. จุฑามณี กล่าวถึง การระวังยาปลอมอีกว่า มักเกิดขึ้นกับยาที่นิยมใช้กัน ทำให้เกิดปัญหายาปลอมระบาด หรือมีโอกาสได้ยาปลอมง่าย เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดที่ขายดี และไวอากร้า โดยเฉพาะตัวหลังเป็นยาที่คณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) กำหนดให้แพทย์ที่คลินิก และโรงพยาบาลทั่วประเทศเป็นผู้สั่งยาให้ ปรากฏว่ามีชายไทยที่นิยมใช้ยาตามกระแส บ้างก็อายหมอ จึงพยายามไปหาซื้อยามาใช้เอง ทำให้เป็นเหยื่อของยาปลอมที่มีการลักลอบเข้ามาขาย ซึ่งอาจเป็นยาที่มีคุณภาพทัดเทียม หรือไม่ทัดเทียมกับตัวจริงก็ได้ มีการซื้อขายกันในราคาแพง ทั้งๆ ที่เป็นยาปลอมซึ่งอาจมีการผลิตที่ไต้หวัน และอินเดีย "ผู้ใช้ยาจึงควรตระหนักว่า ถ้ามียาไวอากร้าขายนอกคลินิกและโรงพยาบาลแล้ว มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นยาปลอม และเรื่องของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ควรปรึกษาหมอดีกว่า ให้หมอหาสาเหตุให้พบ แล้วเป็นผู้พิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้ยาหรือไม่ ดีกว่าไปใช้ยาปลอม" วิธีที่จะตรวจสอบว่าเป็นยาปลอมหรือไม่ ต้องมีการวิเคราะห์ทางเคมี ตรวจดูปริมาณสารสำคัญว่า เป็นไปตามที่ทางการกำหนดหรือไม่ ส่วนจะดูด้วยวิธีอื่นคงลำบาก เนื่องจาก ยาปลอมนั้น อาจเป็นยาเทียม หรือมีตัวยาสำคัญเพียงบางส่วน หรือแสดงชื่อเลียนแบบเป็นยาอื่น ไม่แจ้งที่อยู่ผู้ผลิตจริง ไม่ได้ขึ้นทะเบียน หรือขึ้นทะเบียนแล้วไม่ถูกต้องตามมาตราฐาน หรือตัวยาสำคัญมีน้อยกว่า 10% ของปริมาณที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ระบุไว้ในมาตรา 72 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ประการสำคัญ ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ที่จะนำมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ ประชาชนมีสิทธิที่จะรับรู้ว่า ตนป่วยเป็นโรคอะไร และได้รับยาชื่ออะไร ดังนั้น ทุกครั้งที่พบแพทย์หรือเภสัชกร ควรจะถามชื่อยา แม้จะรู้เพียงชื่อทางการค้าก็ยังดี และควรรู้อีกว่าแพ้ยาอะไร ยานั้นมีผลข้างเคียงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจ ให้กด 1566 สายด่วน อ.ย. หรือถามจากเภสัชกร หรือติดต่อบริษัทผู้ผลิต อย่างน้อยจะได้รู้ข้อมูลพื้นฐาน ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม : บริษัท แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล กุนธิรา ณัฐวัฒนานนทน์ โทรศัพท์ : 257-0300 ต่อ 310, 316 โทรสาร : 257-0312E-mail : [email protected] จบ-- -อน-

ข่าวโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ+จุฑามณี สุทธิสีสังข์วันนี้

แนะประชาชน ไม่ควรซื้อยาเองเพื่อป้องกันการได้ยาปลอม โดยเฉพาะยาที่นิยมใช้

กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ผลสำรวจพบว่าคนไทยนิยมซื้อยารับประทานเองมากถึงร้อยละ 50-60 เป็นช่องโหว่ให้ยาปลอมระบาด ยาที่ถูกปลอมแปลงมักเป็นยาที่นิยมใช้กันมาก แม้แต่ยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศยังถูกปลอมจึงมีการซื้อยากันนอกคลินิกและโรงพยาบาล ร.ศ.ดร. จุฑามณี สุทธิสีสังข์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล แนะวิธีป้องกันการได้ยาปลอมว่า "เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ขอให้ไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยากินเอง โดยเฉพาะกรณีต้องใช้ยาที่นิยมกัน เนื่องจากมีผลสำรวจของนักวิจัยหลาย

MedAlliance ประกาศรับผู้ป่วยรายแรกเข้าโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้บอลลูนเคลือบยา Sirolimus ในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

MedAlliance ได้ประกาศรับผู้ป่วยรายแรกเข้าโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้บอลลูน [DEB] เคลือบยา Sirolimus ในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) การศึกษาดังกล่าวมีขึ้นที่...

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ ED ( Erectile... สารอาหารเสริมนกเขา!! เพื่อความฟิต และความสุขที่ยืนยาว — โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ ED ( Erectile Dysfunction ) โรคหนักใจของบรรดาคุณผู้ชาย ที่อาจจะไม่กล้า...

ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะ แห่งประเทศไทย จัดงาน Men’s Health Get START Get STRONG “หนุ่มใหญ่สมวัย สุขภาพดีได้ ไม่อายใคร”

ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะ แห่งประเทศไทย เชิญผู้สนใจร่วมงาน Men’s Health Get START Get STRONG “หนุ่มใหญ่สมวัย สุขภาพดีได้ ไม่อายใคร” ในวันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 8...

เอ. เมนารินี แถลงข่าวและให้ความรู้เรื่อง “โรคหลั่งเร็วที่เกิดกับผู้ชาย” พร้อมแนวทางดูแลรักษา

บริษัท เอ. เมนารินี (ประเทศไทย) จำกัด จะจัดงานแถลงข่าว การให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับ “โรคหลั่งเร็ว” ที่เกิดกับผู้ชาย ซึ่งเป็นอีกโรคหนึ่งที่ชายไทยต่างให้ความสนใจ ด้วยจากผลการสำรวจล่าสุด พบว่า 1 ใน 3 ของชาย...

ทุกปัญหาสุขภาพเพศชายมีทางออก

โรงพยาบาลกรุงเทพ เผยไลฟ์สไตล์ผู้ชายไทยในปัจจุบันเสี่ยงถูกสารพันโรคร้ายรุมเร้าโดยไม่รู้ตัว จัดสัปดาห์สุขภาพเพศชาย รณรงค์สร้างมิติใหม่ให้คุณสุภาพบุรุษหันมาดูแลสุขภาพให้แข็งแรงห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ พร้อมแนะวิธีรับมือโรคเงียบที่อาจมาเยือนแบบคาดไม่ถึง อาทิ โรคต่อมลูกหมากโต ...

ชมรมแพทย์ภิวัฒน์ จัดสัมมนา เรื่อง “โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัญหานี้แก้ไขได้เพื่อสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว”

สัมมนาความรู้สำหรับประชาชนเรื่อง "โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัญหานี้แก้ไขได้เพื่อสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว" ชมรมแพทย์ภิวัฒน์ ขอเชิญประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสัมมนา เรื่อง “โรคหย่อนสมรรถภาพทาง...

แพทย์เตือนชายไทย ‘นกเขาไม่จู้ฮุ๊กกรู’ ส่อเค้าสุขภาพขาลง อาจรุมเร้าด้วยโรคภัย

ในงานแถลงข่าว ‘Symposium of Love Levitra 8 Years Experience’ จัดโดย บริษัท ไบเออร์ เชอริง ฟาร์มา ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์นายแพทย์ฟาริด ซาอาด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพศชายและโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศระดับโลกจาก บริษัท ไบเออร์ ...

ไบเออร์ร่วมส่งเสริมสุขภาพเพศชายในงานประชุมวิชาการ 4 ทศวรรษ รามาธิบดี

เมื่อเร็วนี้ บริษัท ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา ร่วมสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพเพศชายแบบครบวงจร ในงานประชุมวิชาการ 4 ทศวรรษ รามาธิบดี : จากนวัตกรรมสู่เวชปฏิบัติ โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์ฟาริด ซาอาด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพศชาย บริษัท ไบ...

รพ. บำรุงราษฎร์ฯ จัดบรรยายพิเศษ “ทำอย่างไรให้สุขภาพท่านชายแข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มอยู่เสมอ”

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทำอย่างไรให้สุขภาพท่านชายแข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มอยู่เสมอ” ในวันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2549 เวลา 13.30 น. -15.30 น. ณ...